คนสงขลาเรียก "ปลาขี้ตัง"

หมวดหมู่ เรื่องเด่น , โดย : admin , 2 มิถุนายน 66 / อ่าน : 812


คนสงขลาเรียก "ปลาขี้ตัง"

ปลาขี้ตัง ชื่อขนานนามในภาษาใต้ หรือพื้นที่อื่น ๆ เรียกว่า "ปลากระทะ" "ปลาแปบลาย" หรือ “ปลาตะกรับ” และชื่อในแวดวงปลาสวยงามจะเรียกว่า "ปลาเสือดาว" ตามลักษณะลวดลายบนลำตัว

ปลาขี้ตัง นั้นเป็นดั่งอัตลักษณ์ความผูกพันร่วมกันของคนสงขลา และจังหวัดในเวิ้งทะเลสาบสงขลา โดยปลาขี้ตังเป็นอีกหนึ่งตัวแทนที่ช่วยส่งเสริมและสร้างภาพลักษณ์ในเชิงบวกให้แก่กิจการของชุมชน โดยมีการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการอื่น ๆ เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน

เช่นเดียวกับ “สงขลาเฮอริเทจ (SKA Heritage)” ภายใต้การสนับสนุนของ นำปลาขี้ตังตัวใหญ่มาออกแบบเป็นลวดลายแทรกความน่ารัก น่าใช้ แล้วพิมพ์ลายลงบนสินค้า อาทิกระเป๋าผ้าใบใหญ่ กระเป๋าใส่เหรียญ พวงกุญแจ และแมสผ้าสะท้อนน้ำ

ปลาขี้ตัง เป็นปลาน้ำเค็ม แต่มันสามารถที่จะปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย ซึ่งปลาชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งในบริเวณทะเลเปิด ชายฝั่ง ปากแม่น้ำ และในแหล่งน้ำจืดบางพื้นที่ มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางตั้งแต่ตะวันออกกลาง , เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ , เอเชียตะวันออก ไปจนถึง โซนโอเชียเนีย มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีมากที่สุดบริเวณ ทะเลสาบสงขลา นับเป็นปลาเศรษฐกิจแห่งทะเลสาบสงขลา  เพราะปลาขี้ตังเป็นได้ทั้งปลาสวยงาม เป็นปลาระดับนางงามแห่งทะเลสาบสงขลา และใช้ในการบริโภคเป็นอาหาร

ปลาขี้ตังจะมีเนื้ออร่อย หวาน เนื้อนุ่ม และมีความมัน เหมาะสำหรับแกงส้มกะลูกเขาคันหรือเถาว์คัน คลุกขมิ้นทอด ร้านอาหารแถวริมทะเลสาบสงขลาบางร้านอาจจะคิดเมนูแปลก ๆ ขึ้นบริการลูกค้าเช่น ปลาขี้ตังต้มน้ำปลา,ต้มขมิ้น, ทอดราดน้ำปลา, ทอดกระเทียมพริกไทย และขี้ตังราดพริก ปลาขี้ตังในทะเลสาบสงขลา เป็นปลาน้ำกร่อยเนื้อจึงอร่อยและมีความมันกว่าที่อื่น

อย่างไรก็ตาม ความนิยมมักสวนกับปริมาณ ด้วยตลาดมีความต้องการสูงทำให้ปลาขี้ตังขายได้ราคาดี ส่งผลให้ประชากรปลาชนิดนี้ มีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่องและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์  

แต่ปัจจุบันการเพาะพันธุ์ด้วยวิธีการผสมเทียมประสบผลสำเร็จ โดยทางศูนย์วิจัยเพาะเลี้ยงชายฝั่งเขต 6 สงขลา ทำการวิจัยและผสมเทียมสำเร็จเป็นแห่งแรก และแห่งเดียวของประเทศก็ว่าได้ เมื่อทางศูนย์ฯผสมเทียมและเพาะเลี้ยงแล้ว ก็จะนำไปปล่อยลงสู่ทะเลสาบสงขลาและอีกส่วนหนึ่งนำไปแจกชาวประมง ให้นำไปเลี้ยงในบ่อหรือในกระชังต่อไป

.

เกร็ดสุขภาวะ

ที่มา : ThaiHealth Official อ้างถึง บทความเรื่อง กินปลาเป็นตัว หรือ กินน้ำมันปลา เป็นเม็ด หมอชาวบ้าน

ถ้านึกถึงอาหารเพื่อสุขภาพ เชื่อว่าหนึ่งในนั้นต้องมี "ปลา" เป็นตัวชูโรง เพราะปลามีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย หากถามว่าคุณค่าทางอาหารของปลามีอะไรบ้าง เราคงนึกถึงโปรตีนเป็นอย่างแรก เพราะอาหารประเภทเนื้อสัตว์ก็ต้องคู่กับโปรตีนอยู่แล้ว แต่ปลามีคุณสมบัติเฉพาะตัวมากกว่านั้นและการกินปลาช่วยลดการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ลดโอกาสเป็นอัมพาต โดยเฉพาะในผู้หญิง และลดโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ประโยชน์ของการกินปลา

1. กินปลาลดโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจลดลง

2. การกินปลาลดโอกาสหัวใจล้มเหลว

3.การกินปลาช่วยลดโอกาสเป็นอัมพาต

4. การกินปลาช่วยลดโอกาสอัมพาตในผู้หญิง

5. การกินปลาลดโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

.

อ้างอิง

เพ็ญศิริ ศิริรักษ์ หนูมณี. (2564). ปลาขี้ตัง. จาก  https://oer.learn.in.th/search_detail/result/220403

Sator4U. (2557). ปลาขี้ตัง ของดีจากทะเลสาบสงขลา. จาก https://sator4u.com/paper/779

HATYAI FOCUS. (2560). "ขี้ตัง" ของหรอยทะเลสงขลา. จาก https://shorturl.asia/xIGLl

.

ติดตามข่าวสารและกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. เพิ่มเติมได้ที่

Official Web : http://artculture4health.com/

Facebook : https://www.facebook.com/artculture4h

Youtube แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมสุขภาพ : http://bit.ly/3YVFSl5

Instagram : https://www.instagram.com/artculture4health/

Twitter : https://twitter.com/art_culture4h

Tiktok : https://www.tiktok.com/@artculture4health

.

#สสส #แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพสสส #สื่อศิลป์SE #SE #ศิลป์สร้างสุข #ปลาขี้ตัง #สงขลา #สงขลาเฮอริเทจ #ทะเลสาบสงขลา #ปลาตะกรับ #บทความ #ปลา #ภาคใต้

 



ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]