นางถนอม คงยิ้มละมั้ย บุคคลต้นแบบ รางวัล “ภูมิวัฒนธรรมแผ่นดิน” สาขาภูมิพื้นที่ไตรภาคีศิลปวัฒนธรรม

หมวดหมู่ เรื่องเด่น , โดย : admin , 11 พฤษภาคม 67 / อ่าน : 718


นางถนอม คงยิ้มละมั้ย

บุคคลต้นแบบ รางวัล “ภูมิวัฒนธรรมแผ่นดิน”

สาขาภูมิพื้นที่ไตรภาคีศิลปวัฒนธรรม

มอบโดย : คณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา

 

นางถนอม คงยิ้มละมัย ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ปานถนอม พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ที่นำเสนอเรื่องราวของ “ไทยทรงดำ” หรือ “ลาวโซ่ง” ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2539 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 28 ปี ที่ได้แสดงเจตนารมณ์ ที่ต้องการให้คนได้เห็นแก่นแท้ของไทยทรงดำปกป้องและสืบต่อจารีตประเพณีไทยทรงดำ ซึ่งมีอัตลักษณ์เฉพาะตนที่ยังคงสืบสานอนุรักษณ์วัฒนธรรม เคารพและยึดมั่นในจารีตประเพณีไทยทรงดำ อย่างจริงจังเพื่อเป็นแบบอย่างที่ถูกต้อง ผลงานที่ภาคภูมิใจ แบ่งออกเป็นหมวดต่าง ๆ ดังนี้

1.ผลงานด้านการสร้างสรรค์การแสดงของไทยทรงดำ จากแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ชุดการแสดงเกิดจากการเห็นคุณค่าของแผ่นดินเกิดของตนเอง ซึ่งนางถนอม คงยิ้มละมัย เกิดและเติบโตที่ตำบล หนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นตำบลที่เป็นถิ่นฐานดั้งเดิมของชาวไทยทรงคำที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย ตั้งรกรากอยู่ที่นี้นับตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งนางถนอม คงยิ้มละมัย เป็นชาวไทยทรงดำคนแรกในตำบลหนองปรงที่มีโอกาสได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี และได้มารับราชการ เป็นครูสอนวิชาสังคมศึกษา และท้องถิ่นของเรา ที่โรงเรียนเขาย้อยวิทยา ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวไทย ทรงดำ และในคำขวัญของอำเภอเขาย้อยได้มีการกล่าวถึงวิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำไว้ ดังนี้ "ภูเขางามถ้ำวิจิต วิถีชีวิตไทยทรงดำ ค่าสูงล้ำโบสถ์ไม้สัก หัตถกรรมหลักไม้ตาลกลึง ประสานซึ้งเสียงแคนวง" ด้วยเหตุนี้นางถนอม คงยิ้มละมัย จึงได้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ชุดการแสดงต่าง ๆ ที่จะแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของชาวไทยทรงดำ เพื่อให้ชาวไทยและชาวต่างชาติได้เห็นถึง คุณค่าและความงดงาม อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยทรงดำ การแสดงทั้งหมดเป็นการแสดงที่เกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิต ของชาวไทยทรงดำ ซึ่งจะสอดแทรกวัฒนธรรม ประเพณีและความคิด ความเชื่อของชาวไทยทรงดำ ที่ต้องการถ่ายทอดไปยังลูกหลานรุ่นต่อไป อาทิ รำแคน หรืออิ่นกอน ฟ้อนแกน, รำอวยพรแบบไทยทรงดำ, รำตะเกียงงอยคอยรัก, รำชมเขาย้อย, แม่มดสาวรำแคน, รำเก็บเล็บแมว, รำตังบั่งหนอ และรำตำข้าว

การแสดงรำแคน หรืออิ่นกอน ฟ้อนแกน เป็นการแสดงที่นำมาจากการรำแคนในประเพณีการลงขวง ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยว หนุ่มสาวชาวไทยทรงดำจะมารวมกลุ่มกันโยนลูกช่วง และรำแคนเป็นการเปิดโอกาสให้หนุ่มสาวได้ทำความรู้จัก และนำไปสู่การสร้างครอบครัวโดยมีผู้ใหญ่คอยให้คำแนะนำแก่หนุ่มสาว ในการเลือกคู่ การโยนลูกช่วงและการรำแคนจะเป็นการทดสอบปฏิภาณไหวพริบและอุปนิสัยของฝ่ายชาย และหญิง รวมทั้งตรวจสอบความรู้ ความสามารถของทั้งคู่ก่อนจะนำไปสู่การสร้างครอบครัว การแสดงรำแคนได้มีการนำมาแสดงเป็นครั้งแรกในงานพระนครคีรี ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2524 โดยโรงเรียนเขาย้อยวิทยา ได้นำการแสดงรำแคนมาร่วมขบวนแห่ โดยวงดนตรีแคน ซึ่งการแสดงชุดนี้นับเป็นกำลังใจและสร้างแรงบันดาลใจให้สร้างสรรค์การแสดงชุดต่อมา

การแสดงรำอวยพรแบบไทยทรงดำ เป็นการแสดงที่ใช้จังหวะรำแคนของระบำ อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการรำ เรียกว่า "พวงมงคล" ดัดแปลงมาจากอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีกรรมเสนต่อตัว คือ พิธีเสนหรือพิธีเซ่น เพื่อความเป็นสิริมงคลของชาวไทยทรงดำ ในพวงมงคลประกอบด้วย รังต่อ เพื่อให้ต่อต่อยผีร้าย ดอกใบหม่อน สื่อความหมายถึงไม่โรยรา คอกนุ่น สื่อความหมายถึง ให้นั่งนอนเป็นสุข ตัวจักจั่น สื่อความหมายถึงการมีผู้คนแช่สร้องสรรเสริญไม่สิ้นสุด ลูกปัด สื่อความหมายถึง การปัดโรคปัดภัย ดอกรัก สื่อความหมายถึง การเป็นที่รัก และเบี้ยแผ่นแตง สื่อความหมายถึง การมีศักดิ์ศรี ผู้รำแต่งกายด้วยชุดไทยทรงคำและสวมทับด้วยเสื้อฮี และสวมหมวกมงคลที่คาดด้วยผ้าสีแดงเพื่อให้ลูกหลานนำเงินมาเสียบที่หมวกในพิธีเสนตัว เรียกว่า ต่อเกล้า เงาหัว การแสดงชุดนี้ได้รับเกียรติให้ไปแสดงในงานฉลองวันราชาภิเษกสมรส 60 ปี ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และงานมหกรรมวัฒนธรรมนานาชาติ ธ ปกเกล้า จากขุนเขา จรดทะเล ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ

การแสดงรำตะเกียงงอยคอยรัก เป็นการแสดงที่ได้รับแรงบันคาลใจจากประเพณีลงขวง ซึ่งเป็นประเพณีที่หนุ่มสาวจะได้ทำความรู้จักกัน การแสดงชุดนี้สื่อว่า สาวจะจุดตะเกียง 3 ไส้ ลงขวงมานั่งคุยกับหนุ่ม หากสาวคนไหนไม่พอใจหนุ่มที่พูดคุยด้วยก็จะดับตะเกียง เพื่อสื่อความหมายว่า ไม่ประสงค์จะพูดคุยด้วย หนุ่มก็จะออกจากบ้านไป ในการแสดงผู้แสดงจะแต่งกายด้วยชุดไทยทรงดำ และจุดตะเกียงสามไส้ ซึ่งจะส่องแสงสว่างงดงาม ตื่นตาตื่นใจ และสร้างความประทับใจแก่ผู้ชม ทั้งการแสดง ที่งดงามและนัยยะที่แฝงไว้ในการแสดง จนมหาวิทยาลัยราชภัฏจอมบึงได้ส่งนักศึกษากลุ่มหนึ่งมาเรียนรู้ และฝึกซ้อมเพื่อนำไปแสดงในงานของมหาวิทยาลัย

การแสดงรำชมเขาย้อย เขาย้อยเป็นสถานที่สำคัญของอำเภอเขาย้อย จังหวัคเพชรบุรี มีรูปร่าง คล้ายเต่าขี่กัน และมีคำขับพรรณนาเป็นภาษาไทยทรงดำโคยเล่าเป็นตำนานว่า หนุมานอุ้มหินจากกรุงเทพฯ จะไปกรุงลงกา แต่บังเอิญหินหลุดมือตกลงมาทับกันเป็นรูปเต่าเกกัน (ขี่กัน) ในถ้ำมีหินงอกหินย้อยงดงามมาก ยอดเขาสูงตระหง่านนักปืนเขามักมาปืนเขาที่นี่ ในบทเพลงประกอบการรำได้มีการพรรณนาถึงลิง ความงามของเขาย้อย และความสำคัญของเขาย้อยที่เป็นเมืองสามลาว คือ ลาวโซ่ง (ไทยทรงคำ) ลาวเวียง และลาวพวน ทั้งสามลาวต่างก็รักใคร่กลมเกลียว และร่วมกันสร้างสรรค์ความงคงามให้อำเภอเขาย้อย

การแสดงแม่มดสาวรำแคน ผู้แสดงจะสวมชุดไทยทรงดำ และสวมมู่แม่มด (เครื่องสวมหัวของแม่มดชาวไทยทรงดำ ซึ่งแม่มดจะสวมใส่เวลาประกอบพิธีเสน นำมาประดับสวมทับบนมวยผมเพื่อเพิ่มความสวยงาม ซึ่งในหัวมู่จะประกอบด้วยเครื่องรางของขลังต่าง ๆ อาทิ เขี้ยวหมู หอยเบี้ย ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากผ้าขาวและลูกปัด

การแสดงรำเก็บเล็บแมว ลูกเล็บแมว หรือลูกเล็บเหยี่ยว เป็นลูกไม้ขนาดเล็กมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีดำ การแสดงชุดนี้ผู้แสดงจะสวมชุดไทยทรงดำและโพกศีรษะด้วยผ้าเปียว ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายที่สวมใส่ เวลาไปหาผลไม้ในป่า ใช้อุปกรณ์การแสดงประกอบด้วย กะเหล็บ กระด้ง ไม้ไผ่ขนาดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเข้าไปเก็บของป่า

รำตำบั่งหน่อ คือ การรำเพื่อบูชาแถน (ผีฟ้า) ซึ่งเป็นการรำที่ให้ความสำคัญกับจังหวะเท้ามากกว่ามือ เครื่องคนตรีที่ใช้มีเพียงกระบอกไม้ไผ่ขนาด 3 เมตร นำมากระแทกเพื่อให้เข้าจังหวะกับกลองคุม ซึ่งก็คือตุ่มน้ำที่นำถาดมาปิคด้านบน คอยตีกำกับจังหวะการรำ โคยใช้กำลังคนเข้าช่วยในการร่ายรำและให้จังหวะ ผู้รำจะใช้พลังมากเพราะต้องย่ำเท้าไปตามจังหวะ การรำเช่นนี้มีกุศโลบายว่า หากพวกเราให้ความร่วมมือ พญาแถนจะให้ความคุ้มครองปกป้องให้ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บ

รำตำข้าว เป็นการแสคงที่สะท้อนภาพการดำข้าวของชาวไทยทรงดำ อุปกรณ์ประกอบด้วย กระดัง กระบุง เพื่อสื่อความหมาย กิจกรรมตำข้าวของหญิงสาวในประเพณีลงขวง ซึ่งหนุ่มสาวก็จะได้มีโอกาสได้พบปะพูดคุยกัน

การสร้างสรรค์ชุดการแสดงของไทยทรงดำ โดยนำความรู้จากประเพณีและวัฒนธรรมของชาวไทยทรงดำมาเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการจัดการแสดงเพื่อเผยแพร่ความเอกลักษณ์และความงดงามของวัฒนธรรมไทยทรงดำ สะท้อนให้เห็นว่า อำเภอเขาย้อยเป็นเมืองแม่แบบหรือขุมทรัพย์ทางปัญญาของชาวไทยทรงคำ จนได้รับคำนิยามว่า “เมืองหลวงของไทยทรงดำ” และเป็นที่ยอมรับเชิงประจักษ์ในระดับประเทศ และระดับสากลที่ให้ความสนใจ เข้ามาเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ดังเช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศจีน ฯลฯ

จากประวัติโดยสังเขป หลังจากนางถนอม คงยิ้มละมัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้เป็นครูสอนนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนวัดหนองปรงและโรงเรียนบ้านเขาย้อย ต่อมาได้สอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายใน โรงเรียนเขาข้อยวิทยา สอนวิชาท้องถิ่นของเรา เป็นหัวหน้าศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเขียนตำราเกี่ยวกับเรื่อง เกิด-แต่งงาน-ตาย ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลเผยแพร่ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับปริญญาเอก ในปี พ.ศ. 2539 ได้จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ ที่โรงเรียนเขาย้อยวิทยา และปี พ.ศ. 2542 ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ปานถนอม (ไทยทรงดำ) ขึ้นที่บ้านพัก บ้านหนองจิก ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ดำเนินงานพิพิธภัณฑ์จนกลายเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2550 และได้รับคัดเลือกเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมดีเด่น

นางถนอม คงยิ้มละมัย ได้ศึกษาความรู้ที่ถูกต้องของภูมิปัญญาไทยทรงดำ (ลาวโซ่ง) จากท้องถิ่น และจังหวัดต่าง ๆ ที่มีชุมชนไทยทรงดำ รวบรวม และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณีของชาวไทยทรงดำตั้งแต่เกิดเกิด แต่งงาน และตาย รวมทั้งภาษาและอักษรไทยทรงดำ เพื่อให้สนใจได้เรียนรู้จากวิถีชีวิตของชุมชน การจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำที่โรงเรียนเขาย้อยวิทยา และสร้างพิพิธภัณฑ์ปานถนอม (ไทยทรงดำ) ประกอบด้วยนิทรรศการแสดงวิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำ ผ้าทอ เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ งานหัตถกรรม และเครื่องใช้ในงานพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน อนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรม และประเพณีของชาวไทยทรงดำ ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้สืบไป

นอกจากนี้ ได้เชิญเป็นวิทยากรระดับชาติเพื่อเผยแพร่ประเพณีไทยทรงดำหลายครั้ง มีรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งสี่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ และปัจจุบันสื่อออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดีย มุ่งพัฒนาให้จังหวัดเพชรบุรี เป็นเมืองแม่แบบของไทยทรงดำโดยเฉพาะอำเภอเขาย้อยซึ่งเป็นแหล่งขุมทรัพย์ทางปัญญาของชาวไทยทรงดำอย่างแท้จริง เผยแพร่ให้เยาวชนเกิดความรักและภูมิใจในท้องถิ่น มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรม และประเพณีไทยทรงดำต่อไป

2. ผลงานทางวิชาการ (ตำรา) เกี่ยวกับไทยทรงดำ จำนวน 25 เล่ม ได้แก่ หนังสือเรื่องประเพณีการขึ้นเฮือนเหม่าย์(ขึ้นเรือนใหม่), หนังสือเรื่องประเพณีเอ็ดแฮว, เรื่องประเพณีเกี่ยวกับการเกิด, หนังสือเรื่องประเพณีเกี่ยวกับการตาย, หนังสือเรื่องประเพณีกินเสน, หนังสือเรื่องเสื้อผ้าและการแต่งกายไทยทรงดำ, หนังสือเรื่องประเพณีเสนเต็ง, หนังสือเรื่องประเพณีเสนกวาย, หนังสือเรื่องประเพณีเสนปุกล้วยเมืองลุม, หนังสือเรื่องเสนกุลาบายศรี, หนังสือเรื่องประเพณีกินหลอง, หนังสือเรื่องอาหารไทยทรงคำ, หนังสือเรื่องการอพยพของไทยทรงดำ, หนังสือเรื่องประเพณีเสนฆ่าเกือด, หนังสือเรื่องประเพณีอิ่นกอน, หนังสือเรื่องภาษาไทยทรงดำ, หนังสือเรื่องเสนตังบั้งหน่อ, หนังสือเรื่องประเพณีการทำขวัญไทยทรงดำ, หนังสือเรื่องทรงผมไทยทรงดำ, หนังสือเรื่องการทำเอื่อแส่วของไทยทรงดำ, หนังสือเรื่องอำเภอเขาย้อย, นิทานพื้นบ้านไทยทรงดำ เรื่อง อีหล่อนอีหลำ, นิทานพื้นบ้านไทยทรงดำ เรื่อง ตำนานเขาย้อย, สื่อวิดิทัศน์ "รำแคนของชาวไทยทรงดำ"

ตำราจำนวน 25 เล่ม สะท้อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการสร้างสรรค์ของชุมชนไทยทรงดำนี้เป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องจากชุมชน และสังคมทั่วไป เป็นตัวอย่างที่ดีในการอนุรักษ์และส่งเสริมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชนที่เป็นสิ่งสำคัญ ในการรักษาเอกลักษณ์และเสนอแนะทางที่ดี ในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น

3.ผลงานด้านประพันธ์เพลงและคิดค้นท่าร่ายรำของไทยทรงดำ ซึ่งสอดแทรกวิถีชีวิต คำสอน คำพังเพยอยู่ในท่ารำของไทยทรงดำในท่วงทำนองที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น

แกนญ่าง (แคนย่าง) หรือแคนเดิน เป็นเพลงที่มีจังหวะช้า เพื่ออวดเนื้ออวดตัว อวดความงดงาม ของผู้รำ การรำไม่ต้องจีบมือให้อ่อนช้อย แต่ลำตัวและขาต้องย่อให้อ่อนช้อย เอวต้องอ่อน ความงดงาม ของการฟ้อนอยู่ที่การส่งแขน หรือการแกว่งแขน ผู้ฟ้อนต้องแกว่งแขนโดยการจีบม้วนมือเข้า แล้วปล่อยออกเป็นการป้องกันการลวนลามจากฝ่ายตรงข้าม

แกนแล่น (แคนแล่น) เป็นเพลงที่มีจังหวะเร่งเร้า จะสลับกันไปมา เป็นการฟ้อนเอาเชิง อยู่กับที่ชายหญิงจะหันหน้าเข้าหากัน แล้วก้มตัวสลับที่กัน ต้องใช้เนื้อที่กว้าง ๆ ต้อนสลับกัน ประมาณ 5 ก้าว โดยฝ่ายชายจะต้อนฝ่ายหญิงกลับไปกลับมา โดยฝ่ายชายจะพยายามทำท่าลวนลามฝ่ายหญิง ซึ่งฝ่ายหญิง ก็จะปัดป้องด้วยการสะบัดข้อมือด้วยความรวดเร็วเพื่อปัดป้องในขณะที่ฝ่ายชายจะตักสไบหรือชายผ้าถุง

แกนแกร (แคนแกร) หลังจากการฟ้อนแกนแล่นจนเหนื่อยแล้วจะเข้าสู่จังหวะแกนแกร ซึ่งมีทำนองคล้ายกับแกนย่าง แต่มีช่วงจังหวะให้หยุดพูดคุยกันในช่วงสร้อยเพลง โดยฝ่ายชายและหญิง จะค่อย ๆ หันหน้าหากันแล้วเดินไปรอบวง หรือจะเปลี่ยนคู่ตอนร้องสร้อยเพลงก็ได้ โดยหมุนตัวไปกับคนอื่นการไม่มีจังหวะที่แน่นอน ก้าวเดินอย่างอิสระรอบวงทวนเข็มนาฬิกาในฟ้อนแกน ปัจจุบันจะพบ การฟ้อนแกนแกรน้อยมาก ซึ่งน่าจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการฟ้อนแกน ที่มุ่งเน้นไปในด้าน ความสนุกสนานรื่นเริง มากกว่าการการพบปะเพื่อหาคู่ เพราะกลุ่มผู้ที่มาฟ้อนแกนส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ผู้ชายวัยกลางคนที่มีครอบครัวแล้ว มากกว่าหนุ่มสาว

แกนระบำ (แคนระบำ) จะฟ้อนช้า ๆ หมุนตัวทีละน้อยย่อตัวเหมือนระบำของชาวยุโรป และมีการฟ้อนโดยใช้หลังชนกัน และเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ การเซิ้งแกนในเพลงนี้จะมีเนื้อเพลงไม่หลากหลายมากนักและมีการรำตามเนื้อเพลง

แกนสาวสะกิดแม (แคนสาวสะกดแม่) หรือแมงภู่ตอมเบาะ(ดอก) หรือแคนสุพรรณ หรือเดี่ยวแคน ในบทเพลงนี้จะไม่มีการเซิ้งแกน (ขับร้องเพลงประกอบ) การฟ้อนในเพลงนี้ฝ่ายหญิงจะเลือกฟ้อนกับฝ่ายชาย ที่ตนพึงพอใจเป็นพิเศษ เป็นการสะกิดหรือบอกนัยยะแก่ผู้เป็นแม่และญาติผู้ใหญ่ให้ทราบว่า คนพึงพอใจ ชายผู้นี้ เพื่อให้แม่และญาติผู้ใหญ่พิจารณาว่าคู่นั้นมีเทือกเถาว์เหล่ากอเป็นเช่นไร เป็นโรคเรื้อนหรือไม่เกียจคร้าน ขี้ขโมย ขี้เหล้าเมายา ฯลฯ ถ้าหากเทือกเถาว์เหล่ากอไม่ดี ก็จะบอกลูกหลานให้รู้ เพื่อจะได้ไม่คบหาด้วย ซึ่งลูกหลานก็จะเชื่อค าชี้แนะของญาติผู้ใหญ่

เพลงต่าง ๆ จังหวะเพลงพื้นบ้านไทยทรงดำ ซึ่งคำร้องและทำนองประพันธ์โดยนางถนอม คงยิ้มละมัย อาทิ การขับร้อง เพลงกล่อมเด็ก การขับร้องเพลงกล่อมลูก นับเป็นอีกหนึ่งในความ ภาคภูมิใจ ของนางถนอม คงยิ้มละมัย ที่ได้รับคัดเลือกให้ไปสาธิตและขับร้องเพลงกล่อมลูกเป็นภาษาไทยทรงดำถวายแด่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เนื่องในโอกาสวันแม่แห่งชาติ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม

จังหวะเพลงพื้นบ้าน นับเป็นเอกลักษณ์ทางชาติพันธ์ที่ผสมผสานได้อย่างลงตัว และเป็นการแสดงออกซึ่งภูมิปัญญาทางภาษาที่ได้ถ่ายทอดผ่านบทเพลงประกอบการแสดงต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ได้แก่ เพลงเซิ่งกอน จังหวะ แกนญ่าง แกนแล่น แกนแกร แกนระบำ, เพลงแซลงแป้น ประกอบการแสดง ตังบั้งหน่อ, เพลงเก็บเล็บแมว ประกอบการแสดง รำเก็บเล็บแมว, เพลงตำข้าว ประกอบการแสดง รำตำข้าว, เพลงถวายพระพร 80 พรรษา ในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยใช้ทำนองแกนระบำ, เพลงอัศจรรย์แห่งสายน้ำ โดยใช้ทำนองแกนระบำ เพื่อรำลึกถึงแม่น้ำเพชร เนื่องในวันอนุรักษ์แม่น้ำเพชร และเพลงเชิญชมเขาย้อย แต่งเนื้อร้องและทำนอง โดย นางถนอม คงยิ้มละมัย ซึ่งขับร้องโดย นายเทพ ทูลใจ ศิลปินนักร้อง ซึ่งมีผู้ชมมากกว่า 20,000 views

นอกจากการแต่งเพลงประกอบการแสดงฟ้อนแคนแล้ว นางถนอม คงยิ้มละมัย ยังได้รับเกียรติจากโรงเรียนวัดหนองปรง (บุญมานุสรณ์) ให้เป็นวิทยากรสอนวิชาวัฒนธรรมไทยทรงดำ ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 -6 จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ ทำให้นางถนอม คงยิ้มละมัย ได้สร้างสรรค์บทเพลงสำหรับสอนเด็ก ๆ ให้ร้องและรำ อีกทั้งยังเป็นการสอนให้เด็กเข้าใจคำทรัพย์และปรัชญาไทยทรงดำที่แอบแฝงไว้อีกด้วย ได้แก่เพลงโตหนูไต่กะลิดกะลิด, เพลงจ่ำ ๆ เจาะ ๆ, เพลงมุบ ๆ มิบ ๆ, เพลงจ้ำจี้จ้ำจวด, เพลงบักกอแก, เพลงสอน้ำฝน และเพลงคำเล่นขี่กุ๊ดก๊าง, เพลงแต้มสะดือเด็ก

เพลงสอนศัพท์ภาษาไทยทรงดำ ได้แก่ เพลงแผ่วเฮือน - เพลงเฮือนฮา - เพลงร่างกาย – เพลงนิ้ว, เพลงจักบู๊จักก๊า - เพลงแหลดเขาย์เจาย์นอน - เพลงหน้าแหล่น – เพลงกะลิด, เพลงนับวัน - เพลงหาง - เพลงตะ ตะ ตะ – เพลงเก้าโว, เพลงโต๋กวาย - เพลงมดแดงลม - เพลงตอตัส - เพลงผู้ลาวโต๋จ้ม, เพลงโต๋ยักษ์ - เพลงผีบาป - เพลงยอดก๊น – เพลงฮูสบอยู่ฮอดฮูหลัง, เพลงตาเก็ก - เพลงปาดตง – เพลงอะเลิ่นอะเหลอะ, เพลงกะหลิ่มกิ๋มก๋าม - เพลงกะหล๋ามก๋ามกิ๋ม - เพลงหมูน้อย - เพลงลูกเจี ยบ, นกน้อย - เพลงเด็กน้อย - เพลงต่าวเฮือน – เพลงหนองปรง, เก็บขยะ - เพลงเล็บยาว - เพลงขี้ไคล – เพลงดอกบัวไทย และเอ๋ยช่อดอกรัก – เพลงเอ๋ยช่อแตวแวว

4. การเผยแพร่ผลงานใต้เบื้องพระยุคลบาท

ถวายการแสดง การรำแคน และรำตังบั้งหน่อในการแสดงแสงสีเสียงเทิดพระเกียรติหน้าพระที่นั่ง "จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน" เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2541 ณ พระรามราชนิเวศมฤทายวัน จังหวัดเพชรบุรี ต่อหน้าพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

ร่วมแสดงรำแคนและทูลเกล้าฯ ถวายหมอนลายดอกแปด แด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันชาติลาว ณ สถานทูตลาวประจำประเทศไทย

นางถนอม คงยิ้มละมัย ร่วมแสดงไทยทรงดำและจัดนิทรรศการในงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 3 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551ในโอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโปรดฯ ให้นางถนอม คงยิ้มละมัย เข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายความรู้เรื่อง การกราบรับพรของชาวไทยทรงดำและเรื่อง เต่ากับความเชื่อ ของชาวไทยทรงดำ

ร่วมจัดแสดงนิทรรศการเรื่องการแต่งกายของชาวไทยทรงดำ และสาธิตการปั้นทรงผม ต่อพระพักตร์ในวโอกาสที่ กรมสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน นำข้าราชการและนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยจุลจอมเกล้า ทัศนศึกษา ณ ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564

นางถนอม คงยิ้มละมัย ได้รับคัดเลือกให้แสดงนิทรรศการเนื่องในงาน “ภูมิรู้ สู้วิกฤต” ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 23 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ในโอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดฯ ให้นางถนอม คงยิ้มละมัย เข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายความรู้เรื่อง ข้าวของเครื่องใช้ในวิถีชีวิตไทยทรงดำ

นางถนอม คงยิ้มละมัย ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน ผู้สืบสานวัฒนธรรมดีเด่น ในงานสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านอาเซียน (The Folk Performing Art in ASEAN 2015) โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559

นางถนอม คงยิ้มละมัย ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนขับร้องเพลงกล่อมลูกเป็นภาษาไทยทรงดำ ถวายแด่พระเจ้า วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีกรมหมื่นสุทธนารีนาถ เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม         

นางถนอม คงยิ้มละมัย ได้ถวายการต้อนรับพร้อมบรรยายความรู้เรื่องไทยทรงดำ ให้แด่ ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน เป็นประธานในพิธีเปิดงาน นิทรรศการมีชีวิตของพิพิธภัณฑ์ 5 สายน้ำวัฒนธรรม แห่งลุ่มแม่น้ำภาคกลาง (จังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ปราจีนบุรี และนครนายก) ณ วัดขนอนหนังใหญ่ จ.ราชบุรี ระหว่างวันที่ 20 - 22 พฤศจิกายน 2563

5.การเผยแพร่และถ่ายทอดผลงานต่อสาธารณชนในระดับนานาชาติ

นางถนอม คงยิ้มละมัย ได้รับเกียรติให้โชว์การแสดงของไทยทรงดำกับเอกอัครราชทูตประเทศต่าง ๆ กว่า 40 ประเทศ บนพระนครคีรีจังหวัดเพชรบุรี 2560

นางถนอม คงยิ้มละมัย จัดการแสดงต้อนรับคณะสื่อมวลชน จากประเทศจีน เนื่องในโอกาสเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ปานถนอม

นางถนอม คงยิ้มละมัย จัดการแสดงต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากประเทศเนเธอแลนด์และเบลเยี่ยม โดยการประสานงานจาก ททท.มาเยี่ยมชม ศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นทั้งการแต่งกาย ทรงผม พิธีกรรมต่าง ๆ

อาจารย์โทชิ จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้มาศึกษาแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมไทยทรงดำ ที่พิพิธภัณฑ์ปานถนอมโดยสอบถามเนื้อหาเกี่ยวกับ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีบทบาทส่งเสริมไทยทรงดำอย่างไรบ้าง และที่มาของภาพนี้ทำให้หมู่บ้านมีขวัญ และกำลังใจในการสร้างผลงานทุกด้านนำมาซึ่งรางวัลอันยิ่งใหญ่

"หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเราเป็นตัวเเทน ของภาคกลาง" หนึ่งในแปดของประเทศ นำมาซึ่งทุนการสนับสนุนชุมชนอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่ประจักษ์

เผยแพร่การแสดงชุด อิ้นกอนฟ้อนแคน เนื่องในงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์และการแสดงนานาชาติ ครั้งที่ 8 “เครือญาติชาติพันธุ์ รวมกันเป็นหนึ่ง” ณ บริเวณสนามหน้าโรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 3-5 ธันวาคม 2561

เผยแพร่การแสดงชุด อิ้นกอนฟ้อนแคน เนื่องในงานต้อนรับคณะเอกอัครราชทูตลาว ณ ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี 2557

อ.ถนอม คงยิ้มละมัย นำเสื้อฮี เสื้อผ้าในพิธีกรรมของชาวไทยทรงดำ ไปส่งมอบให้พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์แห่งชาติของญี่ปุ่น National Museum of Ethnology, Osaka, Japan ได้เก็บไว้โชว์ให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชนกลุ่มน้อยในเมืองไทย ซึ่งที่แห่งนี้สถาบันวิจัยทางด้านชาติพันธุ์และมานุษยวิทยา ที่มีพิพิธภัณฑ์ทางด้านชาติพันธุ์โดยตรงแห่งหนึ่งของโลก มกราคม 2562

ได้มีโอกาสต้อนรับคณะ Pagoda Projects จากประเทศนิวซีแลนด์ มาแลกเปลี่ยนความรู้ ทางวัฒนธรรมของไทยทรงดำของไทย 2566

6.ผลงานสร้างสรรค์และการเผยแพร่งานต่อสาธารณะชน

ไทยทรงดำ ที่คงอัตลักษณ์ทั้งการแต่งกาย ความเป็นอยู่ต่าง ๆ ซึ่งนางถนอม คงยิ้มละมัย ได้จัดการแสดงร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งภายในพิพิธภัณฑ์ปานถนอม และร่วมกับสถาบัน องค์กร การจัดกิจกรรมเพื่อสาธารณะ มีอยู่เป็นประจำตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วง เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองของชาวไทยทรงดำ ในอำเภอ จังหวัดต่าง ๆ จัดงานสืบสานประเพณีไทยทรงดำ รวมไปถึงงานใหญ่ประจำปีของจังหวัด อาทิ งานพระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี โดยในแต่ละปีจะมีความแตกต่างกันไปในการจัดแสดงโชว์ ทั้งเครื่องแต่งกาย การรำแคน การนำเสนอเมนูอาหารของไทยทรงดำ งานหัตถการลายหน้าหมอนต่าง ๆ ซึ่งมีเรื่องราวสะท้อนความเป็นอยู่ได้อย่างดีนอกจากนี้ ยังมีการเพยแพร่ศิลปวัฒนธรรมในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ อาทิ งานฉลองวันราชาภิเษกสมรส ครบ 60 ปี ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า พระราชวังดุสิต ปี 2553, งานมหกรมวัฒนธรรมนานาชาติ ธ ปกเกล้า จากขุนเขาจรดทะเล ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, งาน OTOP MIDYEAR เมืองทองธานี 2016, ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยโตเกียว (Tokyo University of Foreign Studies) ให้ไปบรรยาย

เกี่ยวกับ "การสอนภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมไทยทรงดำ", งานมหกรรมชาติพันธุ์และชนเผ่าแห่งประเทศไทย ณ พิพิธภัณฑ์ชาวเขากลางแจ้ง จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2556, หลงรักประเทศไทย@เพชรบุรี, ชมจันทร์ ณ ศาลายา ตอนเทศกาลชุมชน ภูมิปัญญาชุมชนสู่ทุนวัฒนธรรม ชม ช้อป ชิม มหาวิทยาลัยมหิดล, งานเทศกาลศิลปะชุมชนสามแพร่ง กรุงเทพ (พ.ย. 2562), ร่วมเสวนาบนเวที ในงาน Museum Expo 2019 เวทีชุมชน ใน Museum Club Cultural Hub ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร (21 กันยายน 2562), จัดนิทรรศการ และการแสดงไปร่วมในงาน มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง “วิถีวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ ประตูสู่สยามแห่งประเทศ” ณ วัดขนอนหนังใหญ่ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรีวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2563, งานพอร์ตเทรตออฟเพชรบุรี กิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาขยายผลความยั่งยืนของเมืองสร้างสรรค์ จ.เพชรบุรี สู่ย่านการสร้างสรรค์ระดับอำเภอ โดยการอุดหนุนทุนการวิจัยและนวัตกรรม จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ปี 2566 โดยร่วมกับคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ร่วมเสวนาในเวทีนานาชาติ the 7th International Conference on Language and Education (the 7th MLE Conference) เมื่อวันที่ 4-6 ตุลาคม 2566 ที่โรงแรมเชอราตัน กรุงเทพฯ และพิพิธภัณฑ์ปานถนอม ได้มีโอกาสต้อนรับคณะ Pagoda Project จากประเทศนิวซีแลนด์ มาแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรม ของไทยทรงดำของไทย และชมการเต้นฮากา Kapa Haka เป็นศิลปะการแสดงโบราณของชนเผ่าเมารี ในประเทศนิวซีแลนด์ โดยความร่วมมือของ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และโรงเรียนวัดหนองปรง ที่มาร่วมจัดการแสดง รำชมเขาย้อย และตังบั้งหน่อ พร้อมสาธิตการทำลูกช่วง ให้เป็นของที่ระลึก

7.เผยแพร่งานวัฒนธรรมไทยทรงดำ ในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ

ช่องทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ในสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อออฟไลน์ ในรูปแบบงานเขียน การสื่อสาร การอบรมเสวนาต่าง ๆ ตลอดจนสื่อสังคมออนไลน์ในเฟซบุ๊ก “พิพิธภัณฑ์ปานถนอม” ซึ่งมีผู้ติดตาม จำนวน 2.9K ให้ได้รับข่าวสาร รวมทั้งหาข้อมูลเพื่อการการทำรายงาน หรือสำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ ทั้งนี้วัตุประสงค์เพื่อรักษาและสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีของชาวไทยทรงดำ การจัดแสดงและสะท้อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการสร้างสรรค์ของชุมชนไทยทรงดำนี้ เป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องจากชุมชนและสังคมทั่วไป เป็นตัวอย่างที่ดีในการอนุรักษ์ และส่งเสริมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชนที่เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาเอกลักษณ์และเสนอแนะ ทางที่ดีในการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น

- เขียนบทความเรื่อง “ไทยทรงดำคือหงส์ดำ” ในหนังสือเปิดศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรมไทยทรงดำ (ลาวโซ่ง) และภูมิปัญญาท้องถิ่นเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก (30 พฤษภาคม 2540)

- เขียนบทความเรื่อง “การกินอยู่อย่างผู้ลาว” ลงในหนังสือที่ระลึกงานฉลองอายุ 95 ปี พระครูโสภณพัชรธรรม (เย็น จนฺทโชติ) (20 พฤศจิกายน 2554)

- เป็นผู้แปลสุภาษิตไทยดำ จากหนังสือกวามเจียน ลาง และตีพิมพ์เป็นรูปแบบอักษรไทดำ จากรัฐไอโอวา ประเทศสหรัฐอเมริกา

- เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ข้อมูลการแสดงพื้นบ้านไทยทรงดำ พิพิธภัณฑ์ปานถนอม พื้นที่สร้างสรรค์ ณ บ้านหนองปรง เผยแพร่ลงในหนังสือพิมพ์เพชรภูมิ ฉบับวันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

- ให้สัมภาษณ์และเผยแพร่ผลงานลงในหนังสือพิมพ์ปัญญาชน คอลัมภ์สนามเด็กเล่น “มหัศจรรย์ พิพิธภัณฑ์ปานถนอม : พิพิธภัณฑ์นี้ดีจริง” ฉบับวันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

- เผยแพร่ผลงานลงในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก คอลัมภ์“ 6 องค์กรต้นแบบ คิดดี ทำดี สังคมดี ประจำปี 2557...พิพิธภัณฑ์ปานถนอม” ฉบับวันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ.2557

- เขียนบทความในหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทยทรงดำ (ถาวโซ่ง) และภูมิปัญญาท้องถิ่น เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ในตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ศิลปวัฒนธรรมไทยทรงดำโรงเรียนเขาย้อยวิทยา พ.ศ. 2538 และเขียนข้อมูลเกี่ยวกับไทยทรงดำเป็นครั้งแรก 30 พฤษภาคม 2540

- เขียนบทความ เรื่อง การกินอยู่อย่างผู้ลาว ในหนังสือที่ระลึกงานฉลองอายุ 85 ปี วันที่ 20พ.ย. 2554 พระครูโสภณพัชรธรรม ( เย็น จนุทโชติ ) วัดยาง เขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

- จัดพิมพ์วรรณกรรมท้องถิ่นไทยทรงดำ เพื่อเป็นบทเรียน สำหรับการเรียนการสอน เกี่ยวกับตำนาน การละเล่น บทเพลง สุภาษิตคำสอน ปริศนาคาทาย ฯลฯ ให้กับนักเรียนและผู้ที่สนใจ

- ร่วมกับคณะนักเรียนโรงเรียนเขาย้อยวิทยา ร่วมรำถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมายุครบ 87 พรรษา ที่วังไกลกังวล หัวหิน

- บทสัมภาษณ์ตีพิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพั คม ชัด ลึก ฉบับที่ 48.5 ประจำวันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

-ให้สัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับไทยทรงคำ กับหนังสือ สกุลไทยรายสัปดาห์ ฉบับที่ 3183 ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

- ให้สัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับไทยทรงคำ กับหนังสือ สกุลไทยรายสัปดาห์ ฉบับที่ 3186 ประจำวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวไทยทรงดำ เช่น เรื่องเอ็ดแฮว คือ เรือนคนตายในป่าช้าของไทยทรงดำ และเรือนแถน กับหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ประจำวันพุธ ที่ 20 สิงหาคม 2558

- เป็นผู้แปลสุภาษิตไทยคำจากหนังสือกวามเจียน ลาง ที่ตีพิมพ์เป็นรูปแบบอักษรไทดำ จากรัฐไอโอวา สหรัฐอเมริกา โดยมีผู้เรียบเรียงอักษร ไทดำคือ Dr.John Hartmann และนางปากคา อินเงิน

- นำเยาวชนกลุ่มรักษ์หนองปรงทำการแสดงและบันทึกเทปโทรทัศน์ เนื่องในงานฤดูหนาว ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

- ให้สัมภาษณ์รายการจดหมายเหตุกรุงศรี ช่อง 7 สกู๊ปเรื่องราวของชาวไทยทรงดำ(ลาวโซ่ง) ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่เมืองไทยมาเก่าแก่ ถ่ายทอดจากพิพิธภัณฑ์ปานถนอม ออกอากาศเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2559

- ให้สัมภาษณ์รายการชั่วโมงสร้างสุข ช่อง 3 family ช่วง อายุเป็นเพียงตัวเลข นำเสนอวิถีชีวิตของ อาจารย์ถนอม คงยิ้มละมัย กับการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยทรงดำ ที่พิพิธภัณฑ์ปานถนอม ออกอากาศวันที่ 22 กันยายน 2558

- เป็นแขกรับเชิญรายการผู้หญิงถึงผู้หญิง ช่อง 3 ออกอากาศวันที่ 24 ต.ค. 2558 เรื่องชาวไทยทรงดำกับพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 9

- ให้สัมภาษณ์รายการประเด็นเด็ด 7 สี เรื่อง ไทยทรงดำกับในหลวง เล่าความประทับใจขณะเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 25 ตุลาคม 2558

- ให้สัมภาษณ์รายการเรื่องเล่าเช้านี้ ช่อง 3 เรื่อง ความประทับใจที่ได้มีโอกาสแสดงฟ้อนรำแคนต่อหน้าพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเคช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิดิ์ พระบรมราชินีนาถ ในปี 2541 ออกอากาศวันที่ 4 พฤศจิกายน 2556

- นำทีมชาวไทยทรงคำมาทอผ้าสบง จีวร รัดประต ถวายแค่พระภิกษุสงฆ์ ในพระราชดำริของพระราชินี และร้องเพลงไทยทรงคำ ประกอบคนตรี ไทย ฌ พระราชวังมฤคทายวัน ชะอำ 22 ธ.ค. 2556

- นำทีมพิพิธภัณฑ์ปานถนอม เข้าร่วมจัดแสคงนิทรรศการชาติพันธุ์ไทยทรงดำ และสาธิตวิถีชีวิตชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ภายในงานที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้นเป็นประจำ

- นำนักเรียนโรงเรียนวัดหนองปรง (บุญมานุสรณ์) บันทึกเทปการแสดงชุด "รำเก็บเล็บแมว" โดย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS) เป็นผู้ดำเนิน โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "ล่นคอน ฟ้อนแคน ย้อนรอยบรรพชน" และ

จัดทำสื่อวิดิทัศน์ "รำแคน แบบไทยทรงดำ" โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถาบันวิจัยระบบการศึกษา (IRES)

8.การเผยแพร่ผลงานด้านวิชาการ และการถ่ายทอดความรู้ความสามารถด้านการแสดง

- เข้าร่วมสัมมนาผู้บริหารวัฒนธรรมระดับชาติ ณ โรงแรมเชียงใหม่พลาซ่า จ.เชียงใหม่ วันที่ 7-10 เมษายน 2535

- เข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อย เพื่อหาแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยใช้ดนตรีกะหร่าง นาเสฟ และไทดำ

- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับไทยทรงดำแก่คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดล ในโครงการวิจัยกลุ่มชาติพันธุ์ : พลวัตของการสืบสานภาษาและวัฒนธรรม ร่วมกับคณะครูโรงเรียนเขาย้อยวิทยา

- ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อมูลไทยทรงดำ เพื่อให้นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร ทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ "การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสรุปความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นไทยทรงคำอำเภอเขาย้อย"

- เข้าร่วมการสัมมนาเครือข่ายรักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ภาคกลาง โดยอาจารย์ถนอมให้ข้อคิดว่า "งานวัฒนธรรมถ้าออกมาจากชุมชนจะทำให้ได้ผลดีอย่างรวดเร็วกว่าหน่วยงานสั่งให้ทำ"

.- เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาวิชาการ OEC Day "การสานพลังความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการระบบข้อมูลสู่ความเป็นดิจิทัล" ในประเด็น ความร่วมมือที่จะพัฒนา การบูรณาการศาสนาศิลปะ วัฒนธรรมและการกีฬา กับการศึกษาทุกระดับสู่ Thailand 4.o

- นำเยาวชนกลุ่มรักษ์หนองปรงเข้าร่วมกิจกรรมกับสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยามหิคล

- ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยโตเกียว (Tokyo University of Foreign Studies) ให้ไปบรรยายเกี่ยวกับ "การสอนภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมไทยทรงดำ"

- เป็นประธานการประชุมประจำปีของมูลนิธิไทยทรงดำ (ไตดำ) ประเทศไทย ณ ไผ่คอกเนื้อตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

- บรรยายเรื่อง "การปักลายลงบนผ้าเปียว" ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี

- ร่วมเป็นวิทยากรในงานประชุมวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์ "แกะปมแก้ปัญหางานการศึกษาในพิพิธภัณฑ์ไทย จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน)

- บรรยายเรื่อง "ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยทรงดำ" เนื่องในวันภาษาไทย ณ โรงเรียนหนองชุมแสง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

- ร่วมประชุมเพื่อเตรียมการจัดงาน "มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง: วิถีวัฒนธรรมแห่งสายน้ำประตูสู่สยามประเทศ" ฌ โรงมหรสพหนังใหญ่วัคขนอน อำเภอโพธาราม จังหวัคราชบุรี

- สอนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 โรงเรียนวัดหนองปรง เกี่ยวกับการร้องเพลง

ประกอบการเล่น จำๆ เจาะๆ ตำข้าวเบื่อเปาะ 1 แต้มสะคือเด็ก เพื่อมิให้ปัสสาวะรดที่นอน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 - ปัจจุบัน

- เป็นวิทยากรระดับชาติ เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ถ่ายทำรายการวิทยุและโทรทัศน์

- จัดสร้างศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงคำ ที่โรงเรียนเขาย้อยวิทยา และเปิดบ้านพักเป็นพิพิธภัณฑ์ปานถนอม ให้เป็นแหล่งเรียนของชุมชนที่สำคัญของชุมชน



ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]