สถานีคิดเลขที่ 12: 3 มิวสิค : เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ - มติชน

หมวดหมู่ รายงานพิเศษ , โดย : admin , 12 พฤษภาคม 60 / อ่าน : 2,354


คอลัมน์ สถานีคิดเลขที่ 12: 3 มิวสิค (เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)

 
          สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร
          คำพาดปก "มติชนสุดสัปดาห์" "อยากลืมกลับจำ"นำไปสู่ อารมณ์(อยากฟัง)เพลง ขึ้นมา 3 เพลงเพลงแรก แน่นอนอยู่แล้ว ต้อง "อยากลืมกลับจำ" ของ สุรพล โทณะวณิก ทั้งเวอร์ชั่น เดอะฮอตเปปเปอร์ รวมทั้งเวอร์ชั่นของ ญารินดา ที่เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ ความจำสั้น แต่รักฉันยาว
          "บางสิ่งที่อยากจำเรากลับลืมบางสิ่งที่อยากลืม เรากลับจำคนเรานี้ คิดให้ดีก็น่าขำอยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำอยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ..."(เนื้อเพลงจาก https://www.siamzone.com/music/thailyric/1478)นี่เป็นสัจธรรม ที่เตือนใจดี ทั้งในแง่ปัจเจกและในแง่สังคมนั่นคือ สิ่งที่เราพยายามลืม หรือ มีผู้พยายามทำให้ "สังคม" ลืมอะไรบางอย่างแต่เอาเข้าจริง เรา หรือ สังคม กลับ "จำ" สิ่งนั้น อย่างไม่ลบเลือนดังนั้นแม้อาจมีใครขโมยเอาบางสิ่งไป แต่เอาเข้าจริงก็คงขโมย "ความทรงจำ" ของเรา หรือสังคมไปไม่ได้
          เพลงที่สอง เพลงประวัติศาสตร์ ของ คริสติน่า"...ไม่มีใครเป็นผู้นำ ไม่มีใครเป็นผู้ตามเพราะเราจะเคียงกันไปประวัติศาสตร์ที่แล้วมา จะถูกจดบันทึกใหม่คงไม่มีอย่างนั้นอีกมันโบราณ มันออกจะโบราณมันไม่เป็นรุ่นใหม่มันโบราณ มันออกจะโบราณ
          โลกมันเปลี่ยนแปลง ไปแล้ว
          ประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำ
          ประวัติศาสตร์จะต้องเปลี่ยน
          เปลี่ยนไปเป็นฉันและเธอเท่าเทียมกัน
          ประวัติศาสตร์ในวันนี้ จะแตกต่างจากวันนั้น
          รักของเราจะทันสมัย..."
          (เนื้อเพลงจาก https://meemodel.com/)
          แม้จะเป็นเพลงรัก แต่ก็เป็น รักที่ร้ายกาจ



          ร้ายกาจเหมือนการที่มีผู้พยายามจะดึงประวัติศาสตร์บางเรื่องออกไป
          ซึ่งวิธีดังกล่าวมัน โบราณ ไปแล้ว อย่างคริสติน่า เธอว่าประวัติศาสตร์ต้องเปลี่ยน เปลี่ยนไปเป็น "ฉันและเธอเท่าเทียมกัน"--อันเป็นพื้นฐานของประชาธิปไตยที่ถูกปูทางไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2475 ต่างหาก
          เพลงที่สาม "คนทำทาง" ของ ต้นกล้า วงดนตรีไทยเพื่อชีวิต ก่อน 6 ตุลาคม 2519 ซึ่ง เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ คงจำได้ดี เพราะเป็นผู้แต่ง
          "ประวัติศาสตร์ อาจมี ในหลายด้าน     แต่คนที่ทำงาน ไม่เคย จะเอ่ยออกนามคนที่แบกหามลุยน้ำลุยโคลน คนที่สรรสร้างจากป่าเป็นเมืองรุ่งเรืองงามเพียงเวียงวังด้วยเลือด ด้วยเนื้อ ของคนทำทาง      ถางทาง ตั้งต้น ให้คนต่อไปจากป่าเปลี่ยว เที่ยวไป ในทุกถิ่น      ดังโบกโบยบิน พื้นดิน เป็นถิ่นอาศัยหนาวเหน็บเจ็บใจ ภัยร้ายนานา ชีวาว้าเหว่   เช้าค่ำจำเจ เร่ไป ให้คนเดินตามทุกย่างเท้าเขา เหมือนเงา เรืองราม      ฝังนาม ฝังร่าง อยู่กลาง แผ่นดิน ฯ (ข้อมูลจาก PANTIP.COM : C4951973 หนูรักเพลงปฏิวัติ [เพลงเพื่อชีวิต] topicstock.pantip.com/chalermkrung/topicstock/2006/12/C4951973/C4951973.html)
          ทีเด็ดทีขาด ที่ทำให้ "คนทำทาง" ผุดขึ้นมาให้คิดถึงก็คงเป็น วรรคแรก ของเพลง
          "ประวัติศาสตร์ อาจมี ในหลายด้าน"
          ใช่แล้ว ประวัติศาสตร์หนึ่ง อาจมีมุมมองหลายมุมสอดคล้อง หรือแตกต่าง กันได้เสมอซึ่งในความเป็นประชาธิปไตย สามารถอภิปรายถกเถียง โต้แย้งกันได้อย่าง "เสรี"ไม่ควรเป็นอย่างที่ "สุจิตต์ วงษ์เทศ" เขียนไว้ใน "มติชนออนไลน์" เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2560 ว่า"ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องทักท้วงถกเถียงกันได้ ไม่มีข้อยุติแต่ไม่จำเป็นต้องทำลายหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดีที่เป็นสมบัติสาธารณะ ไม่ว่าทำด้วยฐานความคิดแบบใด?"
          ฟังเพลงเพราะๆ แล้ว โปรดไตร่ตรองด้วยหัวใจอันเบิกบานเถิด



มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560


ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]