การเปิดศูนย์เรียนรู้เสน่ห์บางลำพู แหล่งรวมตัวของคนรักบางลำพู

31 ตุลาคม 66 / อ่าน : 2,433

การเปิดศูนย์เรียนรู้เสน่ห์บางลำพู แหล่งรวมตัวของคนรักบางลำพู

..................................................

การเปิด “ศูนย์เรียนรู้เสน่ห์บางลำพู” แห่งนี้ เป็นพัฒนาการทำงานของชุมชนย่านบางลำพู จากจุดเริ่มต้นในการตั้งกลุ่มประชาคมบางลำพู และชมรมเกสรลำพู จนปัจจุบันได้มีกิจกรรมที่รวมตัวของน้องๆ ไกด์เด็กบางลำพู ได้เห็นการทำงานระหว่างผู้ใหญ่ เด็ก และเยาวชนที่ทำงานกันมาอย่างยาวนานมากๆ และสร้างสรรค์กิจกรรมที่ดีเสมอมา ในการพัฒนาชุมชนตนเอง ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไปแต่ทำเพื่อพื้นที่ชุมชนของตนเอง ทั้งงานด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ด้านศิลปวัฒนธรรม งานบุญ งานศาสนา งานศิลปะ ดนตรีในรูปแบบต่างๆ เกิดการทำงานเป็นเครือข่ายจนทำให้เกิดผลงานเกิดขึ้นอย่างประจักษ์ต่อชุมชนและบุคคลทั่วไป และยังต่อยอดขยายไปสู่กิจกรรมที่เด็กและเยาวชน พัฒนาการทำงานชุมชนในนาม “ไกด์เด็กบางลำพู” นักเล่าเรื่องชุมชน เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวชุมชนอย่างสร้างสรรค์ในพื้นที่ย่านบางลำพู

ชุมชนย่านบางลำพู เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมอันงดงาม เป็นสถานที่การท่องเที่ยวที่สำคัญของกรุงเทพฯ พอพูดถึง “บางลำพู” ผมก็นึกถึงอาหารหรือขนมเป็นอันดับแรก ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่านอาจคิดถึงเมนูอาหารบางลำพูที่หลายท่านเคยรับประทานในรสชาติที่คุ้นลิ้น หรือบางท่านอาจไม่เคยรับประทานมาก่อน หรือบางท่านอาจจะไม่ทราบเลยว่ามีอาหารชนิดนี้ในบางลำพู ในวันนี้ ก็ถือเป็นโอกาสอันดีที่ผมจะได้มาท่องเที่ยวชุมชน และเปิดศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ ได้มารับประทานอาหารในรูปแบบใหม่ที่ออกแบบโดยคนในชุมชน และความร่วมมือจากร้านชื่อดังอันเป็นตำนานเลื่องชื่อในหมู่นักชิมมาช้านาน และแต่ละร้านทราบว่าได้ขายมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตายาย หรือรุ่นพ่อแม่ ได้มีแผนที่ร้านค้าความร่วมมือมากกว่า 50 ร้าน ถูกนำมารังสรรค์จัดวาง ตกแต่ง ให้สวยงาม ดูน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น และยังคงสื่อถึงอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของย่านเมืองเก่า และภูมิปัญญาที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

บ้านหลังนี้เป็นบ้านของ “พี่แจ้” บ้านที่สร้างขึ้นเมื่อปี 2510 ในชุมชนบ้านพานถม บริเวณหลังวัดตรีทศเทพ จนมาทำเป็นโฮสเทล แต่เกิดโควิดเกิดขึ้น ทำให้ปิดตัวไป และมาร่วมสร้างสรรค์ชุมชนกับกลุ่มประชาคมบางลำพู และชมรมเกสรลำพู เพื่อให้เป็นแหล่งงเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ของชุมชน โดยจะเปิดให้บริการในช่วงแรกทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.30 น. โดยเปิดให้บริการคาเฟ่เล็กๆ เล่าเรื่องบางลำพู จำหน่ายอาหารขนมเครื่องดื่มที่มีความเกี่ยวข้องกับอาหารบางลำพู และกิจกรรมเวิร์ค ช้อปงานชุมชนในรูปแบบต่างๆ

ในวันนี้จะเป็นการรับประทานอาหารในมื้อพิเศษในมื้อนี้ เพื่อก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน ได้สร้างสรรค์กิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชน และการมีศูนย์เรียนรู้เสน่ห์บางลำพูแห่งนี้จะเป็นศูนย์กลางในการทำงานชุมชนอีกสถานที่หนึ่งที่ เป็นศูนย์รวมเรื่องราวของบางลำพูให้คนในและนอกชุมชนได้รับรู้ และยังเป็นแหล่งรวมตัวของเด็กและเยาวชน ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้านในการนำเสนอวิถีชีวิตชุมชน กิจกรรมงาน Workshop งานศิลปะท้องถิ่นของชุมชน และที่สำคัญคือการนำเสนออาหาร Special Local Food by Sanae Banglamphu เพื่อให้เกิดการจัดการท่องเที่ยวชุมชนที่เกิดจากคนในชุมชนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน จนเกิดเป็นการท่องเที่ยวชุมชนที่เกิดจากการทำงานของไกด์เด็กบางลำพู นักเล่าเรื่องชุมชน และคนในชุมชนได้สร้างสรรค์เส้นทางใหม่ๆ ตลอดจนส่งเสริมนวัตกรรมและกิจกรรมของชุมชนด้วยการสร้างเศรษฐกิจชุมชนอย่างสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

.

Official Web : http://artculture4health.com/

Facebook : https://www.facebook.com/artculture4h

Youtube แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมสุขภาพ : http://bit.ly/3YVFSl5

Instagram : https://www.instagram.com/artculture4health/

Twitter : https://twitter.com/art_culture4h

Tiktok : https://www.tiktok.com/@artculture4health

และที่

Official Web : www.artculture4health.com/pun

Facebook : https://www.facebook.com/PunSilpPunSook

Youtube ปันศิลป์ ปันสุข : https://bit.ly/3tKmMPW

Instagram : https://www.instagram.com/punsilppunsook

Twitter : https://twitter.com/PunSilpPunSook

Tiktok : https://www.tiktok.com/@punsilppunsook




ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]