(1) โครงการกิจกรรมเชื่อมโยงคุณค่าท้องถิ่น สู่อนาคตของวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคม (Social Enterprise) โดยบริษัท สงขลาเฮอริเทจ จำกัด SKA Heritage และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ร่วมด้วยภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ (เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าสงขลา) โดยหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กับหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
และ (2) โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก กิจกรรม : พัฒนาตลาดวัฒนธรรมย่านเมืองเก่าสงขลา สู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบบูรณาการ โดยชุมชนบ้านบน ถนนพัทลุง เมืองเก่าสงขลา และคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
กิจกรรมในสุดสัปดาห์นี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ ที่ยังมีอีกหลายสิ่งรอให้เหล่า First Avengers #The_Hybrid_Historian ทั้ง 10 คนร่วมภารกิจทั้งสานต่อและเผยแพร่ จึงขอฝากให้ชาวชุมชนเมืองเก่าสงขลาบ่อยาง และภาคส่วนต่าง ๆ เมตตาเด็ก ๆ มีส่วนร่วมกันสร้างนักสื่อสารสังคมที่มีทักษะประวัติศาสตร์เป็นฐานเพื่อการพัฒนา
ขอบคุณ ชาวชุมชนบ้านบน ถนนพัทลุง เมืองเก่าสงขลาบ่อยาง , โต๊ะอิหม่ามสมศักดิ์ หวันละเบ๊ะ , ชาวชุมชนหนองจิก เก้าห้อง เมืองเก่าสงขลาบ่อยาง , คุณรังษี รัตนปราการ นายกภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม , อาจารย์วุฒิชัย เพชรสุวรรณ กรรมการวิชาการภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม , คุณจักรกฤษณ์ ภัทรนิตย์ กรรมการชุมชนหนองจิก เก้าห้อง , คุณปกรณ์ รุจิระวิไล A.E.Y. Space , ดร.ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และคณะที่ปรึกษาแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ , อาจารย์พนิดา ฐปนางกูร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) , คุณนิภาวรรณ กาญจนพิทักษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา และคุณดวงใจ นันทวงศ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท สงขลาเฮอริเทจ จำกัด ร่วมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนา ศิริโชติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา , อาจารย์ชัยวัฒนภัทร เลาสัตย์ รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา บริการวิชาการ และวิเทศสัมพันธ์ และคณาจารย์จากหลักสูตรต่าง ๆ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา , อาจารย์วงศ์วรุตม์ อินตะนัย ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา อาจารย์กัลย์วดี เรืองเดช อาจารย์นันทยา ศรีวารินทร์ อาจารย์บัญชา จุลุกุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยกุล บุญญาศรีรัตน์ (ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยกุล บุญญาศรีรัตน์ รับอีกหนึ่งหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ เวทีหลักบนถนนพัทลุง ร่วมกับอาจารย์วุฒิชัย เพชรสุวรรณ)
ซึ่งในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วสิน ทับวงษ์ Wasin Tabwong Historian ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เพื่อการสื่อสารสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (SKRU) รับอีกหนึ่งหน้าที่บรรยายนำชม Walk Tour ศาลเจ้า อันเป็นผลมาจากสมมติฐานการสร้างบ้านแปลงเมืองสงขลาบ่อยาง จากผู้คนหลากที่มาหลายความเชื่อ ในเมืองเก่าสงขลาบ่อยาง อันเป็นเมืองพหุวัฒนธรรมตราบถึงปัจจุบัน
• สมมติว่าตามรอยรอนแรมโล้สำเภาจากเมืองไห่เฉิง มณฑลฝูเจี้ยน มาขึ้นเรือที่ท่าน้ำศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์ ก้าวแรกแห่งสงขลาบ่อยาง เยื้องย่างไปบนถนนหนองจิก ข้ามจุดตัดถนนหนองจิกกับถนนนครนอกซึ่งเป็นถนนเลียบกำแพงเมืองทางทิศตะวันตก ผ่านช่องทางประตูศักดิ์สิทธิ์พิทักษ์ ข้ามจุดตัดถนนหนองจิกกับถนนนครใน ที่เคยถูกเรียกว่าถนนตลาดเนื่องจากเป็นย่านการค้าสำคัญของเมือง ยังคงเดินอยู่บนถนนหนองจิก ฝากเนื้อฝากตัวกับปุนเถ้ากง ที่ศาลเจ้าปุนเถ้ากง
• เดินผ่านชุมชนหนองจิก เก้าห้อง ตรงไปสุดถนนหนองจิก-ถนนนางงาม คารวะเจ้าพ่อกวนอูเวอร์ชั่นถือตำรา พระโพธิสัตว์เกี่ยหล่ำ เจ้าแม่จู้แซเหนี่ยวเนี้ยว ณ ศาลเจ้าพ่อกวนอู
• ลัดเลาะผ่านสมาคมจีนฮกเกี้ยนเมืองสงขลา เลียบโรงอุปรากรจีน (งิ้ว)
• สักการะเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา พระหลักเมือง หลักเมืองไม้ชัยพฤกษ์พระราชทานจากรัชกาลที่ 3 และหลักเมืองซีเมนต์ที่สร้างขึ้นเคียงข้างในรัชกาลที่ 6 พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระครูหมอ เจ้าแม่กวนอิม ไฉ่ซิงเอี้ย ไท้ส่วยเอี้ย เจ้าแม่ทับทิม ป้ายพระนามรัชกาลที่ 5 พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) เจ้าพ่อเสือ ณ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา
• เดินย้อนถนนนางงาม เลี้ยวเข้าถนนยะลา ชมสถาปัตยกรรมศาลเจ้าโป้อันเตียน (โก้ยเซ่งอ๋อง) ที่ยังคงคุณค่าด้วยรูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมเดิม
• ปิดท้ายด้วยหลักการ “รู้จักสงขลาในหนึ่งฝ่ามือ” เพื่อทำความเข้าใจเมืองสงขลาบ่อยางง่าย ๆ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นใดให้ยุ่งยาก
ภาพถ่ายโดย แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
อ่านข่าวจากหน้าเว็บไซต์ ที่นี่