คอลัมน์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์: รักอ่าน รักเขียน รักเรียนรู้ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 |
|
เคยฟังเด็กสองคนเถียงกันสนุกดี ดังนี้ เด็กคนโตว่า "ตัวเองอ่านหนังสือไม่ออก แล้วมาเอาหนังสือของเขาไปทำไม" เด็กคนเล็กว่า "แล้วตัวเองอ่านหนังสือไม่ออกอย่างเขาได้มั้ยล่ะ" คนเล็กเถียงตะแบงไปอย่างนี้ เพียงเพื่อจะเอาชนะคำสบประมาท ที่ว่า "อ่านหนังสือไม่ออก" เท่านั้นเอง นี่ถ้าคนโตจะเอาชนะในประเด็นว่า ตนก็ "อ่านหนังสือไม่ออก" ได้ แม้จะอ่านออกแล้วก็เถิด ก็น่าจะเถียงว่า "ทำไมจะไม่ได้ ถ้าเขาจะไม่อ่านหนังสือเลย อีกหน่อยก็อ่านไม่ออกเอง ง่ายจะตาย" ประมาณนี้ ประมาณนั้น น่ะนะก็นี่ไงสมกับคำของผู้รู้ที่ว่า "คนที่รู้หนังสือแต่ไม่อ่านหนังสือก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่ไม่รู้หนังสือ" การอ่านหนังสือจึงสำคัญนัก ไม่ใช่เพียงเพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของการ "อ่านไม่ออก" ดังประเด็นเถียงกันแบบเด็กๆ เท่านั้น หากเป็นเรื่องของคนที่ไร้การศึกษานั่นเลย เคยเขียนเรื่อง "หนังสือบังคับอ่าน" ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับปลายเดือนตุลาคม 2559 มาแล้ว ถึงสาเหตุปัญหาของหนังสือบ้านเราวันนี้ พร้อมเสนอกิจกรรม "หนังสือบังคับอ่าน" ในชั้นเรียนตั้งแต่ระดับประถมถึงมัธยมไว้เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าทำได้จริงก็จะสร้างนิสัย "รักการอ่าน" ให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ทั้งประเทศได้จริงด้วย ดังยกตัวอย่าง เช่น ชั้นประถมหนึ่ง สัปดาห์นี้เด็กทุกคนอ่านนิทานเรื่องปลาบู่ทอง ถึงปลายสัปดาห์เด็กทุกคนต้องมานั่งคุยกันถึงความคิดเห็นที่ได้จากการอ่านเรื่องปลาบู่ทอง ที่ยกเรื่องปลาบู่ทองเป็นตัวอย่างก็ด้วยเห็นเป็นนิทานไทยแท้ๆ แต่โบราณอันมีอิทธิพลที่กลายเป็นค่านิยมของคนไทยว่าเป็นปลาต้องห้าม ไม่นำมากินกัน เพราะเชื่อกันว่า มีวิญญาณของแม่นางเอื้อยสิงอยู่ในปลาบู่นั้น นี่คืออิทธิพลที่ยังทรงอยู่จากอดีตถึงปัจจุบัน ในนิทานเรื่องปลาบู่ทองแม้คนจะไม่ได้อ่าน ไม่ได้ฟัง ไม่รู้เรื่องกันแล้ว หากยังทรงอิทธิพลอยู่ในสังคมไทยมาตลอดาคิดก็คือ นิทานไทยเรื่องง่ายๆ แค่นี้หากแฝงแง่คิดยิ่งน่ใหญ่ไว้อย่างไม่น่าเชื่อ คือ แง่คิด "อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม" ว่า อาจมีวิญญาณของพ่อแม่เราสถิตอยู่ในสัตว์ต่างๆ เช่น ปลา นก (ตามเรื่องคือ นกแขกเต้า) ในต้นไม้ใหญ่น้อยที่มีบุญคุณต่อเรา เช่น ต้นมะเขือ ต้นโพธิ์ แนวคิดนี้สะท้อนสัจธรรมสากลสมยุคปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม และยังสมหลักปรัชญาเรื่องความเป็น "หนึ่งเดียว" กันของธรรมชาติ ชีวิต สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) เคยให้ข้อคิดว่า เมื่อใดคนเริ่มคิดว่าต้องรักษาสิ่งแวดล้อม เมื่อนั้นคือคนเริ่มแยกตัวเองออกจากสิ่งแวดล้อม เห็นว่าสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องดูแลรักษาเพื่อประโยชน์แก่คนนั่นเอง แท้จริงแล้วสิ่งแวดล้อมกับคนล้วนเป็น "หนึ่งเดียว" กัน ง่ายๆ เช่น ลมหายใจเข้าออกของเราก็มาจากอากาศรอบตัวเรานี่เอง ยังอื่นอีกมากมาย เช่น อาหาร เป็นต้น เพราะฉะนั้น สิ่งแวดล้อมก็คือเรา เราก็คือสิ่งแวดล้อม แยกกันไม่ได้เลย นี่คือปรัชญา ที่แฝงอยู่ในนิทานเรื่องปลาบู่ทองาเด็กทุกคนได้อ่าน ได้พูดคุยกันหลังถ้จากอ่านจบ บางทีก็อาจได้แง่คิดหลากหลายเพิ่มขึ้น นี่ไง "ความคิดอ่าน" คือความคิดที่ได้จากการอ่าน ลองคิดดูเถิดถ้าเด็กและเยาวชนของเราตั้งแต่ประถมถึงมัธยมได้อ่านหนังสือและร่วมแสดงความคิดเห็นที่ได้จากการอ่านหนังสือสัปดาห์ละเล่ม หรือเล่มหนึ่งหลายสัปดาห์ ดังนี้แล้ว เด็กไทยเราจะอ่านหนังสือกันปีละหลายสิบเล่มนั่นเลย สิงคโปร์นั้นเด็กเขาอ่านหนังสือกันปีละราวหกสิบเล่ม ถ้าโครงการ "หนังสือบังคับอ่าน" ดังกล่าวเป็นจริง การศึกษาไทยจะยกระดับขึ้นไม่แพ้ใครในกลุ่มอาเซียนได้จริงด้วย เด็กมัธยมที่ฝรั่งเศสนั้นอ่านวรรณกรรมเอกของโลกทั้งหมดแล้วก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ทราบว่า ครม. ผ่านมติแผนแม่บทส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ของไทย พ.ศ.2560-2564 ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้เสนอแล้ว มีกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้แผนแม่บทนี้ แผนนี้มีโครงการอยู่ภายใต้จำนวน 25 โครงการ เป็นเงินที่อนุมัติแล้วจำนวน 5,008,438,240 บาท ห้าพันกว่าล้าน เป็นเวลาห้าปี น่าตื่นตาตื่นใจดี ขอเสนอความเห็นว่า ปัจจัยชี้ขาดของแผนนี้คือ การสร้างนิสัย "รักการอ่าน" อย่างอื่นล้วนเป็นเงื่อนไขทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ ห้องสมุด ฯลฯ ถ้าไม่ "รักอ่าน" เสียแล้ว งบฯ ห้าพันล้านก็จะเข้าตำรา "ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ" หาไม่ก็จะเป็นอย่างที่เด็กสองคนเถียงกันดังยกมาข้างต้นนั้น ฝากเรื่อง "หนังสือบังคับอ่าน" ไว้ในแผนปฏิบัติฯ ด้วย เรื่องสร้างนิสัย "รักอ่าน" นี่แหละเป็นปัจจัยชี้ขาด |
|
-มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560- |
แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)
128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]