รายงานพิเศษ: ทำอย่างไรให้นักเขียนเป็นโรงเรียนของสังคม - เนชั่นสุดสัปดาห์

หมวดหมู่ รายงานพิเศษ , โดย : admin , 13 พฤษภาคม 60 / อ่าน : 1,884


 
รายงานพิเศษ: ทำอย่างไรให้นักเขียนเป็นโรงเรียนของสังคม

 
          สมชัย คำเพราะ
          เพราะคนเข้าถึงสื่อ โดยเฉพาะ สื่อออนไลน์ได้ง่าย ในโลกของ internet of thing ทำให้ทุกเพศ-ทุกวัย สามารถเลือกสิ่งที่ตัวเองสนใจได้จากสังคมออนไลน์ แม้จะมองว่าเป็นโอกาส ในเสพสื่อ แต่ก็เป็นผลร้าย หากคนเลือกเสพและเลือกใช้สื่อไม่เป็น โดยเฉพาะเด็กเยาวชน
          จะดีไปกว่านั้น หากคนที่มีอาชีพ เป็นคนผลิตสื่อ ทั้งนักข่าว นักเขียน  นักสื่อสาร ผลิตหรือเขียนสื่อ แล้วนำไปอยู่ในอากาศ ที่ใครๆ สามารถดึงข้อมูลมาดู มาใช้ ได้สะดวก และบุคคลที่ผลิตสื่อเหล่านั้นเห็นถึงความสำคัญของตนเอง โดยเน้นผลิตสื่อที่เป็นประโยชน์เพื่อให้คนที่เลือกใช้ได้เสพสื่อที่ดี นำไปสู่การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงสังคมได้ ยิ่งจะเกิดประโยชน์ในวงกว้าง
          โดยเฉพาะในแวดวง นักคิด นักเขียน ที่ผลิตงานเขียนอย่างสม่ำเสมอ และหลายคนเลือกที่จะสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์ มีสาวก มีแฟนคลับมากมาย หากนักเขียนเหล่านี้นำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดี เพราะนักคิด นักเขียนเหล่านี้ถือเป็นบุคลากรที่สำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เสพได้
          จึงเป็นที่มาให้ สโมสรนักเขียนภาคอีสาน ได้จับมือกับ มูลนิธิสร้างเสริมศิลปวัฒนธรรมภาคประชาชน ภายใต้โครงการ สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม จัดเสวนาในหัวข้อ "ทำอย่างไรให้ นักเขียนเป็นโรงเรียนของสังคม" ขึ้น เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560 ณ โรงแรมพิมานการ์เด้น จ.ขอนแก่น
          โดยในเวทีเสวนานั้น ได้มีผู้ที่เกี่ยวข้องกับแวดวงการอ่าน การเขียน ไม่ว่าจะเป็น นักวิชาการที่สอนเกี่ยวกับวรรณกรรม นักเขียน พระสงฆ์ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ ประกอบด้วย สมคิด สิงสง, ปราโมทย์ ในจิต, ผศ.ดร.มารศรี สอทิพย์, พระครูธรรมาภิสมัย ดอกเตอร์, ผศ.ดร.บัญชา เกียรติจรุงพันธุ์, ผศ.ดร.ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, ครูรจนา อินทร์เหล่าใหญ่,  ครูอภิชาติ คำวิเลิศ ฯลฯ รวมกว่า 50 คน  ซึ่งแต่ละคนได้นำเสนอความคิดเห็นของตนออกมาอย่างกว้างขวางและน่าสนใจ
          บทสรุปจากเวทีเสวนานั้น พอสรุปได้ว่า ปัจจุบันในระบบการศึกษาไทย การสร้างวัฒนธรรมการอ่านยังอยู่ในกรอบคิดที่เป็นเนื้อหาเดียวกัน ที่มุ่งเน้นไปในหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการแข่งขัน และไม่ได้สร้างการอ่านเพื่อให้เกิดกระบวนการคิดในทางสร้างสรรค์ ขาดการสอนในเชิงสร้างสรรค์หลักสูตรไม่เอื้อต่อผู้เสพและนักเรียน นักเรียนไม่อ่านงานวรรณกรรม เพราะภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร อ่านยาก เนื้อหายืดเยื้อและในบันทึกรักการอ่านของนักเรียนเป็นเรื่องห่างไกล เพราะส่วนใหญ่เด็กไม่อ่านหนังสือเวลาทำงานส่งครูหรืออาจารย์จะลอกกัน ทำให้ไม่ได้เกิดสำนึกรักการอ่านอย่างแท้จริง และ นำไปสู่วิกฤติวรรณกรรมศึกษา ซึ่งครูหรืออาจารย์เองไม่อ่านงานเขียนวรรณกรรม แต่ให้ทำหน้าที่ในการสอนวรรณกรรม และงานเขียนจะถูกจำกัดสิทธิในการสื่อสารต่อสังคม โดยกฎหมายของรัฐ  ทำให้สิทธิในการเสนอข้อมูลข่าวสาร นโยบายของรัฐ และควบคุมปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร พฤติกรรมการ ใช้สื่อเสรี
          นอกจากนั้นในเวทีเสวนา มีความคาดหวังว่านักเขียน คือผู้สร้างสื่อสร้างสรรค์ คือผู้สร้างพื้นที่ในการสื่อสาร เช่น  โซเชียลมีเดียสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น นักเขียนคือผู้สร้างสารที่สร้างสรรค์  มีอุดมการณ์และกลวิธีการนำเสนองานเขียน  และนักเขียนคือผู้เยียวยาสังคมคุณธรรม จริยธรรม และปลูกฝัง



เมล็ดพันธุ์โดยใช้ต้นทุนในคลังข้อมูลที่มีอยู่ในภูมิภาคหรือท้องถิ่นของตนเอง   ไม่ว่าจะเป็นมรดกทางภูมิปัญญาวิถีวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ศาสนา ฮีต-คองประเพณี สมุนไพร  การอ่านเขียนอักษรตัวธรรมที่จารึกไว้ในใบลานหรือในคำภีร์โบราณ  หรือตัวอักษรที่เป็นตัวสักยันต์ตามร่างกายของคนสมัยก่อนเป็นสารในการเล่าเรื่องและใช้ความรู้ความสามารถในการสร้างวิธีการสื่อสารเพื่อขับสู้กับสังคมบริโภคนิยมเสรีนิยม
          ดังนั้น  นักเขียนคือผู้เป็นพ่อ-แม่ของหนังสือ และ นักเขียนต้องเป็นบุคคลต้นแบบในสังคมได้ด้วย เพราะงานเขียนสร้างอารมณ์ได้ทั้งบวกและลบ จึงต้องทำหน้าที่สื่อสารกับสังคม สร้างสังคมคุณธรรมนำความรู้ และความรู้คู่คุณธรรม
          นักเขียนควรปรับรูปแบบและเนื้อหาให้ทะลุถึงกลุ่ม เป้าหมาย  งานเขียนที่สื่อสารออกจึงควรมีเนื้อหาที่ตระหนักถึงความรู้สึกร่วมในเรื่องส่วนรวม ทั้งในการเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อมนำสู่ผู้อ่านให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ ทำให้เกิดคุณค่าเชิงคุณธรรม จริยธรรม จิตวิญญาณ เน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ค่านิยม ทัศนคติที่สร้างสรรค์  มีคุณค่าน่าสนใจ ในยุคปัจจุบันเมื่อใครเขียนงาน ก็สามารถเป็นนักเขียนได้และมีคนกล้าเขียนมากขึ้นโดยเฉพาะในสื่อออนไลน์ มีคนตอบรับโดยเข้ามาอ่านหรือเสพมากขึ้น แม้เนื้อหาที่นำเสนอจะออกไปในแนวเรื่องศาลาคนเศร้า ที่กระทบกับความรู้สึกของคนและได้เสนอรูปแบบการเขียน ผญา เน้นความรู้ แนวคิด ค้นคว้าแบบอย่างการดำเนินชีวิต ซึ่งสะท้อนเจตนาและความจริงใจถึงเนื้องานที่จะสื่อสาร จนทำให้คนทั่วไปเสพงานเขียนได้มากมาย
          สำหรับการผลิตสื่อหนังสือเล่ม  มีบรรณาธิการ แต่สื่อออนไลน์เน้นความรวดเร็ว ไม่มีบรรณาธิการในการพิจารณากลั่นกรองงานเขียนทำให้ขาดมาตรฐาน  การใช้รูปแบบสื่อออนไลน์ นักเขียนต้องทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการไปด้วย ยอมรับและใช้สื่อออนไลน์ให้เป็น แต่ไม่ควรทิ้งสื่อสิ่งพิมพ์และภาษาที่ใช้ต้องแยกให้เห็นชัดว่าเป็นภาษาพูด หรือภาษาเขียน
          เมื่อนักเขียนที่ได้รับรางวัลเนื้อหา ในงานเขียนตอบโจทย์ได้เฉพาะผู้อ่านบางกลุ่มจึงเห็นว่ารางวัลคือกำแพงกั้นในการเข้าถึงสื่อที่สร้างสรรค์โดยคนอ่านจะมุ่งไปอ่านงานเขียนที่ได้รับรางวัล  จนไม่อ่านงานเขียนที่ไม่มีรางวัล  ทั้งที่งานเขียนนั้นก็มีเนื้อหาที่ไม่ด้อยไปกว่างานเขียน ที่ได้รับรางวัล
          ดังนั้น งานเขียนที่ได้รางวัล และงานเขียนที่ไม่ได้รางวัล จึงควรเป็นต้นแบบ และคุณค่าในงานเขียนนั้น ต้องได้รับการส่งต่อ และต้องสามารถสร้างความยอมรับของผู้อ่านที่กระชับ รวดเร็ว
          ผศ.ดร.เจริญชัย ชนไพโรจน์ นักวิชาการด้านสื่อดนตรีพื้นบ้านสะท้อนว่า  นักเขียนต้องเปิดใจให้กว้าง อย่ายึดมั่นถือมั่นในโลกแห่งอัตตา ทำตนให้เป็นคนมีจิตอาสา เข้าใจในความหลากหลายในวิถีของผู้คนในสังคม ควรสำรวจตัวเองว่า แต่ละท่านมีอะไรดี ที่สังคมอยากได้ ที่เขาต้องการ ถ้านำสิ่งที่เขาไม่ต้องการไปให้ก็ไร้ประโยชน์ อีกประการหนึ่งนักเขียนต้องมีวิธีการในการหยิบยื่นสิ่งเหล่านั้นให้แก่สังคม ว่าจะให้อะไร ให้ใคร ให้ที่ไหน ให้เมื่อไร และให้อย่างไร และสิ่งที่จะนำไปให้สังคมนั้น เป็นของดีมีค่าจริงหรือไม่
          ในขณะที่ อาจารย์มาริสา พละสูรย์นักวิชาการศึกษานิเทศก์ ให้ทัศนะว่า  จงอย่าคิดว่าใครก็เป็นนักเขียนได้เพียงเพราะมีผลงานเขียนผ่านสื่อออนไลน์ แล้วคนเข้าถึงได้ง่ายเพียงลัดนิ้วเดียว  คุณเขียนอะไร ชี้นำยัดเยียดก่นด่า  หรือว่าเอาแต่อวยแสวงหาสาวก และมีคนไปติดตามอ่านแล้วก็เรียกตัวเองว่าเป็น นักเขียน
          เพราะฉะนั้นผลงานที่สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์แก่ตัวบุคคลหรือสังคมจึงจะเรียกว่า นักเขียนเป็นโรงเรียนของสังคม จึงขอให้มาเขียนเรื่องดีๆ อ่านแล้วมี ความสุข มีความรู้ มีแนวคิด มีแรงบันดาลใจให้คนอ่าน  ถึงอย่างไรนักเขียนนั้นก็เปรียบเสมือนโรงเรียนโรงหนึ่ง อยู่แล้ว

 

 

เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2560



ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]