เคยจี (น้ำชุบพรก)
เมื่อกล่าวถึงอาหารไทย เมนูน้ำพริกจะนึกถึงมาเป็นอันดับต้น ๆ น้ำพริกเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่อยู่คู่ครัวไทยและวัฒนธรรมการบริโภคของคนไทยมาอย่างช้านาน มีความสัมพันธ์กับสภาพความเป็นอยู่ของคนในแต่ละภาคของประเทศไทย รวมถึงทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคเหนือ ก็จะมีน้ำพริกหนุ่ม ภาคอีสานเป็น แจ่วบองปลาร้า ภาคกลางเป็น น้ำพริกลงเรือ ภาคใต้เป็น น้ำชุบพรก เป็นต้น ในบทความนี้จะพาทุกท่านล่องใต้ไปรู้จัก น้ำชุบพรก น้ำพริกอันเป็นเอกลักษณ์ของทางใต้
น้ำชุบพรก ในภาษาไทยเรียกน้ำพริกกะลา ซึ่งถิ่นใต้จะเรียกน้ำพริกว่า “น้ำชุบ” ส่วนกะลาเรียกว่า “พรก” มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ เคย (กะปิ) และมีกรรมวิธีการประกอบอาหารด้วยการ จี หรือจี่ ชาวใต้ในพื้นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในชื่อ “เคยจี” เป็นวิธีถนอมอาหารจากภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อให้เก็บไว้ได้นานและยังคงรสชาติเดิมอยู่ด้วยการนำไปย่างกับไฟให้แห้ง ถือเป็นอาหารประจำถิ่นใต้ ที่คนยุคก่อนประยุกต์ไว้บริโภคในครัวเรือนอีกทั้งเมื่อต้องเข้าป่าเข้าไร่ห่างไกลจากบ้าน จึงมีการคิดทำน้ำพริกที่อยู่ได้นาน พกติดตัวสะดวก จากวัตถุดิบใกล้ตัวอย่างกะลามะพร้าวที่มีทั่วไปในภาคใต้
สูตรอาหาร เคยจี (น้ำชุบพรก) ของชาวเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เมนูนี้ถือว่าค่อนข้างลำบากในการเตรียมอุปกรณ์ในการทำน้ำพริก โดยเริ่มจากขูดเนื้อมะพร้าวในกะลาและเจียกะลาด้านนอกให้เกลี้ยง นำกะลา หรือพรก เผาไฟเล็กน้อยและตากแดดจนแห้ง มาถึงขั้นตอนการเตรียมส่วนผสม (ไม่มีสูตรตายตัว) ประกอบด้วย พริกขี้หนูสวน หอมแดง กระเทียม เนื้อมะพร้าวขูด กะปิเคย กุ้งแห้ง น้ำตาลแว่น (ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำตาลโตนด) และน้ำสะอาด
ขั้นตอนการทำ
น้ำชุบพรก นับว่าเป็นน้ำพริกคู่บ้านของชาวใต้และมีหลายชนิด ทั้ง น้ำชุบพรกใบทำมัง น้ำชุบพรกแงดา น้ำชุบพรกกะปิ สามารถทานร่วมกับผักสด ผักลวก รวมไปถึงไข่เจียว หรือจะหยำกับข้าวสวยร้อน ๆ ก็ยังคงให้ความอร่อยได้เช่นกัน
เกร็ดความรู้
ที่มา https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_128415
ความแตกต่างของกุ้ง กับ เคย คือ ขนาดของตัวกุ้งกับตัวเคยจะต่างกันที่ลักษณะของหัวและลำตัว โดยกุ้งจะสามารถแยกส่วนที่เป็น คาง (คือ ทรวงอก) ออกจากส่วนที่เป็นหัวกุ้งได้ ในขณะของตัวเคยจะไม่สามารถแยกส่วนที่เป็น คาง ออกมาได้
อ้างอิง
นิรมล ยุวนบุณย์ และคณะ. (2522). น้ำพริก ฐานทรัพยากรอาหาร วิถีชุมชน ภายใต้กระแสยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ. พิมพ์ดีการพิมพ์.
นันทนา วงษ์ไทย. (2559). การเรียกชื่อน้ำพริกใน 4 ภาค : ภาพสะท้อนความเป็นอยู่และวัฒนธรรมไทย. วารสารศรีนครินทร์วิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(16),89 และ 95.
พระครูภาวนาจันทคุณ (กรีฑา จนฺทสาโร) และคณะ. (2565). เคยจีกะลา (กะปิปิ้ง) วิถีอาหารและการกินภาคใต้ ว่าดัวยการเชื่อมสัมพันธ์และมิตรภาพ. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 5(1).
เทคโนโลยีชาวบ้าน. เคยจี่ (กะปิปิ้ง) เมนูเด็ดคนใต้. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_128415
krua.co. น้ำชุบพรก ของอร่อยในกะลาจากแดนใต้. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2567. จาก https://krua.co/food_story/grilledcoconutspicydip
Mgronline. ชวนชิม! “น้ำชุบพรก” เมนูเด็ดเมืองลุง ปรุงสด ๆ เปิดขายอาทิตย์ละครั้งเท่านั้น. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2567. จาก https://mgronline.com/south/detail/9590000094176.
แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)
128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]