อนุกมธ.ด้านศิลปะและวัฒนธรรม จัดสัมมนาเรื่อง “แนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน” (องค์การมหาชน) ภาคเหนือตอนล่าง ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
อนุกมธ.ด้านศิลปะและวัฒนธรรม จัดสัมมนาเรื่อง “แนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน” (องค์การมหาชน) ภาคเหนือตอนล่าง ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.30 นาฬิกา ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา โดยคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับมูลนิธิสร้างเสริมศิลปวัฒนธรรมภาคประชาชน และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมสัมมนาเรื่อง “แนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน” (องค์การมหาชน) ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อประมวลความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่การจัดให้มีองค์การสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน โดยมี ดร. ยุทธพงษ์ ทองพบ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม และกล่าวรายงาน และรองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ ประธานคณะทำงาน กล่าวเปิดการสัมมนา
โอกาสนี้นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม บรรยายพิเศษเรื่อง ”ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน” โดยกล่าวว่า ภาษา ภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรม ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น ยังคงเป็นสิ่งที่สะท้อนความงามและความเจริญของมนุษย์ทั้งยังเป็นรากฐาน พื้นฐาน และภูมิฐาน อันเป็นอารยธรรมที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ที่ผ่านมาการดำเนินงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม จะอยู่ภายใต้กรอบการดำเนินงานของภาครัฐ โดยมีภาคเอกชนสนับสนุน แต่สำหรับภาคประชาชนอาจยังไม่ได้มีบทบาทและการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง การสะท้อนปัญหา การพัฒนานโยบาย การเร่งรัดติดตามและการเสนอแนะที่มีแนวทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน หัวข้อนี้เป็นประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่การจัดให้มีองค์กรในรูปแบบสถาบันเพื่อบริหารจัดการดูแลให้เป็นเอกภาพ มิใช่กระจัดกระจายดังสภาพที่เป็นอยู่
.
สถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์กรมหาชน) นี้ต้องมีลักษณะพลังสามภาคส่วน คือ ภาคราชการ ภาคเอกชน (ธุรกิจ) ภาคประชาชน ดังเรียก ไตรภาคี ซึ่งต้องเป็นเอกภาพกันอย่างมีดุลยภาพอันเป็นเรื่องต้องลงลึกในรายละเอียดต่อไป
.
ซึ่งในภาคเหนือตอนล่างได้มีการระดมสมองเพื่อรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวด้วย จำนวน 3 กลุ่ม
1. กลุ่มภูมิภาษาและวรรณศิลป์
2. กลุ่มภูมิบ้านภูมิเมือง
3. กลุ่มภูมิปัญญาแผ่นดิน
.
จากนั้น ได้มีการนำเสนอผลการหารือกลุ่มย่อยและการรับฟังความคิดเห็น ทั้งนี้ คณะอนุกรรมาธิการจะได้รวบรวมข้อมูลจากการสัมมนาดังกล่าวไว้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาต่อไป
อ่านข่าวจากหน้าเว็บไซต์ ที่นี่