urban NICE zation เมือง – มิตร – ดี ที่นางเลิ้ง

10 กุมภาพันธ์ 66 / อ่าน : 2,133

“urban’NICE’zation” เมือง – มิตร – ดี ที่นางเลิ้ง

.

 

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำโดยอาจารย์ ดร.ดนัย หวังบุยชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ และอาจารย์มานพ แย้มอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมชมนิทรรศการ เรียนรู้ แลกเปลี่ยน แนวคิด นิทรรศการ “Green Hacker จู่โจมพื้นที่ร้างเปลี่ยนเมือง” บริเวณสวนจักรพรรดิ์ – ย่านนางเลิ้ง กิจกรรม Hack พื้นที่จะปรับพื้นที่ร้างเป็นพื้นที่ใช้งานและลานกีฬาของชุมชนนางเลิ้ง รวมถึงร่วมกันปลูกต้นไม้ในสวน เพื่อตอบรับกับนโยบายการผลักดันให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองน่าอยู่ ด้วยการเปลี่ยนพื้นที่รกร้างให้เป็นพื้นที่สีเขียว พื้นที่ผลิตอาหาร พื้นที่ศิลปะ ที่ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันทำ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต เพิ่มความมั่นคงทางอาหาร และเกิดระบบนิเวศเมืองที่เป็นมิตรกับคนและสิ่งแวดล้อม

.

.

อีกทั้งยังได้ร่วมกิจกรรม community art – คอมมิวนิตีอาร์ต : ศิลปะ • ชุมชน • เมือง ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ ชุมชน และเมือง ซึ่งเกิดขึ้นจากความตั้งใจอยากให้เทศกาลงานออกแบบที่สวยงาม สร้างความสุขให้ชุมชน เกื้อกูลศิลปินท้องถิ่น ฟื้นคืนศิลปะที่กำลังจะตายให้กลับมามีชีวิตชีวา กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน และเสริมพลังให้ชุมชนเก่าใจกลางเมืองที่อุดมด้วยศิลปะ วัฒนธรรม สามารถอยู่ร่วมกับเมืองที่กำลังพัฒนาสู่ความศิวิไลซ์ได้อย่างเป็นมิตร ตามแนวคิดส่งเสริมให้พื้นที่ นางเลิ้งสู่ ‘ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ อย่างยั่งยืน’ อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ ต้องการสร้างพื้นที่การทำงานร่วมกัน ระหว่างชุมชน และศิลปิน นักออกแบบ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้าน ต่าง ๆ เพื่อสร้างโมเดลการทำงานร่วมกันเพื่อ ประโยชน์ต่อชุมชน ศิลปินและงานเทศกาลอย่างยั่งยืน กิจกรรมคอมมิว นิทีอาร์ตประกอบด้วย - Community Tour : เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนและสำรวจงานศิลปะที่จัดแสดงตามจุดต่าง ๆ ใน ย่านนางเลิ้ง - Community Workshop : เวิร์คช็อปเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมในชุมชนย่านนางเลิ้ง - Community Chef : ปลูก ชิม ปรุง และร่วมโต๊ะอาหารกับเชฟชุมชน ใน ‘สวนจักรพรรดิ์’ สวน ชุมชนแห่งใหม่ของย่านนางเลิ้ง - Community Mini Exhibition : นิทรรศการแสดงภาพถ่าย ‘ประวัติศาสตร์ จากความทรงจำ ของคนนางเลิ้ง’ ที่ได้จากกิจกรรม ‘ภาพเก่าเล่าเรื่อง’ ที่ชาวชุมชนร่วมกันแบ่งปันภาพและเรื่องราวร่องรอยใน อดีตถึงปัจจุบันและอนาคตของย่านนางเลิ้ง

.

.

จากนั้นมีการร่วมชมรำละครชาตรี Sartorial – เข้าเครื่องชาตรี ครูกัญญา ทิพโยสถ ครูนางรำชาตรีแบบดั้งเดิม ท่านสุดท้ายซึ่งเป็นต้นตระกูลผู้นำละครชาตรีดัดแปลงจากการรำโนราห์มาพัฒนาการรำในกรุงเทพฯ จนเป็นที่นิยมและมีการนำไปแสดงในงานสมโภชน์ต่าง ๆ และในประเทศเพื่อนบ้าน แต่เมื่อรูปแบบความบันเทิงในสังคมไทยเปลี่ยนไปตามกาลเวลา พื้นที่ในการแสดงออกซึ่งศาสตร์และวัฒนธรรมไทยที่ลดน้อยลงจนเหลือแต่เพียงการจ้างรำบวงสรวงจึงทำให้วัฒนธรรมที่หาชมได้ยากนี้กำลังถูกลบเลือนไป ซึ่ง Sartorial หมายถึงการตัดชุดสูทที่ให้พอดีกับตัวผู้ใช้ เช่นเดียวกับการสวมใส่ที่ พอดีกัน ครูผู้สอนการรำจึงจำเป็นที่จะต้องสอนให้ศิษย์มีท่าทางถูกต้องทุกกระบวนเสมือนการสวมเสื้อผ้าที่ได้ขนาดไม่ใหญ่ ไม่เล็ก ไม่สั้น ไม่ยาวเกินไป งานศิลปะฉาก Satorial เป็นการสะท้อนภาพของชุมชนนางเลิ้งที่แม้จะเป็นชุมชนที่ไม่ร่ำรวยแต่กลับอุดมและเป็นสถานที่ที่ดำรงไปด้วยศิลปะวัฒนธรรมของชาติ การจัดงานเทศกาลออกแบบกรุงเทพในครั้งนี้ได้ร่วมทำงานกับชุมชนนางเลิ้งได้ นำเอารากฐานวัฒนธรรมของไทยมานำเสนอผ่านการออกแบบจากนักออกแบบ คุณรัฐ เปลี่ยนสุข และทีม Sumphat Gallery นักออกแบบวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อสร้างพื้นที่และประสบการณ์ใหม่ผ่านท่วงท่าและเสียงดนตรี พร้อม Projection Mapping ท่ามกลางบรรยากาศชุมชนดั้งเดิมซึ่งเป็นแหล่งพำนัก ของศิลปินนักดนตรีไทยและนางรำ

.

.

ปิดท้ายที่การชมงานไฟ ครูเทพ Enlighten Nangloeng การจัดแสดงแสงบนสถาปัตยกรรมของโรงเรียนสตรีจุลนาค โรงเรียนเก่าแก่ในย่านนางเลิ้ง เพื่อสื่อสารถึงเรื่องราวและประสบการณ์ของผู้เยี่ยมชม แต่ละคนในยุคสมัยที่ยังใช้ชีวิตในโรงเรียน โดยใช้แสงในการสร้างประสบการณ์ใหม่กับสถาปัตยกรรมและอัตลักษณ์ต่าง ๆ ของความเป็นโรงเรียน การจัดแสดงแสงไฟ ยังสื่อถึง ครูเทพ หรือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี บุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์การพัฒนาการศึกษา หนึ่งในผู้ริเริ่มการเกิดขึ้นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้วางรากฐานกฎหมายการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ก่อตั้งกรมพละและการกีฬาแห่งประเทศไทย ทั้งยังประพันธ์เพลงคุ้นหูอย่างกราวกีฬา และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนสตรีจุลนาค

.

 

.

กิจกรรมที่เกิดขึ้นครั้งนี้ยังมีการจัดต่อเนื่องจนถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ นี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/communitylab.co

#แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ #สสส #อีเลิ้ง #นางเลิ้ง #วิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม #สื่อศิลป์SE #วิสาหกิจชุมชน

 

 

"นางเลิ้ง" เป็นชื่อที่ใคร ๆ ต่างเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นย่านที่มีของอร่อย ๆ มากมายใน “ตลาดนางเลิ้ง” มีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทั้งวัด ทั้งสถาปัตยกรรมต่างคนต่างให้คำนิยามตามที่เคยได้ยินได้เห็นผ่านสื่อต่าง ๆ หรือเคยได้แวะมาท่องเที่ยว แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นด้วยความดั่งเดิมของนางเลิ้ง ทำให้มีมิติที่หลากหลาย และสามารถใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึมซับความเป็นนางเลิ้งได้ด้วย “SENSE OF NANG LOENG”

  • Sartorial  นักออกแบบ : รัฐ เปลี่ยนสุข การแสดงรำชาตรี ความบันเทิงที่เคยได้รับความนิยมในสมัยก่อน แต่เมื่อรูปแบบความบันเทิงในสังคมไทยเปลี่ยนไป พื้นที่ในการแสดงออกซึ่งศาสตร์และวัฒนธรรมไทยจึงค่อย ๆ เลือนลางลง การนำมาแสดงในครั้งนี้เสมือนหวนรำลึกถึงความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมในอดีตอีกครั้ง
  • Trok Khun Loeng : ตรอกคุณเลิ้ง  นักออกแบบ : จูน เซคิโน  การจัดงานแสดงโดยใช้พื้นที่ในชุมชนให้เป็นพื้นที่กิจกรรมสาธารณะชั่วคราวด้วยสิ่งที่สามารถพบปะได้ทั่วไปในตลาดนางเลิ้งไม่ว่าจะเป็นลังพลาสติก ปี๊บขนม หรือสีสันของงานผ้าเพื่อเป็นตัวแทนของการบอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนแปลงไปของชุมชนนางเลิ้ง
  • SCENE OF LIGHT - SCENE OF LIFE  นักออกแบบ : ขวัญพร บุญนาค  การจัดแสดงด้วยเทคนิคการจัดแสงโดยใช้พื้นที่ว่างในชุมชน ให้เกิดพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ต่อเนื่องจากกลางวันตลอดจนกลางคืนซึ่งทั้งสองช่วงเวลามีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน
  • NANG LOENG MEMORY WALL นักออกแบบ : ชานนท์ วาสิงหน   การจัดแสดงด้วยมรดกที่ตกทอดจากบรรพบุรุษของแต่ละครอบครัว จนกลายเป็นมรดกของชุมชนและของชาติ มาเล่าเรื่อง ด้วยการหมุนวัตถุให้เห็นความงดงามผ่านการเคลื่อนไหว และถ่ายทอดความงดงามในอดีตจนถึงเรื่องราวที่มีเสน่ห์ในด้านต่าง ๆ ของความเป็น “นางเลิ้ง”
  • JUB JIB JAB JAI : จุบจิบจับใจ  นักออกแบบ : อุฬารพัชร นิธิอุทัย - Amy Nithi Studio  การสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ใส่อาหารที่เหมาะกับนักกินเห็นของอร่อยเรียงราย อยากกินไปเสียทุกอย่างแต่กระเพาะมีจำกัด จึงจัดสรรอาหารแต่ละอย่างที่เราเลือกได้มาในปริมาณที่เหมาะสม และยังเดินไปกินไปได้อีกด้วย
  • KINPLOEN…LEARNLOENG : กินเพลิน…เลินเลิ้ง  นักออกแบบ : สุถี เสริฐศรี ดารณี อาจหาญ   การรังสรรค์เมนูใหม่ จากเมนูดั่งเดิมที่เราต่างคุ้นเคยทั้งคาวและหวาน ผสมผสานกันอย่างกลมกล่อมให้ความรู้สึกแปลกใหม่ที่น่าลิ้มลอง
  • Community Art  นักออกแบบ : สุวัน แววพลอยงาม – Suwan Welployngam   และอีเลิ้ง | E-Lerng Group : Artists Collective สร้างสรรค์เทศกาลงานออกแบบนี้ด้วยการร้อยเรียงศิลปะ ชุมชน และเมือง เพื่อฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรมและกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาดีได้อย่างยั่งยืน ผ่านการร่วมมือระหว่างคนในชุมชน ศิลปิน และผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ซึ่งงานแสดงนี้ยังมีกิจกรรม และนิทรรศกาลย่อยอีกหลายรายการให้ติดตาม



ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]