ผศ.ดร.ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์
บุคคลต้นแบบ รางวัล “ภูมิวัฒนธรรมแผ่นดิน”
สาขาภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน
มอบโดย : คณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา
ผศ.ดร.ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์ เกิดปี พ.ศ.2513 จังหวัดอุบลราชธานี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทสาขาจิตรกรรม คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และระดับปริญญาเอก สาขาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทรงวิทย์สนใจและเชี่ยวชาญด้านศิลปะร่วมสมัย และมรดกภูมิปัญญาทางด้านวัฒนธรรมอีสาน
BACC Education Community
https://www.facebook.com/bacceducation/photos/a.345829955921205/346085985895602/?type=3
1.1 เป็นเลขานุการเครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนอีสาน ทำหน้าที่ประสานงานและดำเนินกิจกรรมร่วมกับแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานศึกษาธิการภาค 12 เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เทศบาลเมืองบ้านทุ่ม เทศบาลตำบลบ้านค้อ ฯลฯเพื่อสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และทุนทางศิลปวัฒนธรรมสู่การสร้างคุณค่า และมูลค่าในการพัฒนาชุมชน
ตัวอย่างโครงการที่ประสบผลสำเร็จ ดังนี้
- โครงการ เมือง 3 ดี วิถีสุข (พื้นที่ดี ภูมิดี สื่อดี) ร่วมกับ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พัฒนาพื้นที่ชุมชนสาวะถี เพื่อสร้างสำนึกชุมชน โดยการเรียนรู้รากเหง้าผ่านการฟื้นฟูคุณค่าฮูปแต้มเรื่องสินไซ วัดไชยศรี ประวัติศาสตร์ชุมชน ของดีชุมชน สถานที่สำคัญ ปราชญ์ชุมชน
- โครงการ Spark U ภาคอีสาน ร่วมกับ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สร้างการตื่นรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ประกอบด้วย กิจกรรมสร้างสำนึกชุมชนในการลดขยะ (ขอนแก่น) กิจกรรมสร้างการรับรู้ปัญหาด้านสังคมสิ่งแวดล้อม กรณีเหมืองทองคำ (เลย) กิจกรรมปลุกสำนึกชุมชนด้านเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารเคมีผ่านสื่อพื้นบ้าน(ร้อยเอ็ด)
- โครงการวิสาหกิจเพื่อสังคม (SE) ร่วมกับ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มในการนำต้นทุนทางวัฒนธรรมสู่การสร้างมูลค่าในทางเศรษฐกิจของชุมชน โครงการที่กำลังดำเนินการ คือ สาวะถีวิสาหกิจเพื่อสังคม
- โครงการสร้างการเรียนรู้ท้องถิ่น ร่วมกับ สำนักงานศึกษาธิการภาค 12 ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชน สถานที่สำคัญ ของดีชุมชน ปราชญ์ชุมชน ในพื้นที่ 4 จังหวัด 6 ชุมชน
- โครงการสร้างการเรียนรู้ของดีชุมชน ร่วมกับ เทศบาลนครขอนแก่น ดำเนินกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ต้นทุนด้านประวัติศาสตร์ ของดีชุมชน สถานที่สำคัญ ปราชญ์ชุมชน ในชุมชนเขตเทศบาลนครขอนแก่น เพื่อนำไปสู่การจัดการท่องเที่ยวชุมชน ที่ดำเนินการผ่านมา ประกอบด้วย ชุมชนบ้านศรีฐาน ชุมชนโนนทัน ชุมชนหนองใหญ่ และ ชุมชนโนนชัย
- โครงการสร้างการเรียนรู้ของดีชุมชน ร่วมกับ เทศบาลบ้านค้อ
- โครงการสร้างการเรียนรู้ของดีชุมชน ร่วมกับ เทศบาลบ้านทุ่ม (กำลังดำเนินโครงการ)
- เป็นคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรมในคณะกรรมาธิการ การศาสนา คุณธรรม จริยธรรมศิลปะ และวัฒนธรรมวุฒิสภา เพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาภูมิพื้นที่ศิลปวัฒนธรรม ภายใต้แนวคิดไตรภาคีศิลปวัฒนธรรม 4 ภูมิภาค
- เป็นคณะกรรมการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของจังหวัดขอนแก่น เพื่อศึกษา คัดเลือก และจัดเก็บข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น
ตัวอย่างโครงการที่ประสบผลสำเร็จ ดังนี้
พ.ศ.2558
- หัวหน้าโครงการ สินไซ โมเดล # 2 บ้านสาวะถี โดยการสนับสนุนของ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนกาณสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พ.ศ.2560
- หัวหน้าโครงการ การขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัด ๓ ดี วิถีสุข ระดับพื้นที่ : บ้านสาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยการสนับสนุนของ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พ.ศ.2562
- หัวหน้าโครงการ ฮูปแต้มอีสาน : สื่อศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาเยาวชนและชุมชนตำบลดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม โดยการสนับสนุนของ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พ.ศ.2563
- หัวหน้าโครงการ ติดตามประเมินผล อีสานม่วนสุข 5+1 โดยการสนับสนุนของ แผนงานสื่อศิลป วัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พ.ศ.2564
- หัวหน้าโครงการ สินไซ : ทุนวัฒนธรรมสู่การสร้างสุขภาวะ โดยการสนับสนุนของ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พ.ศ.2565
- หัวหน้าโครงการ สินไซ ศิลป์สุข สู่การสื่อสารสาธารณะ พ.ศ.2565 โดยการสนับสนุนของแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- หัวหน้าโครงการ สินไซ : ทุนวัฒนธรรมสู่การสร้างสุขภาวะต่อสาธารณชนในวงกว้าง ภาค ๒ โดย การสนับสนุนของแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- หัวหน้าโครงการ การพัฒนาศักยภาพบุคคลที่มีภาวะออทิซึมด้วยกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมสินไซโดยการสนับสนุนของ กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดขอนแก่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด ขอนแก่น
3.1 ด้านการวิจัย
- การวิจัยสร้างสรรค์ ชุด เปิดผ้าม่านกั้ง นำเสนอเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พ.ศ. 2545)
- การวิจัยเรื่อง การศึกษาสุนทรียภาพท้องถิ่นผ่านศิลปกรรมสินไซภายใต้ปรากฏการณ์ประชานิยม สนับสนุนงบประมาณการวิจัย โดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ.2548)
- การวิจัยเรื่อง มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม กับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง สนับสนุนงบประมาณการวิจัย โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ.2557)
- การวิจัยเรื่อง สินไซ : การประยุกต์ใช้ทุนวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนสองฝั่งโขงในกระแสโลกาภิวัตน์ (งานวิจัยระดับดุษฎีบัณฑิต) (พ.ศ.2558)
3.2 ด้านการเผยแพร่ความรู้ด้านวิชาการศิลปวัฒนธรรมอีสาน
3.2.1 บทความวิจัย
- บทความเรื่อง " Sinxay : The Application of Cultural Capital for Community Development of Thai-Lao in Globalizetion." ตีพิมพ์ใน The Social Sciences year : 2016 /volume: 11/Issue:23/Page No.: 5719-5725
- บทความเรื่อง การศึกษาสุนทรียภาพท้องถิ่นผ่านศิลปกรรมสินไซภายใต้ปรากฏการณ์การผลิตซ้ำศิลปกรรม (หน้า 34-46) ตีพิมพ์ในเอกสารรวมรวมบทความ ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ศิลปกรรมวิจัยครั้งที่ 3 เศรษฐกิจสร้างสรรค์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 วันที่ 13-14 กรกฎาคม 2560 ณ โรงแรมเจริญธานี ขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น
- บทความวิชาการนานาชาติ เรื่อง "Sinxay : Intangible Cultural Heritage to Promote Political Participation (หน้า1700-1717) ตีพิมพ์ในเอกสารรวมรวมบทความ ในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ IC-HUSO 2016 เมื่อวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2559 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3.2.2 บทความทั่วไป – บทความวิชาการ
- บทความ เรื่อง ศิลปกรรมมรดกล้านช้าง : การศึกษาอย่างมีส่วนร่วม ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อีสานบิซวีคปักษ์แรก ประจำเดือนกันยายน 2550
- บทความวิชาการ เรื่อง สินไซ วรรณกรรมเอกแห่งล้านช้าง ฐานที่มั่นวัฒนธรรมแห่งยุคสมัย ตีพิมพ์ในหนังสือมรดกล้านช้าง. (2550). สถาบันวิจิตรศิลป์แห่งชาติ สปป.ลาว, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.โรงพิมพ์แอนนาออฟเซท.
- บทความเรื่อง เพลงลาว - เพลงไทย การบรรจบกันของเส้นขนาน 2 เส้น ตีพิมพ์ในสารมิตรภาพไทยลาว ปีที่ 15 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2551 (หน้า19)
- บทความ เรื่อง รถไฟสายมิตรภาพ : จากอดีตสู่อนาคต ตีพิมพ์ในสารมิตรภาพไทยลาว ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน, มกราคม - มีนาคม 2552 (หน้า 30)
- บทความวิชาการ เรื่อง หมอลำกับการดำรงอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังควัฒนธรรม ตีพิมพ์ในวารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ 2 ปีที่ 2 /2553
- บทความเรื่อง การฟื้นฟูวรรณกรรมสังสินไซสองฝั่งโขง : จากพิธีเปิดมหกรรมซีเกมส์ สู่ การแสดงละคร คำกลอน ฉลอง 450 ปี นครหลวงเวียงจัน (หน้า 23-29) ตีพิมพ์ในวารสารมิตรภาพไทย-ลาว ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-มีนาคม 2553
- บทความเรื่อง การท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ตีพิมพ์ใน หนังสือ วัฒนธรรมสรรค์สร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จัดพิมพ์โดย กระทรวงวัฒนธรรม (หน้า 66)
- บทความ เรื่อง สินไซ : จากวรรณกรรมนิทานพื้นบ้าน สู่ปรากฏการณ์ร่วมสมัยไทย - ลาว ตีพิมพ์ในหนังสือ ร่องรอยกาลเวลา โขง สายนทีแห่งชีวิต เครือญาติ ชาติพันธุ์วรรณา " (ทองแถม นาถจำนง, ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต, บรรณาธิการ) (หน้า 176 - 183)
- บทความ เรื่อง หมอลำ : อุตสาหกรรมวัฒนธรรม คุณค่า และมูลค่าในสังคมอีสานร่วมสมัย ตีพิมพ์ใน หนังสือ ฮักแพงแจ้งใจ (ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์,บรรณาธิการ). (2553). ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.
- บทความ เรื่อง รายวิชาชีวิตกับสุนทรียะ กับ กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ตีพิมพ์ใน หนังสือฮักแพงแจ้งใจ (ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, บรรณาธิการ).(หน้า 81)
- บทความเรื่อง เว้ - ฮอยอัน เมืองมรดกโลกในความทรงจำ ตีพิมพ์ใน หนังสือ ฮักแพแจ้งใจ (ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, บรรณาธิการ). (หน้า 115)
- บทความเรื่อง ชุมชนวัฒนธรรมผู้ไท บ้านโนนหอม สกลนคร ตีพิมพ์ใน หนังสือ ฮักแพแจ้งใจ (ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, บรรณาธิการ).(หน้า 118)
- บทความวิชาการ เรื่อง หมอลำ : การฟื้นฟูทุนทางวัฒนธรรมในบริบทโลกาภิวัตน์ (หน้า 1-25) ตีพิมพ์ในหนังสือรวมบทความวิชาการ ภายใต้โตรงการสืบสานฮีตฮอยหมอลำ เฉลิมพระเกียรติฯ 84 พรรษา จัดโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
- บทความเรื่อง นิทรศการสินไซ : การประยุกต์ใช้สินไซในบริบทโลกาภิวัตน์สองฝั่งโขง (หน้า 40-45) ตีพิมพ์ในวารสารมิตรภาพไทยลาว ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2555
3.3 ผลงานหนังสือเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมอีสาน
(ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, บรรณาธิการ). (2557). สินไซสองฝั่งโขง. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.
(ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, บรรณาธิการ). (ม.ป.พ.). ผญาพาม่วน. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.
(ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, บรรณาธิการ). (2546). 30 ทศวรรษ โชคชัย ตักโพธิ์. เชียงใหม่ : โชตนาพริ้นท์
(ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, บรรณาธิการ). (2557). เฮ็ด ฮียน ฮู้ : โชคชัย ตักโพธิ์. ขอนแก่น : คลังนานา.
(ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, บรรณาธิการ). สารมิตรภาพไทย - ลาว. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.
(ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, บรรณาธิการ). (ม.ปพ.). ถอดรหัสฮูปแต้มสินไซวัดไชยศรี. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.ศูนย์ข้อมูลลาว มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
(ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, บรรณาธิการ). (2563). ถิ่นฐานบ้านสาวะถี. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.
(ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, บรรณาธิการ). (2562). ฮูปแต้ม และภูมิปัญญาดงบัง. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.
(ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์, บรรณาธิการ). (2563). เที่ยวทันใจไปโนนทัน. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.
(แก้วตา จันทรานุสรณ์ , ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์.) (2554). สืบสานฮีตฮอยหมอลำ เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
(แก้วตา จันทรานุสรณ์ , ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์.) (2557). มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
4.1 ภัณฑารักษ์นิทรรศการศิลปะ
- นิทรรศการศิลปะ วัดหนองป่าพง : โชคชัย ตักโพธิ์ (พ.ศ.2543)
- นิทรรศการศิลปะ ผาแต้ม แต้มสี : โชคชัย ตักโพธิ์ (พ.ศ.2545)
- นิทรรศการศิลปะ โชคชัย ตักโพธิ์ : กระบวนทัศน์ 3 ทศวรรษ (พ.ศ.2546)
- นิทรรศการศิลปะ ยิ้มสยาม จัดโดยหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (พ.ศ.2551)
- นิทรรศการศิลปะ เฮียน ฮู้ เฮ็ด : โชคชัย ตักโพธิ์, (พ.ศ.2557)
- นิทรรศการศิลปะ อย่าเห็นแก่ตัว รูป คำ ความ : เจริญ กุลสุวรรณ
4.2 สร้างสรรค์ผลงานวิดีทัศน์ศิลป์ (VDO ART)
- เรื่อง Night For Day (Animation) ณ แกลเลอรี่ 29 สมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพ - เรื่อง Illusion จัดแสดง ณ อิมเมจ ฟอรั่ม ประเทศญี่ปุ่น - เรื่อง I See จัดแสดง ณ อิมเมจ ฟอรั่ม ประเทศญี่ปุ่น และ โปรเจค 304
4.3 ด้านการสร้างสรรค์/เผยแพร่ศิลปะ
จัดแสดงผลงานศิลปะออกสู่สาธารณชน ทั้งนิทรรศการเดี่ยว และนิทรรศการกลุ่ม กว่า 50 ครั้ง
4.3.1 นิทรรศการเดี่ยว ผลงาน /นิทรรศการที่โดดเด่น ดังนี้
- สร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานศิลปกรรมร่วมสมัย ชุด เปิดผ้าม่านกั้ง ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พ.ศ.2545)
- สร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานศิลปกรรมร่วมสมัย ชุด มิติลวงในสังคมเมือง ณ 303 Open Space กรุงเทพฯ (พ.ศ.2540)
- สร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานศิลปกรรมร่วมสมัย ชุด ทางออก ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพฯ (พ.ศ.2539)
- สร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานศิลปกรรมร่วมสมัย ชุด เสียงสะท้อนแห่งสยามประเทศ ณ โปรเจค 304 กรุงเทพ ฯ (พ.ศ.2539)
4.3.2 นิทรรศการกลุ่ม (ร่วมแสดง) ผลงาน /นิทรรศการที่โดดเด่น ดังนี้
พ.ศ. 2532-2535
- ผลงานได้รับการคัดเลือกร่วมแสดง นิทรรศการศิลปกรรมรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 13 จัดโดย มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ผลงานได้รับการคัดเลือกร่วมแสดง นิทรรศการจิตรกรรมบัวหลวง จัดโดย ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ
- ผลงานได้รับการคัดเลือกร่วมแสดง นิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัย จัดโดย ธนาคารกสิกรไทย
- ผลงานได้รับการคัดเลือกร่วมแสดง มหกรรมศิลปะ Busan Biennale ที่เมืองบูซาน ประเทศเกาหลี
พ.ศ.2536-2540
- ได้รับเลือกจาก โปรเจค 304 เป็นศิลปินร่วมสร้างสรรค์ผลงานในโครงการ Alien(garner)ation จัดแสดง ณ หอศิลป์วิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหอศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ได้รับคัดเลือกจากหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สร้างสรรค์ผลงาน ภายใต้โครงการ วิถีไทยในภาพพระบฏ จัดแสดง ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ได้รับคัดเลือกจากหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สร้างสรรค์ผลงานภายใต้โครงการ โลกใบเล็ก จัดแสดง ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ได้รับคัดเลือกจากหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สร้างสรรค์ผลงาน ภายใต้โครงการ ศิลปะในกล่อง จัดแสดง ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ได้รับคัดเลือกจากหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สร้างสรรค์ผลงาน ภายใต้โครงการ โฉมหน้าศิลปิน จัดแสดง ณ สีลมแกลเลอเรีย กรุงเทพฯ
- ได้รับคัดเลือกจากหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สร้างสรรค์ผลงาน ภายใต้โครงการ สีน้ำ จัดแสดง ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ได้รับคัดเลือกจากมูลนิธิไฮน์ริคเบิลล์ สร้างสรรค์ผลงาน ภายใต้โครงการ The End of Growth จัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ได้รับคัดเลือกจากมูลนิธิไฮน์ริคเบิลล์ สร้างสรรค์ผลงาน ภายใต้โครงการ Identity Versus Globalization จัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (7 - 29 กุมภาพันธ์2547) หอศิลป์แห่งชาติ (เจ้าฟ้า) (8 – 28 พฤษภาคม 2547) และ Dahlem Museum เมืองเบอร์ลิน ประเทเยอรมัน (16 มกราคม - 22 ตุลาคม พ.ศ.2548)
พ.ศ.2548-2550
- ได้รับคัดเลือกจากหอศิลป์แห่งชาติ นำผลงานร่วมแสดงในนิทรรศการศิลปกรรม หัวข้อ ศาสนา ความเชื่อ ณ พิพิธภัณฑ์กวางตุ้ง ประเทศจีน
- ได้รับเลือกเป็นศิลปินรับเชิญนิทรรศการศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ครั้งที่ 24/2550 ณ หอศิลป์แห่งชาติ (เจ้าฟ้า) กรุงเทพฯ
- ได้รับเลือกจากหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สร้างสรรค์ผลงาน ภายใต้โครงการ บทเพลงพระราชนิพนธ์ ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ.2551
- ได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในทีมภัณฑารักษ์ นิทรรศการศิลปะนานาชาติ รอยยิ้มสยาม : Traces of Siamese Smile จัดแสดงเมื่อวันที่ 24 กันยายน - 26 พฤศจิกายน 2551 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่ง กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2554
- ได้รับคัดเลือกจากมูลนิธิจิม ทอมป์สัน เป็นศิลปินสร้างสรรค์ผลงานภายใต้โครงการ อาร์ต ออน ฟาร์ม ปี 2554 ในหัวข้อ ถิ่นอีสาน ณ จิม ทอมป์สันฟาร์ม อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
พ.ศ.2555
- ผลงานสร้างสรรค์ได้รับการบันทึกเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะร่วมสมัยของไทย ในนิทรรศการศิลปะไทยเท่ จากท้องถิ่นสู่อินเตอร์ (พ.ศ.2555) จัดแสดง ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
พ.ศ.2558
- ได้รับเลือกจากหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน สร้างสรรค์ผลงาน ภายใต้แนวคิด แคนล่องคะนองลำ นิทรรศการ เกี่ยวกับการแสดงหมอลำและวัฒนธรรมบันเทิงจากแดนอีสาน ณ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน
พ.ศ.2561
- ได้รับคัดเลือกจากมูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สร้างสรรค์ผลงาน ภายใต้แนวคิด " อีสานสามัญ " (common exercises : Isan Contemporary Report) จัดแสดงเมื่อวันที่ 26 มกราคม - 15 เมษายน 2561 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
- ได้รับการคัดเลือกจากมหกรรมศิลปะนานาชาติ บางกอกอาร์ตเบียนาเล่ สร้างสรรค์ผลงานในนามกลุ่มศิลปิน ฮูปแต้ม ไทย-ลาว ร่วมแสดงในมหกรรมศิลปะนานาชาติ บางกอกอาร์ตเบียนาเล่ 2018 ณ One Bangkok กรุงเทพมหานคร
◻ รางวัลที่เคยได้รับ
◻ ลักษณะกิจกรรม และผลการดำเนินงานที่เกิดจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม จากฐานทุนวัฒนธรรมที่แสดงถึงความต่อเนื่องและยั่งยืน รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้ใหม่และการเผยแพร่แก่สาธารณะ
กิจกรรม แบ่งเป็น 4 ลักษณะดังนี้
แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)
128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]