สงขลา - รศ.ดร.ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยทักษิณ ร่วมต้อนรับคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ที่เข้าร่วมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) โดยได้รับเกียรติจาก นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนาและปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน” สำหรับโครงการสัมมนาแนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) ภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันหาแนวทางการจัดตั้งสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) รวมตลอดจนดำเนินการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็น และรวบรวมข้อมูลเพื่อพัฒนางานวิชาการภายใต้การจัดการองค์ความรู้ และแนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน ณ ห้องประชุมบ้านซูซูกิ อาคารพาไล สถาบันทักษิณคดีศึกษา จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา
รศ.ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ ประธานคณะทำงานฯ ได้นำเสนอข้อมูลพื้นฐานในระดับประเทศภายใต้แนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน และกล่าวถึงโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสู่การจัดตั้งสถาบัน ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) ในครั้งนี้ว่า คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ได้มีมติ เห็นชอบเรื่องและประเด็นการปฏิรูปตามแนวทางของรัฐบาล ภายใต้ข้อเสนอโครงการ/กิจกรรมสำคัญ ที่ควรเร่งรัด (Big Rock) ประเด็นที่ 1 : ประเด็นภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน ไปเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2563 และได้ส่งมอบต่อคณะกรรมการแผนการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผ่านคณะกรรมการตรวจสอบและเร่งรัดการปฏิรูป วุฒิสภาแล้วนั้น ประเด็นภูมิภาษา และปัญญาแผ่นดิน มีสาระสำคัญดังนี้ โครงการ/กิจกรรมสำคัญที่ควรเร่งรัด (Big Rock) : ประเด็นภูมิภาษา และปัญญาแผ่นดิน ผลักดันการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานและพัฒนา เพื่อส่งเสริมภูมิภาษาและภูมิปัญญา แผ่นดิน ทั้งของท้องถิ่นและของชาติ ทั้งในด้านภูมิบ้านภูมิเมือง (โบราณสถาน แหล่งเรียนรู้ทาง ประวัติศาสตร์มรดกทางวัฒนธรรม) ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น (ภูมิรู้ศิลปวัฒนธรรมจากปราชญ์ชาวบ้าน) และด้านภูมิภาษาและวรรณกรรม รวมถึงเพลงพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงาม เพื่อให้ตระหนักและเกิดความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของชาติและวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้กับ ประชาชนทุกช่วงวัย ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน คือ คนไทยตระหนักในคุณค่าของ ศิลปวัฒนธรรมที่บรรพชนสร้างไว้ เพื่อสืบสาน วิจัย และพัฒนาต่อไป ทั้งจากโบราณสถาน แหล่งเรียนรู้ ทางประวัติศาสตร์มรดกทางวัฒนธรรมภูมิรู้ศิลปวัฒนธรรมจากปราชญ์ชาวบ้าน ภาษาและวรรณกรรม รวมถึงเพลงพื้นบ้าน ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงาม รวมทั้งสร้างสุนทรียะในเรื่องศิลปวัฒนธรรม ให้แก่ประชาชนทุกช่วงวัย ผ่านรูปแบบและช่องทางต่างๆ และส่งเสริม สนับสนุนให้สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษาสถาบันศาสนาให้มีบทบาทในการสร้างความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมชาติและท้องถิ่นของตนเอง
การสัมมนาในครั้งนี้เป็นโครงการที่คณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับคณะทำงานจัดทำรายงานพิจารณาศึกษา เรื่องแนวทางการขับเคลื่อนภายใต้แนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดินในคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดสัมมนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านปัจจัยเงื่อนไข องค์ประกอบและทิศทางในการขับเคลื่อนสู่การเป็นสถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) ที่จะเป็นองค์กรที่บริหารจัดการระบบหนังสือทั้งระบบ ตั้งแต่นักเขียน หนังสือทั้งที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์และดิจิทัล กระบวนการผลิตเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงหนังสือได้ การแปลวรรณกรรมทั้งจากต่างประเทศและแปลวรรณกรรม ไทยสู่สากล การจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชาติทั้งด้านภาษาและภูมิปัญญาท้องถิ่นการเปิดพื้นที่ ทางวัฒนธรรม การจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ การสร้างสุนทรียะในเรื่องศิลปวัฒนธรรมให้แก่ประชาชน ทุกช่วงวัย ผ่านรูปแบบต่างๆ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านสื่อสารมวลชน และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในทุกช่องทาง การเปิดมิติในการทำงานเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมประสานความร่วมมือ ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนภาคประชาสังคมและสื่อสารมวลชนให้มีบทบาทในการรณรงค์สร้างความภาคภูมิใจด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมประกอบด้วยการปาฐกถาพิเศษการบรรยาย การอภิปราย การแบ่งกลุ่ม การสัมมนาแบบระดมสมอง (Brainstorming) และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องกว่า 70 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2565 ประกอบด้วยคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม คณะทำงานจัดทำรายงานพิจารณาศึกษาเรื่องแนวทางการขับเคลื่อนภายใต้แนวคิดภูมิภาษา และปัญญาแผ่นดิน ผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องในภาคใต้ โดยกิจกรรมสัมมนามีการแบ่งกลุ่มระดมสมองเพื่อรับฟังความคิดเห็น จำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มภูมิภาษาและวรรณศิลป์ โดย ผศ.อภิชาติจั นทร์แดง นายปรเมศวร์ กาแก้ว และ นางสุมาลี สุวรรณกร 2.กลุ่มภูมิบ้านภูมิเมือง โดย นายบรรจง ทองสร้าง นายธีระ จันทิปะ และ นายชัชวินธ์ ตันติเวชวาณิชย์ 3.กลุ่มภูมิปัญญาแผ่นดิน โดย นายจรูญ หยูทอง ผศ.อำนาจ เอี่ยมสำอาง และนางสาวเมทิกา พ่วงแสง.
อ่านข่าวจากหน้าเว็บไซต์ ที่นี่
แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)
128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]