สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม องค์กรต้นแบบ รางวัล “ภูมิวัฒนธรรมแผ่นดิน” สาขาภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน

หมวดหมู่ เรื่องเด่น , โดย : admin , 11 พฤษภาคม 67 / อ่าน : 6,973


สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

องค์กรต้นแบบ รางวัล “ภูมิวัฒนธรรมแผ่นดิน”

สาขาภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน

มอบโดย : คณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา

 

สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานก่อตั้งขึ้นด้วยการตระหนักในคุณค่าความสำคัญด้านศิลปะ และวัฒนธรรมของชาวอีสานโดยมีความเป็นมา ดังนี้

พ.ศ.2513 เริ่มดำเนินการในรูปการวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน โดยคณาจารย์และนิสิตที่สนใจ และได้ตั้งหน่วยงานภายใต้ชื่อ “ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มีที่ตั้งอยู่ ณ ภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตมหาสารคาม

วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2523 สภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งเป็น “ศูนย์ศิลปะ และวัฒนธรรมอีสาน”

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2523 คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการฯ เห็นชอบสมควรสนับสนุนให้จัดตั้งเป็น “สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม”

วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ อนุมัติในหลักการให้จัดตั้งเป็น “สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน”

วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2529ทบวงมหาวิทยาลัยประกาศให้ “ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” เป็น“สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน”โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษเล่ม103ตอนที่198หน้า9-10 ลงวันที่12พฤศจิกายน พ.ศ. 2529ซึ่งถือเป็นหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ

พ.ศ. 2535 ได้รับจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างอาคารซึ่งเป็นอาคารทรงไทยอีสานประยุกต์ 5 ชั้น (รวมชั้นใต้หลังคา) มีเอกลักษณ์แสดงถึงความงามทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมของชาวอีสาน เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางศิลปะและวัฒนธรรม

พ.ศ. 2547 ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนในหลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต (Master of Arts in Cultural Science) แบ่งเป็น3แขนงวิชาคือ 1. สาขาการบริหารทางวัฒนธรรม 2. สาขาวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว 3. สาขาการวิจัยทางวัฒนธรรม พ.ศ.2548 ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่4/2548 วันที่ 29 เมษายน 2548 ให้เปิดสอนในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ (Doctor of Philosophy in Cultural Science) และสามารถเปิดรับนิสิตรุ่นแรกระดับปริญญาเอกในภาคเรียนที่1/2548 ในปี พ.ศ. 2554หลักสูตรวัฒนธรรมศาสตร์ได้แยกเป็น “คณะวัฒนธรรมศาสตร์” โดยมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยมหาสารคามครั้งที่ 1/2554 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2554 ให้มีชื่อเรียกว่า “Faculty of Culturalscience”

พ.ศ. 2554 นโยบายมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการนำของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ รองศาสตราจารย์ปิยพันธ์ แสนทวีสุข รองอธิการบดี ฝ่ายอำนวยการ และรองศาสตราจารย์ ดร.ปฐม หงษ์สุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้รวมองค์กรด้านต่าง ๆ เข้าร่วมในสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้แก่ โครงการอนุรักษ์ใบลาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และหอศิลป์จำปาศรี เพื่อสร้างและพัฒนางานวิจัย รวมถึงการสนับสนุนทุนส่งเสริมการวิจัยทั้งภายในและภายนอกงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม งานบริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมให้มีความโดดเด่น สามารถเป็นที่พึ่งให้กับชุมชน-สังคมได้อย่างยั่งยืนและเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ได้ปรับแผนกลยุทธ์โดยสร้างความสามารถและศักยภาพด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและความเข้มแข็งทางวิชาการของมหาวิทยาลัย พัฒนาองค์ความรู้เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายวิชาการในมิติการศึกษาศิลปะ-สังคม-วัฒนธรรม-ชาติพันธุ์ และอีสานศึกษา เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และบริการวิชาการ เพื่อการพัฒนา ฟื้นฟู สถาบันวิจัยศิลปะฯ โดยสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ชุมชนและท้องถิ่น ส่งเสริมและสนับสนุน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรมและท้องถิ่นอีสานศึกษา สนับสนุนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยคนในท้องถิ่นในมิติด้านศิลปะและวัฒนธรรม และอีสานศึกษา สร้างสื่อการเรียนรู้ และสร้างความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของตนเอง จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ทางวัฒนธรรม รวมถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัย และบริการวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรมทั้งภายในและภายนอกอย่างกว้างขวางต่อไป

สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสานดำเนินการขับเคลื่อนการศึกษา อนุรักษ์ สืบสาน และใช้ประโยชน์ จากเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยให้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วน เริ่มต้นจากรสํารวจเอกสารโบราณในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการอนุรักษ์ และจัดทำทะเบียนเอกสารโบราณส่งมอบให้กับผู้เป็นเป็นเจ้าของ คัดสรรเอกสารโบราณที่มีคุณค่า จัดเก็บในรูปแบบฐานข้อมูลดิจิทัล ปริวรรตและเผยแพร่ทั้งในรูปแบบของเอกสารและอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำหลักสูตรระยะสั้น และThaiMOOC (การศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต) จัดทำพิพิธภัณฑ์เอกสารโบราณ จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และสร้างเครือข่ายความร่วมมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้ รวมทั้งการศึกษาวิจัยเพื่อนําองค์ความรู้ไปพัฒนาใช้ให้เกิดประโยชน์

1.ผลงานที่ภาคภูมิใจ

การสํารวจและอนุรักษ์เอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ GIS ฐานข้อมูลคัมภีร์ใบลาน

2.ปริวรรตเอกสารโบราณ ได้แก่

2.1 ตำรายาวัดมหาชัย เล่มที่ 1

2.2 ตำรายาวัดมหาชัย เล่มที่ 2

2.3 ตำรายาวัดมหาชัย เล่มที่ 3

2.4 ตำรายาวัดมหาชัย เล่มที่ 4

2.5 ตำรายาวัดมหาชัย เล่มที่ 5

2.6 ตำรายา อำเภอกันทรวิชัย

2.7 ตำรายา อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอนาเชือก

2.8 ตำรายาศรีสมพร อำเภอเชียงยืน

2.9 ตำรายาวัดท่าม่วง เล่มที่ 1

2.10 ตำรายาวัดท่าม่วง เล่มที่

2.11 พญาคันคาก

2.12 สารตราเมืองมหาสารคาม

2.13 ผาแดงนางไอ่

2.14 พระเจ้าเลียบโลก

2.15 สู่ขวัญ

2.16 สีทน-มโนราห์

2.17 ตำราพรหมชาติ

2.18 สังฮอมธาตุ

2.19 พระวอพระตา

2.20 กฎหมายโบราณ

2.21 อุรังคธาตุ

2.22 คัชนาม

2.23 นกกระเต็นด่อน

2.24 ตำราโหราศาสตร์

1.25 นกจอกน้อย

ข้อมูลจาก

 

3.เอกสารวิชาการ ได้แก่

3.1 แบบเรียนอักษรธรรมอีสาน

3.2 แบบเรียนอักษรโบราณฉบับจุดประกาย

3.3 ภูมิปัญญาอีสานจากใบลาน

3.4 สมุดภาพพระมาลัย

3.5 ธุงผะเหวดอีสาน

3.6 ผ้าห่อคัมภีร์ใบลานในภาคอีสาน: อัตลักษณ์และการแพร่กระจาย

3.7 เรือนพื้นถิ่น

3.8 ศิลปะการแทงหยวก

3.9 100 ปีชาตกาลพระอริยานุวัตร

3.10 ลายผ้ามหาสารคาม

ข้อมูลจาก 

 

4.ThaiMOOC การศึกษาแบบเปิดเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. 1 ภูมิปัญญาอีสานจากใบลาน

4. 2 อักษรไทยน้อยเบื้องต้น

 

5. หลักสูตรระยะสั้น

5.1 หัดอ่านอักษรโบราณในฮูปแต้มเบื้องต้น

5.2 เรียนรู้อักษรไทยน้อยเบื้องต้น

5.3 อักษรโบราณพื้นฐาน

5.4 การถ่ายถอดและปริวรรตอักษรโบราณในภาคอีสาน

5.5 ผ้าห่อคัมภีร์ใบลานในภาคอีสาน

5.6 การจารใบลานและปริวรรตตํารายาจากเอกสารใบลาน

5.7 การอ่านเขียนอักษรโบราณอีสาน

ข้อมูลจาก 

6.        พิพิธภัณฑ์เอกสารโบราณ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน

7.        การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

-         The 2nd International Conference on Isan Literature beyond a Time Capsule: Isan Foodways

-         The 3rd International Conference on Foodways: Challenges for the Mekong Region

 

8.1 สํารวจทำทะเบียนข้อมูลเอกสารโบราณ บรรณนิทัศน์ ตํารับและตํารายาการแพทย์แผนไทยจังหวัดมหาสารคาม (แหล่งทุน กรมการแพทย์แผนไทยฯ)

8.2 สํารวจทำสำเนาดิจิทัลและปริวรรตเอกสารโบราณตํารับยาและตําราการแพทย์แผนไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (แหล่งทุน กรมการแพทย์แผนไทยฯ)

8.3 การวิเคราะห์และจัดทำอนุกรมสมุนไพร โรค ตํารับยา ที่ปรากฏในเอกสารใบลาน(แหล่งทุน ม.มหาสารคาม)

8.4 การจัดการมรดกภูมิปัญญาประเภทเอกสารโบราณ (Palm-leaf manuscripts in Greater Mekong Subregion (GMS))

8.5 ผักพื้นบ้านและสรรพคุณที่ปรากฏในตํารายาใบลาน (แหล่งทุน ม.มหาสารคาม)

8.6 การสํารวจและสำเนาเอกสารตัวเขียน 4 ภูมิภาค ในฐานะมรดกความทรงจำของชาติ และหลักฐานการรู้หนังสือของบรรพชนไทย (แหล่งทุน วช.)

8.7 การจัดทำพจนานุกรมวิชาการมรดกภูมิปัญญาประเภทเอกสารโบราณด้านการแพทย์พื้นบ้านในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงเพื่อเพิ่มคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมนานาชาติ (แหล่งทุน ม.มหาสารคาม)

8.8 การสืบสานมรดกภูมิปัญญาเอกสารโบราณ "มนตราอีสาน (แหล่งทุน ม.มหาสารคาม)



ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]