ทีม ช.ชราภาพ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์กรต้นแบบ รางวัล “ภูมิวัฒนธรรมแผ่นดิน” สาขาภูมิพลังวัฒนธรรม (Soft Power)

หมวดหมู่ เรื่องเด่น , โดย : admin , 11 พฤษภาคม 67 / อ่าน : 439


ทีม ช.ชราภาพ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

องค์กรต้นแบบ รางวัล “ภูมิวัฒนธรรมแผ่นดิน”

สาขาภูมิพลังวัฒนธรรม (Soft Power)

มอบโดย : คณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา

 

ช่างแกะหิมะ ทีมชาติไทย ได้รับรางวัลการันตีฝีมือจากการแข่งขัน และเป็นนักแกะหิมะจิตอาสาให้กับงานของทางราชการหลายแห่ง และเป็นวิทยากรศิลปินอิสระส่งเสริมความรู้ให้กับเยาวชนในท้องถิ่นทุรกันดาร สร้างศูนย์การเรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ๆ ในต่างจังหวัดและชุมชนบ้านเกิดถือเป็นตัวอย่างที่ดี ของกลุ่มบุคคลผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจ ให้กับเยาวชนคนรู้ใหม่ในการรักษาสิลปะประเพณีอันงดงาม ถึงแม้ว่าประเทศไทยไม่ใช่เมืองหนาวแต่กลุ่มบุคคลทั้ง ๓ ท่านนี้ได้สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลกในการฝากฝีมือให้ชาวโลก ได้เห็นว่าไทยไม่น้อยหน้าชาติใดในโลกที่มีฝีมือด้านงานศิลปะ

นาย อำนวยศักดิ์ ศรีสุข (เข่ง) เกิด 1 สิงหาคม 2506 ที่อยู่ บ้านเลขที่ 8 หมู่ 8 ต.ระเวียง อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์ 32130

ประวัติการศึกษา

มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนรัตนบุรี อ.รัตนบุรี จ.สุรินทร์

ประโยควิชาชีพ โรงเรียนขอนแก่นเพาะศิลป์ จ.ขอนแก่น

ประโยควิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม จ.มหาสารคาม

ประวัติการทำงาน

ผู้อำนวยการฝ่ายศิลปกรรม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ

ช่างศิลป์ โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนลตัน กรุงเทพฯ

ช่างศิลป์ โรงแรมเชอราตันคูเวต ประเทศคูเวต

ช่างศิลป์ โรงแรม รอเยลคลิฟบีช พัทยา จ.ชลบุรี

ร่วมแสดงงานศิลปะภาพวาด ร่วมกับกลุ่มศิลปินอิสระ เพื่อ สภากาชาด อย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน : ก่อตั้ง โครงการ หิมะไม่ละลายที่โนนนารายณ์ อ.โนนนารายณ์ จ.สุรินทร์

ประวัติการแข่งขัน

ร่วมแกะสลักหิมะนานาชาติที่เมือง ซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น ทีมชาติไทย (สนับสนุนโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)

- ปี พ.ศ. 2542 ได้รับรางวัลที่ 3

- ปี พ.ศ. 2555 รางวัลที่ 4 มะโนรา

- ปี พ.ศ. 2557 รางวัลที่ 3 (ควายไทย)

- ปี พ.ศ. 2559 รางวัลที่ 5 (หนุมาน)

- ปี พ.ศ. 2561 ชนะเลิศ (ไก่ชน)

- ปี พ.ศ. 2563 ชนะเลิศ (เต่าทะเล)

- ปี พ.ศ. 2567 รางวัลที่ 2 (พญานาค)

- ปี พ.ศ. 2556 ชนะเลิศ ช้างวาดรูป

- ปี พ.ศ. 2558 ชนะเลิศ (ตุ๊กตุ๊ก)

- ปี พ.ศ. 2560 รางวัลชมเชย (มวยไทย)

- ปี พ.ศ. 2562 ชนะเลิศ (ปลากัด)

- ปี พ.ศ. 2564-2566 สถานการณ์โควิด

          นายกุศล บุญกอบส่งเสริม (คู่) เกิด 18 กรกฎาคม 2507 ต.ยามู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

ประวัติการศึกษา

มัธยมปลาย โรงเรียนสุวรรณไพบูลย์ ปัตตานี ปวช. โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ กทม.

ปวส. วิทยาลัยเพาะช่าง

ประวัติการทำงาน

โรงแรม รีเจนท์ กทม.

โรงแรม แซงกีลา

โรงแรม Kempinski อีสตัลบูล ตรุกี

เรือสำราญที่ U.S.A. 8 ปี

ประวัติการแข่งขัน

แชมป์ที่ซัปโปโร 9 ครั้ง แข่งครั้งแรกตั้งแต่ปี 1991

ได้แชมป์ กลุ่ม B แล้วเลื่อนมากลุ่ม 3 ตั้งแต่บัดนั้นจนปัจจุบัน

กลับมาแข่งขันอีกครั้งปี 2007 จนถึงปัจจุบัน

          นาย กฤษณะ วงศ์เทศ (เจี๊ยบ) เกิด 22 เม.ย. 2513 กรุงเทพฯ

ประวัติการศึกษา

มัธยมศึกษา โรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม

ปวช. โรงเรียนอาชีวศิลป์ศึกษา

ปวส. โรงเรียนเพาะช่าง

ปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเพาะช่าง

ประวัติการทำงาน

เริ่มหัดแกะน้ำแข็งที่โรงแรมนารายณ์

พนักงานรายวันที่โรงแรมดุสิตธานี

พนักงานประจำที่โรงแรมฟอร์จูน บูลเวฟ

โรงแรมแชงกรี - ล่า ตำแหน่ง เชฟเดอะปาตี

โรงแรมเพนนินซูล่า ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายศิลป์

ปี 2000 ได้เข้าร่วมแกะหิมะที่ซัปโปโร จนถึงปัจจุบัน

 

          เทศกาลหิมะ Sapporo Snow Festival และงานประกวดแข่งขัน International Snow Sculpture เมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น

งานเทศกาลหิมะเมืองซัปโปโร (Sapporo Snow Festival) จังหวัดฮอกไกโด เริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) เริ่มต้นจากกลุ่มนักเรียนมักผมในเมืองซัปโปโรแกะสลักรูปปั้นหิมะกลางสวน โอโดริ ต่อมาได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากภาคธุรกิจเอกชนและองค์กรส่วนท้องถิ่นยกระดับขึ้นเป็นกิจกรรมประจำปี โดยในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) กองกำลังป้องกันตนเองของเมืองซับโปโรได้เข้าร่วมงานทำการแกะสลักรูปปั้น หิมะและปฏิมากรรมน้ำแข็งขนาดใหญ่ ทำให้งานเทศกาลในปีต่อ ๆ มาเป็นที่สนใจและยิ่งใหญ่มากยิ่งขึ้น ซึ่งใน ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นงานเทศกาลหิมะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นและ นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางมาเข้าร่วมและเที่ยวชมงานกว่า 2 ล้านคน งานเทศกาลหิมะ เมืองซัปโปโรมี กำหนดจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยจัดขึ้นที่สวนสาธารณะโอโดริ กลางเมืองซัปโปโร ซึ่งในปีนี้ เป็นการจัดงานครั้งที่ 19

กิจกรรมที่โดดเด่นในงานเทศกาลหิมะเมืองซัปโปโร ได้แก่ งานประกวดแข่งขันแกะสลักหิมะ นานาชาติ (International Snow Sculpture) ซึ่งเริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) โดยการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้จัดส่งทีมแกะสลักหิมะจากประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันมาทั้งสิ้น 20 ครั้ง ซึ่งปีนี้เป็นครั้งที่ 21 โดย ททท. เริ่มส่งทีมเข้าร่วมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991)

 

การเข้าร่วมของทีมจากประเทศไทย

ทีมจากประเทศไทยได้รับรางวัลชนะเลิศ (Champion) ในการประกวดแข่งขันแกะสลักหิมะ นานาชาติรวมทั้งสิ้น 9 ครั้ง ได้แก่ ปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000), ปี พ.ศ. 2551 - 2553 (ค.ศ. 2008 – 2010), ปี พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013), พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) และ ปี พ.ศ. 2561 - 2563 (ค.ศ. 2018 - 2020) ซึ่งเป็นการ คว้ารางวัลชนะเลิศติดต่อกัน 3 ปีซ้อน (Grand Champion) จำนวน 2 ครั้ง และถือเป็นครั้งแรกสำหรับการ จัดการประกวดแข่งขัน ไม่เคยมีประเทศใดทำได้มาก่อน

 

ผลงานที่ภาคภูมิใจ

  • พ.ศ. 2543 (ค.ศ.2000) ผลงานชื่อ “ช้าง”เป็นงานแกะสลักรูปช้าง
  • พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) รางวัลรองชนะเลิศ ผลงานชื่อ THAI CHILDREN WITH BUFFALOES
  • พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) รางวัลรองชนะเลิศ ผลงานชื่อ 120 Anniversary of Japan-Thailand Diplomatic Relationship 2007
  • พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) รางวัลชนะเลิศ ผลงานชื่อ “Family”เป็นผลงานแกะสลักรูปช้างพ่อแม่ลูกFAMILY (Father And Mother, I Love You)
  • พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) รางวัลชนะเลิศ ผลงานชื่อ “Garuda and Naga”เป็นผลงานแกะสลักรูปครุฑยุดนาค
  • พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) รางวัลชนะเลิศ ผลงานชื่อ “Kraithong” เป็นผลงานแกะสลักรูปไกรทองสู้กับชาละวัน
  • พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) รางวัลที่ 4 ผลงานชื่อ มโนห์รา
  • พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) รางวัลชนะเลิศ ผลงานชื่อ The Artist From the Wild
  • พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) รางวัลที่ 3 ผลงานชื่อ “วันนี้ยังมีควาย”
  • พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) รางวัลชนะเลิศ ผลงานชื่อ “The Ubiquitous TUK-TUK”
  • พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) รางวัลที่ 5 ผลงานชื่อ “หนุมาน”
  • พ.ศ. 2560 (ค.ศ. 2017) ผลงานชื่อ “มวยไทย”
  • พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) รางวัลชนะเลิศ ผลงานชื่อ “ไก่ชน”
  • พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) รางวัลชนะเลิศ ผลงานชื่อ “Betta Brilliance-The Beauty and Strength of Thailand”
  • พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) รางวัลชนะเลิศ ผลงานชื่อ “อนาคตที่ปลายจมูก – Future in our hands”

สำหรับปีพ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นปีแห่งการครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-ญี่ปุ่น 120 ปี

(120th Anniversary of Japan-Thailand Diplomatic Relation) ผู้จัดงานและกองกำลังป้องกันตนเองเมืองซัปโปโรได้แกะสลักรูปปั้นหิมะเป็นรูปพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท โดยแสดงในพื้นที่บริเวณเวทีใหญ่ และผลงานแกะสลักของทีมจากประเทศไทยในปีนั้นเป็นรูปเด็กไทยในชุดนักมวยและเด็กญี่ปุ่นในชุดซูโม่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ

          ในปีพ.ศ.2555 (ค.ศ.2012) ได้มีจัดเทศกาลหิมะเมืองซัปโปโรครั้งที่ 60 และการแข่งขัน International Snow Sculpture ครั้งที่ 39 ขึ้น โดยบริเวณเวทีใหญ่มีการแกะสลักหิมะเป็นรูปทัชมาฮาล เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างญี่ปุ่น-อินเดีย ด้านการแข่งขันแกะสลักหิมะ มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 16 ทีม โดยทีมประเทศไทยแกะสลัก เป็นรูปมโนห์รา และได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 4

          ในปี พ.ศ.2556 (ค.ศ.2013) ได้มีจัดเทศกาลหิมะเมืองซัปโปโร ครั้งที่ 64 และการแข่งขันInternational Snow Sculpture ครั้งที่ 40 ประเทศไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการแกะสลักหิมะ ณ บริเวณเวทีกลาง โดย ททท. กำหนดแกะสลักรูปปั้นหิมะขนาดใหญ่เป็นรูปพระอุโบสถประจำวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร (ขนาดกว้าง 28 เมตร สูง 15 เมตรและลึก 21 เมตร) โดยใช้ชื่อ “HBC Kingdom of Thailand Square” เป็นชื่อพื้นที่จัดแสดงรูปปั้นแกะสลักหิมะดังกล่าว ด้านการแข่งขันแกะสลักหิมะ มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 12 ทีม โดยทีมประเทศไทยแกะสลัก เป็นรูป “ช้างวาดรูป” และได้รับรางวัลชนะเลิศ Champion

          ในปี พ.ศ.2557 (ค.ศ. 2014) ได้มีจัดเทศกาลหิมะเมืองซัปโปโร ครั้งที่ 65 และการแข่งขัน

International Snow Sculpture ครั้งที่ 41 ได้ส่งผลงานภายใต้ชื่อ “วันนี้ยังมีควาย” ซึ่งได้รับรางวัลอันดับที่ 3

          ในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) ได้มีจัดเทศกาลหิมะเมืองซัปโปโรครั้งที่ 66 และการแข่งขัน International Snow Sculpture ครั้งที่ 42 ได้ส่งผลงานการแระสลักรูปรถตุ๊กตุ๊ก ภายใต้ชื่อ “The Ubiquitous TUK-TUK” ได้รับรางวัลอันดับที่ 1

          ในปีพ.ศ. 2559 (ค.ศ.2016) ได้มีจัดเทศกาลหิมะเมืองซัปโปโรครั้งที่ 67 และการแข่งขัน International Snow Sculptureครั้งที่ 43 ได้ส่งผลงานการแกะสลักรูปตัวละครในวรรณคดีไทย ภายใต้ชื่อ “หนุมาน”

          ในปี พ.ศ.2560 (ค.ศ.2017) ได้มีจัดเทศกาลหิมะเมืองซัปโปโรครั้งที่ 68 และการแข่งขัน International Snow Sculpture ครั้งที่ 44 ได้ส่งผลงานการแกะสลักภายใต้ชื่อ “มวยไทย”

          ปี พ.ศ. 2561 ทีมตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน International Snow Sculpture ครั้งที่ 45 ส่งผลงานแกะสลักภายใต้ชื่อ “ไก่ชน” และได้รับรางวัลชนะเลิศ

          ในปี 2562 งานประกวดแข่งขัน International Snow Sculpture ครั้งที่ 46 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ดำเนินการจัดส่งทีมแกะสลักหิมะจากประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขัน International Snow Sculpture Contest 2019 กำหนดจัดระหว่างวันที่ 2-8 กุมภาพันธ์2562 ณ บริเวณ “International Square” บริเวณสวนสาธารณะโอโดริ (ตั้งอยู่ที่ Odori Nishi 11-chome) โดยมีทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 9 ทีม ได้แก่ Daejeon Metropolitan City(Korea), Finland, Hawaii, Indonesia, Macao, Poland, , China, Singapore, Thailand

ผลงานของประเทศไทย คือ รูปปลากัด ภายใต้ผลงานชื่อ “Betta Brilliance-The Beauty and Strength of Thailand” ซึ่งเป็นสัตว์น้ำประจำชาติไทย อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงความผูกพันของคนไทยกับสายน้ำ และได้รับรางวัล “Champion” ซึ่งประเทศไทยได้รับรางวัล Champion เป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน และเป็นรางวัล Champion ครั้งที่ 8 นับตั้งแต่ทีมประเทศไทยได้เข้าร่วมงานแข่งขันนี้ จากการเข้าร่วมงาน และชนะการแข่งขันดังกล่าว สามารถสร้างชื่อเสียงและสร้างการรับรู้ให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก อีกทั้งมีสื่อมวลชนให้ความสนใจและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ อาทิ สถานีโทรทัศน์ UBH และ HBC สถานีวิทยุ 82.5 FM Northwave หนังสือพิมพ์ Hokkaido และสื่อออนไลน์ FNN Prime ของประเทศญี่ปุ่น รวมถึงสื่อไทย อาทิ สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 รายการเช้านี้ที่หมอชิต และรายการเจาะประเด็นข่าว รวมถึงเว็ปไซต์ Bangkokpost ผู้จัดการออนไลน์ Workpiont News เพจ The Standard และ Blogger Audrey Green เป็นต้น สามารถสร้างการรับรู้เกี่ยวกับประเทศไทยแก่ผู้ร่วมงานไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน และสร้างการรับรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 6 ล้านคน

          ในปี 2563 งานประกวดแข่งขัน International Snow Sculpture ครั้งที่ 47 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ดำเนินการจัดส่งทีมแกะสลักหิมะจากประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขัน International Snow Sculpture Contest 2020 ก าหนดจัดระหว่างวันที่ 4-11 กุมภาพันธ์2563 ณ บริเวณ“International Square” บริเวณสวนสาธารณะโอโดริ (ตั้งอยู่ที่ Odori Nishi 11-chome) โดยมีทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 10 ทีม ได้แก่ Australia, Finland, Lithuania, the USA (Hawaii and Portland), Poland, Singapore, Mongolia, Indonesia, Macau and Thailand

ผลงานของประเทศไทย คือ รูปมือของมนุษย์ที่โอบอุ้มแม่เต่าและลูกเต่า ภายใต้ผลงานชื่อ “อนาคตที่ปลายจมูก – Future in our hands” ซึ่งสื่อถึงสภาวะ ณ ปัจจุบันที่โลกรับรู้ถึงภัยพิบัติที่เกิดขึ้น จากวิถีของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อโลก และสัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นผู้รับผลของการกระท า เต่าทะเลเป็นเพียงสื่อของผลจากวิถีของมนุษย์ที่ยังต่อสู้อดทนกับภัยที่เกิดขึ้น โดยมีความหวังอยู่ และได้รับรางวัล “Champion” ซึ่งประเทศไทยได้รับรางวัล Grand Champion เป็นครั้งที่สอง และเป็นรางวัล Champion ครั้งที่ 9 นับตั้งแต่ทีมประเทศไทยได้เข้าร่วมงานแข่งขันนี้

เทศกาลหิมะ Sapporo Snow Festival ครั้งที่ 74 และงานประกวดแข่งขัน International Snow Sculpture ครั้งที่ 48 เมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ชื่อผลงาน : The Naga Fireball (รางวัลรองชนะเลิศ)

ผลงานการแกะสลักครั้งนี้มีที่มาจากเรื่องราวของความเชื่อและความศรัทธา “พญานาค” ที่ถือเป็นรากเหง้าของคนไทย โดยเฉพาะชุมชนริมแม่น้ำโขงมาอย่างช้านาน โดยมีความเชื่อว่า “พญานาค” หรือ “นาค” งูใหญ่มีหงอน สัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา และนาคยังเป็นสัญลักษณ์ ของบันไดสายรุ้งสู่จักรวาล ทั้งนี้ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีตำนานความเชื่อเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย โดยมีความเชื่อกันว่า “พญานาค” อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงหรือเมืองบาดาล ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพลังอำนาจ

ความเชื่อและความศรัทธา “พญานาค” ของคนไทย ถูกเผยแพร่ทั้งในเชิงของวัฒนธรรม และความเชื่อทางด้านจิตใจ ซึ่งจะพบเห็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับ “พญานาค” ได้เสมอ ผ่านผลงานจิตรกรรม ประติมากรรม และหัตถกรรม โดยถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญทางสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะตามอาคารวัดต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันศาสนสถาน ซึ่ง “พญานาค” ถูกมองว่าคู่ควรกับสถาบันอันสูงส่ง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ที่ “พญานาค” มีส่วนร่วมในตำนาน

ความเชื่ออย่างชัดเจน ผู้คนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขง เชื่อว่าแม่น้ำโขงเกิดจากการแถตัวของ “พญานาค” ซึ่งแสดงออกอย่างชัดเจน ในประเพณี บั้งไฟพญานาค ที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นการจุดบั้งไฟถวายการเสด็จกลับของพระพุทธเจ้าในวันออกพรรษา เนื่องจากเชื่อว่า “พญานาค” เป็นเจ้าบาดาล เป็นผู้ให้กำเนิดสายน้ำ ซึ่งสายน้ำเป็นวิถีชีวิตที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านานและถือเป็นถิ่นกำเนิดของความเป็นคนไทย ในปีนี้ททท. ได้ออกแบบลวดลายโดยอ้างอิงจากพื้นฐานแนวคิดที่กล่าวไปแล้วข้างต้นเช่นกัน เน้นการนำเสนอเรื่องราว ที่ชูเอกลักษณ์ความเป็นไทย เพื่อให้เกิดความโดดเด่น และแตกต่าง ซึ่ง ททท. ได้มุ่งหวังให้การเข้าร่วมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำส่ง Soft Power ของประเทศไทยไปยังนักท่องเที่ยวต่างชาติทั่วโลกอีกด้วย

จากการเข้าร่วมงานในปีนี้ประเทศไทยได้รับพื้นที่สื่อจากประเทศญี่ปุ่นและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก



ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]