โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมฯ จับมือสภาการหนังสือพิมพ์ฯ และ SONP อบรมพัฒนาศักยภาพสื่อภูมิภาคเพื่อเรียนรู้ทิศทางการนำเสนอข่าวในสื่อออนไลน์ พร้อมมองหาแนวทางทำสื่อเพื่อป้องกันเฟคนิวส์ในพื้นที่

หมวดหมู่ รายงานพิเศษ , โดย : admin , 5 สิงหาคม 65 / อ่าน : 829


โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมฯ จับมือสภาการหนังสือพิมพ์ฯ และ SONP อบรมพัฒนาศักยภาพสื่อภูมิภาคเพื่อเรียนรู้ทิศทางการนำเสนอข่าวในสื่อออนไลน์ พร้อมมองหาแนวทางทำสื่อเพื่อป้องกันเฟคนิวส์ในพื้นที่

เมื่อวันที่ 6-8 พฤษภาคมที่ผ่านมา ที่โรงแรมทีเค พาเลช กรุงเทพมหานคร โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียรู้ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อภูมิภาค โดยมีสื่อมวลชนกว่า 11 สำนักจากทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรม อาทิ สงขลาโฟกัส, นครเชียงรายนิวส์, ล่องใต้นิวส์, Makkheang, ตรังไทม์, ลานนาโพสต์, ประชามติตราด, Esanbiz, หัวหินสาร, เชียงใหม่นิวส์ และหนังสือพิมพ์สมุทรปราการโพสต์

โดยดร.ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียรู้ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพสื่อภูมิภาคครั้งนี้ เราต้องการที่จะดึงศักยภาพของสื่อมวลชนมาทำงานขับเคลื่อนสังคม ให้รู้เท่าทันสื่อที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลายในสังคมปัจจุบันนี้ ซึ่งการให้ความรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพสื่อภูมิภาคโดยมีการรวบรวมเนื้อหาสาระสำคัญที่ทางโครงการจัดทำขึ้นมาทั้งสิ้น 8 หัวข้อเนื้อหา อาทิ 1. หัวข้อ Digital Landscape & Trends 2022 โดย คุณแมนรัตน์ แปลกลำยอง ต่อด้วยการชี้แจงทิศทางการขับเคลื่อนโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม โดย ดร.ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียรู้ ตามด้วยหัวข้อที่ 2.การสื่อสารสุขภาวะ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ , หัวข้อที่ 3. กฎหมาย จริยธรรม โดย อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ , หัวข้อที่ 4.การวางแผนการเล่าเรื่องข้ามสื่อกับความท้าทายในงานข่าว โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม และหัวข้อที่ 5. มาตรฐานชุมชนออนไลน์ (Community Standard) ในการนำเสนอเนื้อหาของ แต่ละแพลตฟอร์ม โดยอาจารย์ปาจารีย์ ปุรินทวรกุล

หัวข้อที่ 6 เป็นเนื้อหาเรื่องการวางแผนกำหนดทิศทางการนำเสนอข่าวและการหารายได้ และร่วมกันทำ Workshop : การวางแผนกำหนดทิศทางการนำเสนอข่าว การสร้างแบรนด์ เข้าใจเรื่อง การตลาด และการหารายได้ ของสื่อออนไลน์ โดย คุณระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์

ส่วนหัวข้อที่ 7. เกี่ยวกับเวทีเสวนาประสบการณ์ขององค์กรสื่อกระแสหลักกับการหารายได้จากคอนเทนท์ โดยคุณธีรยุทธ ชุณหบดี Editor in chief สื่อออนไลน์ Next by Nation , คุณนันทสิทธิ์ นิตย์เมธา ผู้ช่วยผู้อำนวยการส่วนงานกลยุทธ์ธุรกิจสื่อใหม่ PPTV HD 36 , คุณสราลี แซ่เตี๋ยว ผู้จัดการ เชียงใหม่นิวส์ และมีคุณระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ดำเนินรายการ โดยในหัวข้อนี้มีการให้ผู้ร่วมกิจกรรมทำ Workshop การวางแผนกำหนดทิศทางและรูปแบบการนำเสนอข่าวในสื่อออนไลน์ และ นำเสนอแผนการนำเสนอข่าวในสื่อออนไลน์ จากนั้นเป็นกิจกรรมเล่าสู่กันฟัง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ มองการทำงานร่วมกันในอนาคต โดยคุณภูวสิษฏ์ สุขใส

สำหรับหัวข้อที่ 8 เป็นเนื้อหาเรื่อง SEO & Google Analytic โดย คุณก้าวโรจน์ สุตาภักดี Associate Director TNN16 ทั้งนี้ในช่วงบ่ายผู้เข้าอบรมได้นำเสนอทิศทางการนำองค์ความรู้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์ในองค์กร และการนำเสนอการทำสื่อเพื่อป้องกันเฟคนิวส์ในพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ ก่อนจะมีการสรุปการอบรมและให้ข้อเสนอแนะต่อผู้อบรม โดย ผู้แทนสภาการสื่อสารมวลชน อาทิ คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี , รองศาสตราจารย์ดร.สุกัญญา บูรณเดชาชัย , คุณระวี ตะวันธรงค์ , คุณเสด็จ บุนนาค นักวิชาการโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม , อาจารย์มานพ แย้มอุทัย , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ , รองศาสตราจารย์ดร. เกศินี ประทุมสุวรรณ , ผู้ช่วยศาสตราจาย์ดร.ประภาส นวลเนตร , ดร.ดนัย หวังบุญชัย , ดร.โศภชา เอี่ยมโอภาส , คุณแมนรัตน์ แปลกลำยอง , คุณสืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต และ คุณอุมาพร ตันติยาทร

โดยรองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ ผู้บรรยายในรายวิชาการสื่อสารสุขภาวะ กล่าวว่า เนื้อหาเรื่องการสื่อสารสุขภาวะเป็นเรื่องที่จะทำให้สื่อมวลชนหรือผู้ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมได้เรียนรู้การนำหลักการ วิธีคิด วิธีการในการสื่อสารไปใช้กับการพัฒนาสุขภาวะ เป็นการสื่อสารที่จะเปลี่ยนแปลงทัศนะคติของคน ที่สำคัญทำให้เห็นถึงบทบาทในการสื่อสารว่ามันสามารถที่จะเข้าไปเปลี่ยนพฤติกรรมของคนที่เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดเป็นสุขภาวะที่ดีหรือการสื่อสารนั้นเกิดทุขภาวะก็ได้ เพราะการสื่อสารนี้หากสามารถทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เป็นการสื่อสารกับภายในจิตใจของคนนั่นเอง และในอีกด้านหนึ่งนอกจากเป็นการสื่อสารเพื่อเปลี่ยนจิตใจของคนแล้วการสื่อสารนี้ก็สามารถเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมรอบตัวของผู้รับสารได้เช่นกัน เมื่อผู้ส่งสารซึ่งในที่นี่คือสื่อมวลชนเมื่อเห็นเรื่องราวของพื้นที่ เห็นปัญหาของพื้นที่ เมื่อสร้างเนื้อหาในเชิงสร้างสรรค์ออกมาและสื่อสารไปพร้อมกับการนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้จะเกิดประโยชน์สูงสุดในการสื่อสารนั้นๆ ได้

ด้านคุณระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ และผู้บรรยายเนื้อหาเรื่องการวางแผนกำหนดทิศทางการนำเสนอข่าวและการหารายได้ การกำหนดทิศทางการนำเสนอข่าว การสร้างแบรนด์ เข้าใจเรื่อง การตลาดของสื่อออนไลน์ กล่าวว่า ปัจจุบันสื่อมวลชนมีความหลากหลายเรื่องของวัยซึ่งมีทั้งสื่อดั้งเดิม และคนรุ่นใหม่ และเมื่อดูถึงสถานการณ์สื่อปัจจุบันแล้วการสื่อสารผ่านสื่อดิจิตอลนั้นเริ่มเกิดขึ้นเป็นเทรนใหม่ที่ได้รับความนิยมมากขึ้น การบรรยายเรื่องนี้ถือเป็นการต่อยอดในเรื่องของเทคนิค และวิธีการที่จะทำให้สื่อดั้งเดิมต่อยอดการทำงานให้แข็งแรงมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อเกิดความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยี เครื่องมือดิจิตอลที่หลากหลาย เทคนิควิธีการในการสื่อสารที่ลึกขึ้นกว่าเดิมก็จะส่งผลในเรื่องของการเข้าถึงกลุ่มคนได้มากขึ้นและจะสามารถหารายได้ในธุรกิจได้มากขึ้นเช่นกัน

ซึ่งนางสาวพัชรี เกิดพรม ตัวแทนสื่อมวลชนจากส่องใต้นิวส์ บอกว่า เนื้อหาสาระที่ทางโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียรู้ นำมาถ่ายทอดในครั้งนี้มีประโยชน์ในการนำกลับไปปรับใช้กับการทำงานข่าวในปัจจุบันได้เยอะมาก เพราะกระแสสังคมปัจจุบันนี้เริ่มเปลี่ยนทิศทางมาเป็นดิจิตอลมากขึ้น คิดว่าจะนำสิ่งที่ได้รับนี้ไปปรับใช้กับการทำงานแน่นอน เพราะคาดหวังว่าเราจะเป็นกระบอกเสียงให้กับชาวบ้านและประชาสัมพันธ์เรื่องราววิถีชีวิต ประเพณี อาหาร การท่องเที่ยว และรายงานข่าวตามกระแสในบริบทของคนในพื้นที่ซึ่งจะทำการเผยแพร่ลงยังทุกแพลตฟอร์ม และจะผลิตเนื้อหาให้น่าสนใจตามเป้าหมายที่เน้นเข้าถึงและเข้าใจง่ายในรูปแบบของชาวบ้านแต่ยังคงอยู่ภายใต้จรรยาบรรณของสื่อ

ทั้งนี้ ดร.ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคมแห่งการเรียรู้ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวเสริมทิ้งท้ายว่า ทั้ง 8 เนื้อหาสาระวิชาที่นำมาสื่อสารในครั้งนี้นอกจากจะนำมาพัฒนาศักยภาพสื่อภูมิภาคแล้ว ทางโครงการฯ ยังมีการจัดทำเป็นรูปแบบออนไลน์เพื่อให้ความรู้กับสาธารณชนด้วย ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาติดตามความรู้เหล่านี้ได้ที่

www.artculture4health.com เพื่อให้สื่อมวลชนที่ไม่ได้เข้าร่วมและบุคคลทั่วไปที่สนใจนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้กับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน ซึ่งเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทเรียนเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้กับสังคมได้ในระยะยาว สำหรับทุกสำนักข่าวที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้นอกจากได้ความรู้ในครั้งนี้ไปแล้ว เรามาติดตามกันต่อไปครับว่าทุกๆ สำนัก จะนำไปใช้งานอย่างไรต่อไป เร็วๆ นี้สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ที่ www.artculture4health.com เช่นกัน

อ่านข่าวจากหน้าเว็บไซต์ ที่นี่



ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]