นายบุญสม สังข์สุข
บุคคลต้นแบบ รางวัล “ภูมิวัฒนธรรมแผ่นดิน”
สาขาภูมิพลังวัฒนธรรม (Soft Power)
มอบโดย : คณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา
นายบุญสม สังข์สุข เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการแสดงเพลงโคราชและใช้ภาษาโคราช ประพันธ์กลอนเพลง สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดนครราชสีมาได้เป็นอย่างดี ซึ่งที่ผ่านมานายบุญสม สังข์สุข ได้สร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์ไว้มากมาย อาทิ เช่น เพลงโคราชดั้งเดิม เพลงโคราชประยุกต์ เพลงแหล่ เพลงพื้นบ้านช้าโกรกลาก ไม้ รวมถึงยังสามารถประพันธ์เพลงที่ใช้เป็นสื่อสร้างสรรค์ในโครงการ และโอกาสต่าง ๆ ดัง รายละเอียดต่อไปนี้
การสร้างสรรค์ผลงานและแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ด้านศิลปะการแสดง การสร้างสรรค์ผลงาน การประพันธ์กลอนเพลงโคราช บทเพลงแหล่ เพลงลูกทุ่ง และ เพลงพื้นบ้านอื่น ๆ เกิดจากแรงบันดาลใจ เนื่องจากเมื่อประมาณปี 2543 เกิดโรคเล็ปโตส ไปโรซีสหรือโรคไข้ฉี่หนู นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก เป็นสาธารณสุขจังหวัด นครราชสีมา เล็งเห็นว่าเพลงโคราชสามารถเป็นสื่อกลาง ในการประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้าน เกิดความรู้และรู้จักป้องกันโรคด้วยตนเอง จึงให้หมอเพลงช่วยรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้ ความรู้กับชาวบ้านเรื่องระวัง ป้องกัน บอกเล่าอาการของโรค และการรักษาโรค ดังนั้น จึงให้ หมอเพลงแต่งเพลง ลงพื้นที่ร่วมแสดงให้กับ อสม.และชาวบ้านชม ทำให้ชาวบ้านสนใจรับ ฟัง ชม อย่างสนุกสนานได้ความรู้ หลังจากนั้นก็ทำเรื่องโรคพิษสุนัขบ้า โรคท้องร่วง ต่อมาก็ ได้เข้าร่วมโครงการ กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.เพื่อใช้เพลงโคราชรณรงค์เรื่องเหล้าบุหรี่ การออกกำลังกาย ในโครงการสื่อพื้นบ้านสานสุข โครงการ โคราชวัดปลอดเหล้า ได้ทำสื่อเพลงโคราชชุด เลิกเหล้าเพราะลูก ในปี 2548 : นับว่าเป็น บทเพลงเด่น : เพราะทำให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถ เลิกละอบายมุขได้ ด้วยจิตสำนึกที่ว่า เรารณรงค์ให้เขาเลิกเหล้าแต่ตัวเรายังกินอยู่ มันขัดความรู้สึกจึงตัดสินใจละเลิกเหล้าบุหรี่เป็น การเชื่อมร้อยเครือข่ายการแสดงพื้นบ้านทั่วประเทศ หลังจากนั้นก็ได้เข้า ร่วมกิจกรรม กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเรื่อยมา และได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาภาคประชาชนศูนย์ อนามัยที่ 5 (ปัจจุบันเป็นศูนย์อนามัยที่ 6) เป็นคณะอนุกรรมการสำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เขต 6 สปสช. เขต 6 นครชัยบุรินทร์ ปัจจุบันเป็นคณะกรรมการ สปสช.กอง ทุนระดับพื้นที่ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองนครราชสีมา
จากสถานการณ์ทางสาธารณสุข จึงทำให้เห็นแนวทางในการประพันธ์เพลงที่ทำให้ เกิดประโยชน์ กับสังคม และสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ผู้รับชม รับฟัง เกิดความสนุกสนาน จึง เป็นจุดเริ่มต้นของแนวทาง การนำศิลปะการแสดงเพลงโคราชเชื่อมโยงสู่ชุมชน และทำให้ หน่วยงานภาครัฐเห็นประโยชน์ รูปแบบหนึ่ง พร้อมทั้งเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการแสดงพื้นบ้านอีกรูปแบบหนึ่ง
การสร้างสรรค์ผลงานการแสดง ที่ชี้คุณค่าผลงานและความมีเอกลักษณ์เฉพาะตนผลงานสร้างสรรค์ ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของนายบุญสม สังข์สุข คือ การผสานดนตรี พื้นบ้านอีสานประกอบการแสดง หรือใช้เครื่องประกอบจังหวะ ประกอบการแสดงในแต่ละช่วงอีกประเด็น คือความสามารถในการประพันธ์ บทกลอน บทเพลง ที่เป็นเอกลักษณ์ คือ เนื้อหาจะทันสมัยเข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน พร้อมทั้งสอดแทรกความรู้ คุณธรรม ศีลธรรม ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม ปรัชญา เป็นการเสริมความรู้และพัฒนาสติปัญญามุ่งให้เกิดความเข้าใจอันดีในสังคม ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ซึ่งผลงานสามารถแบ่งออกเป็น 8 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมประเพณี 2. ด้านการศึกษา 3. ด้านสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม 4. ด้านประวัติ 5. ด้านส่วนบุคคล และองค์กร 6. ด้านเศรษฐกิจและสังคม 7. ด้านเพลงเรื่อง 8. ด้านวันสำคัญและกิจกรรม
ผลงานทั้ง 8 ด้าน ดังกล่าว นายบุญสม สังข์สุข เป็นผลงานประพันธ์ สำหรับนำไปใช้ในแสดง ของตนเอง และมีบางบทเพลงที่แต่งให้ศิลปินท่านอื่นนำไป ทำการแสดง ในการถ่ายทอดให้กับหน่วยงาน องค์กร นักเรียน นักศึกษา และ ประชาชนทั่วไป ใช้เผยแพร่ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง ซึ่งนายบุญสม สังข์สุข เป็นผู้ จัดรายการเป็นประจำ อยู่ 2 สถานี ด้วยกัน คือสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย ประจำ จังหวัดนครราชสีมา และสถานีวิทยุมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย รวมถึงช่องทางสื่อ ออนไลน์ ได้แก่ เฟซบุ๊ก ไลน์ และ ยูทูบ ซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานการประพันธ์ นี้ บางส่วนจะเป็นผลงานที่ นายบุญสม สังข์สุข ประพันธ์ให้กับหน่วยงานราชการมา ขอให้แต่งให้เพื่อ นำไปใช่ในโอกาสต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์หน่วยงาน องค์กร โครงการกิจกรรม ประวัติโรงเรียน และบางท่านมาขอให้ประพันธ์ บทเพลงเพื่อการ นำเสนอโครงงานต่าง ๆ ด้วยเพลงโคราช การทำผลงานวิชาการเพื่อการศึกษา เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ ในส่วนของนักศึกษาที่ต้องสร้างผลงาน เพื่อนำเสนอหรือเพื่อสร้างสรรค์ผลงานด้าน ศิลปะนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ในการประพันธ์บทเพลงนี้นายบุญสม มิได้เรียกร้องค่าตอบแทนใด ๆ ซึ่งสามารถแยกเนื้อหาบทประพันธ์ทั้ง 8 ด้าน โดย สรุปเนื้อหาการประพันธ์เพลงโคราช ทั้ง 8 ด้าน จำนวนเรื่อง จำนวนกลอน จากปี พ.ศ.2543-2566 พร้อมบทกลอนเพลงโคราชเต็มกลอน ที่ประพันธ์ พ.ศ.2566 และโอกาส ที่นำไปใช้
รางวัลที่เคยได้รับ
-พ.ศ. 2555 รางวัลศิลปินพื้นบ้านอีสาน ประจำปี 2555 มอบโดยสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
-พ.ศ. 2552- รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นปูชนียบุคคลด้านภาษา รางวัลผู้ใช้ภาษาไทย ภาษาถิ่นดีเด่น ประจำปี 2552 มอบโดยสำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2552
-พ.ศ. 2553- รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นปูชนียบุคคลด้านภาษา รางวัลผู้ใช้ภาษาไทย ภาษาถิ่นดีเด่น ประจำปี 2553 มอบโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2553
-พ.ศ. 2554- รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ระดับประเทศ ด้านศิลปะ ประจำปี พ.ศ.2554
- รางวัลเชิดชูเกียรติ “ครูภูมิปัญญาไทย” รุ่น 3 ด้านภาษาและวรรณกรรม (ประพันธ์เพลง โคราชมอบโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
- รางวัลประกาศเกียรติคุณศิลปินพื้นบ้าน “ครูภูมิปัญญาการแสดงพื้นบ้าน เพลงโคราช” มอบโดยวิทยาลัยนครราชสีมา เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554
- พ.ศ.2557- โล่เกียรติคุณ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยนาฏศิลปะนครราชสีมา สถาบันบัณฑิตพัฒศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม 15 มีนาคม 2553
- พ.ศ.2557- โล่ศิลปินมรดกอีสานมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2 เมษายน 2553
- พ.ศ.2566-รับโล่รางวัลเพชรสาธร ในโอกาสสมโภชเมืองนครราชสีมา 555 ปี
- รับโล่รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)
128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]