รู้จักโครงการ

โครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์สื่อ

และกิจกรรมเพื่อการรณรงค์ 

หัวข้อ "อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน" 

(ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้)

            โครงการปิ๊งส์ ภายใต้แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดโครงการสื่อสร้างสรรค์และกิจกรรมเพื่อรณรงค์โภชนาการสมวัย ภายใต้ชื่อโครงการ "อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน" (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการใช้สื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลาย  มุ่งใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ด้านสุขภาวะ มีการถ่ายทอดให้เกิดแรงบันดาลใจเพื่อการสื่อสารสุขภาวะ ในหัวข้อ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” โดยให้ความสำคัญกับครูผู้สอน เด็กนักเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชน ในการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (participatory learning) และติดอาวุธความรู้ให้เยาวชนมีสุขภาพดีในทุกมิติ ด้วยการผลิตสื่อในประเด็นสุขภาวะและเผยแพร่นวัตกรรมสู่สังคม 

 

โดยที่ผ่านมาได้มีเป้าหมายหรือผลลัพธ์สำคัญ คือ 

1) โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีสื่อและนวัตกรรมสร้างสรรค์ที่ให้ความรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่กลุ่มเป้าหมาย 

2) เกิดกระบวนการที่สร้างแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนงาน รวมทั้งการปลูกจิตสำนึกและการลดปัญหาทางด้านโภชนาการ 

3) การลดอัตราการเกิดโรคอ้วนในเด็ก 

4) เกิดการยกระดับการทำงานการต่อยอดองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อผลระยะยาว 

5) การบูรณาการการทำงานร่วมกัน 

 

ผลลัพธ์ดังกล่าวนี้สามารถตอบตัวชี้วัดของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 3 ตัวชี้วัดด้วยกัน คือ 

1) เกิดการพัฒนานักสื่อสารสุขภาวะและผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญาที่มีทักษะ 4 ด้าน  

2) การบูรณาการเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย 10 ปี สสส. โดยนำประเด็นสุขภาวะมาร่วมขับเคลื่อนและหนุนเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาวะทางปัญญาของภาคีเครือข่าย 

3) การขับเคลื่อนการสื่อสารเพื่อสุขภาวะและวิถีสุขภาวางปัญญาอย่างต่อเนื่อง วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเปิดพื้นที่การเรียนรู้ของเยาวชน ด้วยการผลิตและนำเสนอสื่อสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นประเด็นสุขภาพ และถ่ายทอดแนวความคิดสื่อสร้างสรรค์อันนำไปสู่การสร้างแรงบันดาลใจไปสู่พื้นที่ต่างๆ ในสังคม
  2. เพื่อสนับสนุนนวัตกรรมสื่อสุขภาวะของเยาวชนด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และสร้างเครือข่ายเยาวชนให้สังคมเห็นพลังของเยาวชนในประเด็นที่สร้างแรงบันดาลใจสู่สังคมได้
  3. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและเสริมศักยภาพภาคีเครือข่ายเชิงประเด็น ของ สสส. ให้มีสื่อเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและรณรงค์ต่อสังคม

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายหลัก : เยาวชน นักเรียนระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมปลาย นิสิตนักศึกษา ครูผู้สอนในสถานศึกษา และพ่อแม่ผู้ปกครอง        

กลุ่มเป้าหมายรอง : สื่อมวลชน ภาคีสร้างเสริมสุขภาพ และภาคีนักวิชาชีพด้านสื่อที่เกี่ยวข้อง


 

 

 

 

 
  เกี่ยวกับแผนงานฯ 
 
           แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. มีที่มาจาก แผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกเพื่อสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. แผนงานนี้เป็นแผนงานแรกๆ ที่ทำงานทางด้านทุนอุปถัมภ์ในด้านสื่อและกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ รวมถึงสื่อพื้นบ้าน สื่อร่วมสมัย สื่อวัฒนธรรม และกิจกรรมที่มุ่งเน้นเยาวชน ชุมชน และการมีส่วนร่วมของชุมชน
           โดยในปี 2551 ได้มีการเริ่มมีความชัดเจนและสร้างผลงานที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น สามารถเข้าถึงวิถีชีวิตการเป็นพลเมือง ความอยู่ดีมีสุข ในวิถีสุขภาวะของกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะสร้างการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะให้กับเยาวชนและชุมชน
            ซึ่งสื่อที่เป็นเครือข่ายสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ เครือข่ายดนตรีสร้างสุข เครือข่ายสื่อพื้นบ้านสานสุข เครือข่ายศิลป์สร้างสุข เครือข่ายละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง และกลุ่มสื่อศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 
            ส่วนโครงการปิ๊งส์(Pings) ที่อยู่ภายใต้แผนงานนี้นั้นเป็นโครงการที่ดึงความดีเล็กๆ มาให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้กับสังคม จากสื่อศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในชุมชน แล้วทำการบูรณาการทั้งหมดโดยขับเคลื่อนเชิงนโยบายระดับชุมชน ระดับท้องถิ่น และระดับประเทศ โดยแบ่งกลุ่มงานเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 
  1. กลุ่มที่ทำงานขับเคลื่อนในเชิงนโยบาย ซึ่งทำงานสอดคล้องกับหน่วยงานที่กำกับดูแลนโยบายของประเทศ เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ ได้แก่ สภาปฏิรูปแห่งชาติ, สภาการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ, สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กสทช., กระทรวงวัฒนธรรม, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และทำงานบูรณาการร่วมกับแผนงานสื่อสร้างสรรค์ภาวะเด็กและเยาวชน(สสย.), แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดนโยบาย ชุมชน 3 ดีวิถีสุข พื้นที่สร้างสรรค์ สื่อสร้างสรรค์ เด็กบันดาลใจ และโครงการจุดประกายเปลี่ยนเมือง (SPARK U) ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ 
  2. กลุ่มงานที่ทำเกี่ยวกับสื่อศิลปวัฒธรรมชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลง คือ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มที่ทำงานกับสื่อพื้นบ้าน กลุ่มดนตรีสร้างสุข กลุ่มละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง จะทำงานกับกลุ่มชุมชน เพื่อให้เห็นพลังในการเปลี่ยนแปลงของทั้งเยาวชน ชุมชน เกิดขึ้นเป็นนโยบายขับเคลื่อนชุมชนต่อไป
  3. กลุ่มงานขับเคลื่อนสุขภาวะด้านสื่อสมัยใหม่ เช่น หนังสั้น, มิวสิควิดีโอ(MV), สื่อโฆษณา, viral clip, สื่อรณรงค์และกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ โดยในสื่อร่วมสมัยจะทำงานร่วมกับภาคีสุขภาวะในเชิงประเด็น เช่น อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน, ปาฏิหาริย์แห่งการวิ่ง, การลดอุบัติเหตุ, การสร้างเสริมสุขภาวะเกี่ยวกับบุหรี่, การสร้างเสริมสุขภาวะเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นกลุ่มปัจจัยเสี่ยงหลักต่างๆ จากนั้นจะดึงเอาศักยภาพของเด็กและสถานศึกษา ทั้งในระดับอุดมศึกษา ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา รวมถึงระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อสร้างประเด็นที่สร้างเสริมสุขภาวะต่างๆ แล้วดึงพลังของสื่อมาทำงานร่วมกับชุมชนต่อไป
 
 วิสัยทัศน์ (Vision)
            มุ่งสร้างคุณค่าและอัตลักษณ์ทางสื่อศิลปวัฒนธรรมเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสร้างเสริมสุขภาพทั้งในระดับปัจเจก ระดับชุมชน ระดับสังคม โดยพัฒนาเครือข่ายเยาวชน เครือข่ายศิลปิน เครือข่ายผู้นำชุมชน เพื่อเป็นตัวแทนในการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตร จากการสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างมีส่วนร่วมในชุมชน ทั้งทางกายภาพและชุมชนทางความคิด ใช้เครื่องมือสื่อศิลปวัฒนธรรมทั้งสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนและสื่อศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยที่สอดคล้องกับบริบท สถานการณ์และกลุ่มเป้าหมาย เป็นกระบวนทางสังคมที่ก่อให้เกิดศิลปะสร้างสรรค์ พื้นที่สร้างสรรค์ ชุมชน-สังคมต้นแบบ ที่มุ่งหวังการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาวะ เน้นจิต-ปัญญา สร้างระบบกลไกคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม อันเป็นรากฐานสำคัญของภาคีสุขภาวะ สังคมสุขภาวะ นำไปสู่การสร้างนโยบายกลไกความเข้มแข็ง ขีดความสามารถ สมรรถภาพในการจัดการดูแลสมรรถภาพของตัวเอง สังคม สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะและสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน 
 
วัตถุประสงค์ของแผนงานฯ
  1. เพื่อสร้างขีดความสามารถของประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กเยาวชน, ชุมชน, ผู้สูงอายุ, กลุ่มด้อยโอกาสและกลุ่มชาติพันธุ์ ในการเข้าถึง (Accessibility) ระบบสื่อที่มีสุขภาวะภายใต้มิติของงานศิลปะและวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ อันนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะและการเติบโตทางปัญญา ด้วยการส่งเสริมความพร้อม (Availability) ของปัจจัยแวดล้อมด้านระบบสื่อที่มีสุขภาวะ
  2. เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายยุทธศาสตร์ของมิติงานศิลปะและวัฒนธรรมด้วยการพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายผ่านวิถีสุขภาวะ เพื่อให้เกิดการร่วมขับเคลื่อนงานสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ (Healthy Lifestyle)
  3. เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนและบูรณาการสู่เป้าหมาย 10 ปี ของ สสส. โดยการเชื่อมโยงประเด็นสุขภาวะมาร่วมขับเคลื่อนผ่านระบบสื่อที่มีสุขภาวะ ภายใต้มิติของงานศิลปะและวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
 
 เป้าหมายของแผนงานฯ 
  1.  งานสื่อสารและกิจกรรมสื่อศิลปวัฒนธรรมที่สร้างเสริมระบบสื่อที่มีสุข
  2. พื้นที่ องค์กร และ/หรือชุมชน ที่จัดให้มีพื้นที่สื่อสร้างสรรค์ ภายใต้มิติของงานศิลปวัฒนธรรม
  3. เกิดการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรหรือกลไก เพื่อสร้างการเรียนรู้ผ่านกระบวนการสื่อสร้างสรรค์และวิถีสุขภาวะทางปัญญา ในสถานศึกษาหรือชุมชน
  4. กลไกและ/หรือกระบวนการพัฒนาขีดความสามารถในการสื่อสารประเด็นสุขภาวะของนักสื่อสารสุขภาวะและผู้นำการเปลี่ยนแปลง
  5. การขับเคลื่อนนโยบายทั้งระดับชาติและท้องถิ่นภายใต้มิติของงานศิลปะและวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบสื่อที่มีสุขภาวะและวิถีสุขภาวะทางปัญญา
  6. งานบูรณาการเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย 10 ปี สสส. โดยนำประเด็นสุขภาวะมาร่วมขับเคลื่อน และหนุนเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาวะทางปัญญาของภาคีเครือข่าย
 
 
 
 
 
 ติดต่อ
แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. 
128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
 โทรศัพท์ :  02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899 
 อีเมลล์ : [email protected]

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 
Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-298-0987-8     โทรสาร : 02-298-0989
อีเมล : [email protected]