สื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักโภชนาการสมวัย สำนักงานบริหารแผนงานอาหารและโภชนาการ รณรงค์อย่าปล่อยให้เด็กศรีสะเกษ อ้วน
วันที่ 4 เมษายน 2562 ที่ โรงเรียนบ้านโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็น 1 ใน 22 โรงเรียนโรงเรียนต้นแบบ ของโครงการสร้างสรรค์ สื่อเพื่อการรณรงค์ลดน้ำหนักในเด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้) ในภูมิภาค ปีที่3 เทอม2 จัดนิทรรศการโครงการโฮมพลคนสี่เผ่า ไม่เอาโรคอ้วน ภายใต้การสนับสนุนจากแผนงานสื่อศิลปะ วัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักโภชนาการสมวัย สำนักงานบริหารแผนงานอาหารและโภชนาการ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เครือข่ายคนไทยไร้พุง และชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย หวังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กในโรงเรียน คณะครู รวมทั้งผู้ปกครองนักเรียน ให้เกิดความเข้าใจ และรู้เท่าทันโรคอ้วน ที่เป็นที่มาของโรครุมเร้าเด็กในอนาคต
นายมานพ แย้มอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า โครงการสร้างสรรค์สื่อเพื่อการรณรงค์ลดน้ำหนักในเด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้) ในภูมิภาค ปีที่3 เทอม2 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการใช้สื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลาย มุ่งใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ด้านสุขภาวะ มีการถ่ายทอดให้เกิดแรงบันดาลใจเพื่อการสื่อสารสุขภาวะ ในหัวข้อ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” โดยให้ความสำคัญกับครูผู้สอน เด็กนักเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชน ในการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (participatory learning)กลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการ ได้แก่ ครู และนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
“ทั้งนี้ผลการดำเนินงานโครงการ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้)” ปี 3 ที่ผ่านมา พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ส่วนสูง และน้ำหนักของนักเรียนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไป คือ หลังดำเนินโครงการฯ คณะกรรมการพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ส่วนสูง และน้ำหนักของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (สมส่วน) เพิ่มขึ้น ท้วมหรืออ้วนสูงลดลงเล็กน้อย ส่วนกลุ่มที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ผอม) ยังคงมีเท่าเดิม ซึ่งโดยภาพรวมการดำเนินงานเป็นที่น่าพึงพอใจของทุกฝ่าย แต่สำหรับสื่อสร้างสรรค์ที่ใช้ในการรณรงค์ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้ที่แต่ละโรงเรียนทำขึ้นนั้น ในหลายโรงเรียนทำได้ดี แต่ควรมีการพัฒนาให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น สามารถมีส่วนร่วมได้หลากหลายขึ้น ตลอดจนสามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถกระตุ้นหรือจูงใจให้เด็กนำไปใช้ บอกต่อไปยังครอบครับ ชุมชน และสังคมรอบข้างต่อไปได้ด้วย” นายมานพ แย้มอุทัย กล่าว
อย่างไรก็ดี โครงการ อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน นอกจากจะจัดอาหารให้กับเด็กทุกคน อย่างถูกต้อง สมบูรณ์ อาหารครบหมู่แล้ว จะต้องมีการแนะนำให้เด็กๆ มีการออกกำลังกาย ด้วยกิจกรรมละเล่มเกมส์ต่างๆ อย่างเช่นการให้เด็กๆ เข้าฐานการออกกำลังกาย กิจกรรม “สี่เผ่าไทย หัวใจแกร่ง” ซึ่งแบ่งเป็น 6 ฐานการเรียนรู้ดังนี้ ฐานที่1 ปั่นพอเพียง,ฐานที่2 สะพานล้อ,ฐานที่3 กบหรรษา, ฐานที่4 ลดแลกพลัง, ฐานที่5 การละเล่นพื้นบ้าน และฐานที่6 สัญญาณไฟจราจร โดยกิจกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ ต้องการให้นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการมีโภชนาการที่ดีและปฏิบัติได้อย่างจริงจังและยั่งยืน
ที่มา: http://www.timenews2017.net/archives/37064
128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-298-0987-8 โทรสาร : 02-298-0989
อีเมล : [email protected]