โรงเรียนบ้านขุนประเทศ กรุงเทพมหานคร อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้)

หมวดหมู่ , โดย : root , 19 มิถุนายน 2562 / อ่าน : 3,072

โรงเรียนบ้านขุนประเทศ เปิดนิทรรศการ “บ้านขุน เฮลท์ตี้ แลนด์” ดินแดนสุขภาพดี ดึงครู - นักเรียน มีส่วนร่วมรณรงค์ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” เผยใช้หลัก 3 อ. มาบูรณาการกับทุกรายวิชาทั่วทั้งโรงเรียน หวังปลูกฝังรักสุขภาพระยะยาว (วันที่ 5  2562) โรงเรียนบ้านขุนประเทศ 1 ใน 22 โรงเรียนต้นแบบ ของโครงการสร้างสรรค์สื่อเพื่อการรณรงค์ลดน้ำหนักในเด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้) ในภูมิภาค ปีที่3 เทอม2 จัดนิทรรศการ บ้านขุน เฮลท์ตี้ แลนด์ “Bankhun Healthy Land” ภายใต้การสนับสนุนจากแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักโภชนาการสมวัย สำนักงานบริหารแผนงานอาหารและโภชนาการ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เครือข่ายคนไทยไร้พุง และชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย หวังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กในโรงเรียนให้เข้าใจและเท่าทันโรคอ้วน โดยนายมานพ แย้มอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า โครงการสร้างสรรค์สื่อเพื่อการรณรงค์ลดน้ำหนักในเด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้) ในภูมิภาค ปีที่3 เทอม2 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเป้าหมาย ผ่านการใช้สื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลาย มุ่งใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ด้านสุขภาวะ มีการถ่ายทอดให้เกิดแรงบันดาลใจเพื่อการสื่อสารสุขภาวะ ในหัวข้อ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” โดยให้ความสำคัญกับครูผู้สอน เด็กนักเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชน ในการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (participatory learning)กลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการ ได้แก่ ครู และนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) “ทั้งนี้ผลการดำเนินงานโครงการ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก และผลไม้)” ปี 3 ที่ผ่านมา พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ส่วนสูง และน้ำหนักของนักเรียนจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไป คือ หลังดำเนินโครงการฯ คณะกรรมการพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ส่วนสูง และน้ำหนักของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน (สมส่วน) เพิ่มขึ้น ท้วมหรืออ้วนสูงลดลงเล็กน้อย ส่วนกลุ่มที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ผอม) ยังคงมีเท่าเดิม ซึ่งโดยภาพรวมการดำเนินงานเป็นที่น่าพึงพอใจของทุกฝ่าย แต่สำหรับสื่อสร้างสรรค์ที่ใช้ในการรณรงค์ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้ที่แต่ละโรงเรียนทำขึ้นนั้น ในหลายโรงเรียนทำได้ดี แต่ควรมีการพัฒนาให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น สามารถมีส่วนร่วมได้หลากหลายขึ้น ตลอดจนสามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและสามารถกระตุ้นหรือจูงใจให้เด็กนำไปใช้ บอกต่อไปยังครอบครับ ชุมชน และสังคมรอบข้างต่อไปได้ด้วย” นายมานพ แย้มอุทัย กล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้นายมานพ แย้มอุทัย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับในเทอม2 นี้ได้มีการต่อยยอดและขยายผลกิจกรรมและสื่อที่เกิดขึ้นในเทอม 1 ในโรงเรียนที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มทำต่อได้ จากเดิม 25 โรงเรียน เหลือ 22 โรงเรียน จาก 4 ภูมิภาค ให้สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจให้ครอบคลุมนักเรียนในโรงเรียนสามารถเท่าทันโรคอ้วน โรงเรียนบ้านขุนประเทศก็เป็น 1 ในโรงเรียนต้นแบบครั้งนี้ ซึ่งเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการฯ ในเทอม 2 ของแต่ละโรงเรียนนี้คณะกรรมการจะดูจาก 1.ความต่อเนื่องของแผนจากเทอมแรก (ที่ทำให้เด็กเกิดความตระหนัก) 2.การขยายเครือข่ายในการทำงาน 3.การสร้างผู้นำเด็ก 4.ภาวะโภชนาการและภูมิปัญญาท้องถิ่น 5.กิจกรรมทางกายที่สร้างสรรค์นวัตกรรมสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่น 6.การรู้เท่าทันสื่อ และ 7.การบูรณาการกับวิชาต่างๆ ในโรงเรียน ซึ่งในเดือนพฤษภาคมนี้ จะมีการจัดแสดงนิทรรศการผลงานใหญ่รวมทั้ง 22 โรงเรียนเกิดขึ้นใจกลางเมือง แต่จะเป็นสถานที่ใดจะมีประกาศไว้ที่ www.artculture4health.com/nofat เร็วๆ นี้ และโรงเรียนใดสามารถทำได้ตามเกณฑ์แล้วมีความโดดเด่นที่สุดจะได้รับถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปครอง ซึ่งจะเป็นโรงเรียนไหนนั้นเดือนพฤษภาคมนี้รู้กันแน่นอน... ซึ่งนายกันตพัฒน์ มนฑา อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน โรงเรียนบ้านขุนประเทศ (โรงเรียนที่คว้ารางวัลชนะเลิศอับดับ 1 ได้รับถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากโครงการประกวดสื่อสร้างสรรค์และกิจกรรมเพื่อการรณรงค์ หัวข้อ “ อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้) ปีที่ 2) กล่าวว่า นิทรรศการโครงการ Bankhun Healthy Land : Game of Strength ครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมา คือ เน้นสร้างความยั่งยืนเพิ่มขึ้น เพราะหลังจากปีแรกกิจกรรมที่เกิดขึ้นนั้นยังไม่เห็นจุดที่มันสามารถพัฒนาต่อเนื่องได้ แต่ในปีนี้สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ มีการสร้างสื่อต่างๆ ตามหลัก 3 อ. อาหาร อารมณ์ และออกกำลังกาย อาทิ อ.อารมณ์ มีการวาดภาพบนกำแพงซึ่งเป็นสื่อที่สามารถใช้ได้ตลอดไม่ว่าจะกี่ปีผ่านไป, อ.อาหาร มีการปรับเปลี่ยนเมนูอาหารในโรงอาหารใหม่ด้วยการเน้นผักที่ปลูกเองและมีผักผลไม่เพิ่มมากขึ้น และ อ.ออกกำลังกาย มีการปรับพื้นที่การออกกำลังกายให้เด็กๆ นอกจากนี้ยังมีการสร้างการส่วนร่วมให้กับคุณครูมากขึ้น จากมีคุณครูเพียงชั้นเรียนเดียวที่รับรู้เรื่องของโครงการนี้ ตอนนี้คุณครูมาร่วมรับรู้และเข้าร่วมโครงการแล้วทั้งโรงเรียน ที่สำคัญมีการบูรณาการเข้าไปในการเรียนการสอนทุกรายวิชาด้วย “ตอนนี้เราได้มีการเอาฉลากไฟจราจร เขียว เหลือง แดง ไปบูรณาการทำให้เด็กๆ รู้และเข้าใจว่าไฟเขียว ไฟเหลือง ไฟแดง สำคัญอย่างไร? โดยไฟเขียว คือ กลุ่มอาหารสีเขียว เป็นกลุ่มอาหารที่มีพลังงาน ไขมัน และน้ำตาลระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานของไฟจราจรก็คือ ไปได้ ผ่านได้ สามารถทานได้บ่อย ทานได้ทุกวัน ไฟเหลือง คือ กลุ่มอาหารสีเหลือง เป็นกลุ่มอาหารที่มีพลังงาน ไขมัน และน้ำตาลระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานของไฟจราจรก็คือ ชะลอ ระมัดระวัง สามารถทานได้ แต่ไม่ทุกวัน (ไม่เกิน 2 ครั้งต่อสัปดาห์) ส่วน ไฟแดง คือ กลุ่มอาหารสีแดง กลุ่มอาหารที่มีพลังงาน ไขมัน และน้ำตาลระดับสูง ต้องหยุด กินไม่บ่อย กินเป็นโอกาสพิเศษบางครั้งคราวเท่านั้น ซึ่งตอนนี้เด็กสามารถตอบได้ ก็เลยตอบโจทย์ว่าเรามีการบูรณาการ สร้างการมีส่วนร่วม แล้วก็ต่อยอดองค์ความรู้ให้กับคนทั้งโรงเรียน เด็กรับรู้และเข้าใจได้เป็นอย่างดี อยากเชิญชวนโรงเรียนอื่นๆ เอาจริงจังและสนับสนุนเด็กๆ แบบนี้ทุกโรงเรียน อนาคตเด็กๆ จะรักสุขภาพและห่างไกล “โรคอ้วน” ได้แน่ๆ” นายกันตพัฒน์ มนฑา กล่าว