ร่วมให้กำลังใจ ทีม Domestic+City Unit กับการแสดงนิทรรศการผลงาน "ระยะที่ถูกลืม" ที่ชั้นใต้ดิน อาคารไปรษณีย์กลาง 4 - 12 Feb 2023 ในเทศกาล Bangkok Design Week 2023
ผลงาน "ระยะที่ถูกลืม" นี้ถูกพัฒนาต่อยอดจากโครงการ Design Action Hero : ดีไซน์ดีมีแต่ได้ จากน้องทีม Domestic+City Unit จากกระบวนการทำงานภายใต้โจทย์ Creative Playground
ชื่อผลงาน
"ระยะที่ถูกลืม"
The Forgotten Dimension by Domestic+City Unit
Bangkok Design Week 2023
.
ระยะที่ถูกลืม The Forgotten Dimension นิทรรศการที่เกิดจากการตั้งคำถามว่า ระบบ standardization ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการอ้างอิงสัดส่วนของรายละเอียดในการออกแบบสถาปัตยกรรมซึ่งมีอิทธิพลจากยุโรปนั้นได้มองข้ามรูปแบบสถาปัตยกรรมและลักษณะวัฒนธรรมท้องถิ่นของไทยไปหรือไม่ เพราะปัญหานี้ได้ส่งผลกระทบไปถึงเรื่องการวางผังเมือง การออกแบบพื้นที่ในเมือง การออกแบบทางเท้า รวมถึงพื้นที่สาธารณะต่างๆ ว่าควรจะมีรูปแบบอย่างไรเพื่อให้การพัฒนาเมืองและรากเหง้าทางวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน กลุ่ม Domestic + City Unit กลุ่มสถาปนิกและนักออกแบบรุ่นใหม่เชื่อว่า การจะพัฒนาเมืองที่ดีได้นั้นไม่ได้เกิดจากการออกแบบอย่างเดียว แต่รวมถึงการตั้งคำถามและหาคำตอบถึงปัญหาที่อยู่ภายในสังคม ในบริบทที่แตกต่างของเมือง ว่างานออกแบบจะสามารถสร้างอิทธิพลด้านบวกและโอบรับกับสังคมที่เต็มไปด้วยความหลากหลายนี้ต่อไปอย่างไร หลังจากที่ Ernst Neufert ได้นำเสนอหนังสือ Architects’ Data และได้นำเสนอความคิดในเรื่องการออกแบบด้วยระบบ standardization ขึ้นมาในสาขาสถาปัตยกรรม ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลไว้หลากหลายรูปแบบตั้งแต่ขนาดอุปกรณ์เครื่องครัวไปจนถึงทุกสัดส่วนของรายละเอียดในสถาปัตยกรรม ทำให้ในปัจจุบัน Architects’ Data ของ Neufert เป็นหนังสือที่มีอิทธิพลและได้รับการอ้างอิงมากที่สุดในโลก รวมถึงในวงการสถาปนิกและนักออกแบบไทย ถึงแม้ว่าหนังสือ Architects’ Data จะสร้างความสะดวกสบายและประโยชน์อย่างมหาศาลต่อวิชาชีพสถาปนิก แต่อย่างไรก็ดี แนวคิดในเรื่องระบบ standardization ถูกออกแบบและจัดการผ่านแนวคิดของ Neufert ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นแนวความคิดและอิทธิพลจากยุโรปเป็นสำคัญ ด้วยเหตุผลนี้ การนำแนวคิดระบบ standardization จากฝั่งตะวันตกมาใช้ในบริบทของประเทศไทยนั้นอาจส่งผลให้สถาปนิกหรือนักออกแบบไทยหลงลืมหรือมองข้ามความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างสถาปัตยกรรมกับลักษณะวัฒนธรรมท้องถิ่นได้ ปัญหานี้ส่งผลกระทบไปถึงการวางผังเมือง การออกแบบพื้นที่ในเมือง รวมถึงการออกแบบพื้นที่สาธารณะว่าควรจะมีรูปแบบอย่างไรเพื่อให้การพัฒนาเมืองและรากเหง้าทางวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน ตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน คือการวางผังเมืองกรุงเทพมหานคร ที่รูปแบบการออกแบบพื้นที่ในเมืองได้มองข้ามการออกแบบทางเท้า รวมถึงพื้นที่สาธารณะว่าควรจะมีรูปแบบอย่างไรเพื่อให้การพัฒนาเมืองและรากเหง้าทางวัฒนธรรมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน
โปรเจกต์ ‘A Forgotten Dimension: ระยะที่ถูกลืม’ เป็นการนำเสนอผลงานเพื่อนำเสนอการค้นหาและตั้งคำถามถึงการใช้พื้นที่รอบตัวของเราในทุกๆ วัน โดยปราศจากการพูดถึงรูปแบบทางกายภาพ แต่ผ่านการพูดถึงขนาดและสัดส่วนของสิ่งของต่างๆ รอบตัว รวมถึงกิจกรรมภายในชีวิตประจำวันของคนไทย ผลงานการวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นสร้างการตระหนักรู้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชมผลงานเพื่อพิจารณาว่า สัดส่วนภายในสถาปัตยกรรมและระบบ standardization นั้นส่งผลกระทบต่อวิธีคิดในการออกแบบมากแค่ไหน
Domestic + City เชื่อว่าการจะสร้าง เมือง-มิตร-ดี ภายในสังคมของเรานั้น ไม่สามารถจะพึ่งพาผ่านวิธีแก้ปัญหาแบบ ‘One Size Fits All” ได้ แต่จำเป็นต้องใช้แนวคิดที่หลากหลาย และวิธีการแก้ปัญหาหลายรูปแบบมารวมกัน เพื่อที่จะสร้างเมืองที่มีความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อผู้คนได้ในอนาคต
.
.
ผลงานจัดแสดงที่ ชั้นใต้ดิน อาคารไปรษณีย์กลาง
ตั้งแต่วันที่ 4 - 12 Feb 2023
ย่านเจริญกรุง - ตลาดน้อย
.
.
Bangkok Design Week 2023
urban‘NICE’zation
เมือง-มิตร-ดี
.
.
แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)
128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]