ผศ.ดร.ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์ เจ้าของ “โฮงสินไซ” ร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้แก่สำนักงานวิจัยแห่งชาติ ในโครงการศึกษาการรักษาผ้าผะเหวดวัดป่าสักดาราม จ.ร้อยเอ็ด

หมวดหมู่ เรื่องเด่น , โดย : admin , 15 กันยายน 66 / อ่าน : 763


ผศ.ดร.ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์ เจ้าของ “โฮงสินไซ” ร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้แก่สำนักงานวิจัยแห่งชาติ ในโครงการศึกษาการรักษาผ้าผะเหวดวัดป่าสักดาราม จ.ร้อยเอ็ด

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์ เจ้าของ “โฮงสินไซ” ร่วมเป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้แก่สำนักงานวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ รศ.ดร.รุงโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง และ รศ.ดร.เกรียงไกร เกิดศิริ กับโครงการศึกษาการรักษาผ้าผะเหวดวัดป่าสักดาราม จ.ร้อยเอ็ด ของคณะนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ซึ่งนับว่าเป็นโครงการวิจัยที่มีคุณค่าต่อชุมชนอย่างยิ่ง อีกทั้งยังได้ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และบริการวิชาการตามภารกิจของสถาบันการศึกษาต่อชุมชนอีกด้วย

เกร็ดความรู้ เรื่อง ผ้าผะเหวด

ผ้าผะเหวด มิได้เป็นแค่เพียงผืนผ้าเล่าเรื่องราวการบำเพ็ญเพียรบารมีของพระเวสสันดรตามชาดกเท่านั้น แต่คือผืนผ้าแห่งศรัทธาของชุมชนชาวอีสานที่ได้รับการกราบไหว้ แห่แหน และยินยลเมื่อนำมาประกอบการเทศน์ในงานบุญเดือนสี่ ซึ่งเป็นหนึ่งในฮีตสำคัญของชาวอีสาน ภาคกลางเรียกภาพลักษณะนี้ว่า พระบฏ

.

จากการศึกษาโดยนักวิชาการด้านโบราณคดีพบว่า จารึกในสมัยพระยาลิไลพบคำว่าพระบต และในสมัยอยุธยาก็มีเอกสารกล่าวถึงคำว่าพระบตเช่นกัน จึงเป็นหลักฐานยืนยันว่ามีภาพที่เรียกว่าพระบฏมาแต่เก่าก่อน แต่พระบฏเก่าแก่ที่สุดอยู่ที่กรุพระเจดีย์วัดดอกเงิน อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ เขียนด้วยสีฝุ่น ปิดทองคำเปลว คาดว่ามีอายุก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๒

.

คำว่า บฏ หมายถึง ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า พระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้า พระบฏมีหลายแบบ ส่วนใหญ่นิยมเขียนเพื่อประดับศาสนสถาน และเพื่อเป็นสื่อสอนธรรมะ ในอดีตชาวบ้านนิยมสร้างพระบฏเพราะเชื่อว่าจะได้รับอานิสงค์มาก เฉกเช่นเดียวกับการสร้างพระพุทธรูป

.

ผ้าผะเหวดของชาวอีสาน จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของพระบฏ ที่มีขนาดความยาวของเรื่องราวพระเวสสันดร ซึ่งมี ๑๓ กัณฑ์ และนิยมเขียนภาพพระมาลัย และสังกาสเอาไว้ด้วย จึงมีความยาวมาก นอกจากใช้ประดับในงานบุญเดือนสี่เพื่อประกอบการเทศน์แล้ว ยังนิยมนำไปแห่ ในพิธีแห่พระเวสสันดรเข้าเมืองทำให้ชาวบ้านได้ใกล้ชิดกับผ้าผะเหวด ชาวบ้านที่ร่วมขบวนแห่ได้มีส่วนร่วมในการจับผืนผ้า ชาวบ้านที่ไม่ได้ร่วมขบวนแห่ก็ได้ดูอย่างใกล้ชิดเมื่อขบวนแห่เคลื่อนผ่าน เสมือนเป็นนิทรรศการเคลื่อนที่ (Travelling exhibition) เคลื่อนจากวัดสู่บ้าน จากท้ายบ้านสู่วัด จากโลกสวรรค์สู่โลกมนุษย์แล

.

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพต้นฉบับจาก ผศ.ดร.ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์

.

ติดตามข่าวสารและกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. เพิ่มเติมได้ที่

Official Web : http://artculture4health.com/

Facebook : https://www.facebook.com/artculture4h

Youtube แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมสุขภาพ : http://bit.ly/3YVFSl5

Instagram : https://www.instagram.com/artculture4health/

Twitter : https://twitter.com/art_culture4h

Tiktok : https://www.tiktok.com/@artculture4health

#แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพสสส #สสส #โฮงสินไซ #ผะเหวด #สถาบันวิจัยแห่งชาติ



ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]