ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) รากฐาน ภูมิภาษา ปัญญาแผ่นดิน ลึกซึ้งรากเหง้า ภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิษณุโลก
วันที่ 9 กรกฏคม 2565 ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา, มูลนิธิสร้างเสริมศิลปวัฒนธรรมภาคประชาชน และ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมสัมมนาเรื่อง “ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน” ประจำภาคเหนือตอนล่างขึ้น ร่วมกับ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก , ผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ , ครูบาอาจารย์ , ปราชญ์พื้นที่ และศิลปินผู้เกี่ยวข้องอีกหลากหลาย เพื่อประมวลความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่การจัดให้มีองค์กรในรูปสถาบันเพื่อบริหารจัดการดูแลให้เป็นเอกภาพ ไม่กระจัดกระจายดังสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
งานเริ่มต้นด้วยการกล่าวต้อนรับโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร และกล์าวรายงานโดยรองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ ประธานคณะทํางานฯ จากนั้นมีพิธีเปิดการสัมมนาและการบรรยายพิเศษเรื่อง “ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน” โดยเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม และการบรรยายเรื่อง ข้อมูลพื้นฐานระดับประเทศภายใต้แนวคิดภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ ประธานคณะทํางานฯ
ตามด้วยการแบ่งกลุ่มระดมความคิด เพื่อรับฟังความคิดเห็น จํานวน 3 กลุ่ม อาทิ 1.กลุ่มภูมิภาษาและวรรณศิลป์ โดย นายเจน สงสมพันธ์ นายภาณุพงษ์ คงจันทร์ และนายธนบัตร ใจอินทร์, 2.กลุ่มภูมิบ้านภูมิเมือง โดย นายพินิจ นิลรัตน์ ผศ.ดร.ขวัญชนก นัยจรัญ และดร.สุวรรณี ทองรอด และ 3.กลุ่มภูมิปัญญาแผ่นดิน โดย ผศ.ดร.อํานาจ เอี่ยมสําอางค์ผศ.ดร. ว่าที่รัอยตรีโสภณ ลาวรรณ์ ,ดร.ภูริตา เรืองจิรยศ และ ดร.น่านฟ้า จันทะพรม
จากนั้นมีการนําเสนอผลการระดมความคิดกลุ่มย่อยและรับฟังความคิดเห็น ดําเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ ประธานคณะทํางาน พิจารณาฯ ภาคเหนือ และมีพิธีปิดการสัมมนา โดย นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธารคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะ และวัฒนธรรม
ซึ่งในการระดมความคิดเห็นนี้นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวว่า ภาษา ภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรม ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น ยังคงเป็นสิ่งที่สะท้อนความงามและความเจริญของมนุษย์ทั้งยังเป็นรากฐาน พื้นฐาน และภูมิฐาน อันเป็นอารยะธรรมที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ที่ผ่านมาการดำเนินงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม จะอยู่ภายใต้กรอบการดำเนินงานของภาครัฐ โดยมีภาคเอกชนสนับสนุน แต่สำหรับภาคประชาชนอาจยังไม่ได้มีบทบาทและการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง การสะท้อนปัญหา การพัฒนานโยบาย การเร่งรัดติดตามและการเสนอแนะที่มีแนวทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน หัวข้อนี้เป็นประเด็นสำคัญที่จะนำไปสู่การจัดให้มีองค์กรในรูปแบบสถาบันเพื่อบริหารจัดการดูแลให้เอกภาพ มิใช่กระจัดกระจายดังสภาพที่เป็นอยู่ มิฉะนั้นจะเกิดความล้าหลังทางวัฒนธรรมแล้ว ยังอาจตกเป็นเหยื่อทางวัฒนธรรม
สถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์กรมหาชน) นี้ต้องมีลักษณะพลังสามภาคส่วน คือ ภาคราชการ ภาคเอกชน (ธุรกิจ) ภาคประชาชน ดังเรียก ไตรภาคี ซึ่งต้องเป็นเอกภาพกันอย่างมีดุลยภาพอันเป็นเรื่องต้องลงลึกในรายละเอียดต่อไป เพราะเรื่องของศิลปวัฒนธรรมโดยเฉพาะภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดินนี้สำคัญเกินกว่าจะปล่อยให้อยู่ในมือของราชการแต่โดยลำพังเพียงเท่านั้นจึงเกิดเป็นเวทีต่างๆทั้ง 4 ภูมิภาคขึ้น โดยในแต่ละกลุ่มจะแบ่งศิลปินออกเป็นดังนี้ 1.กลุ่มภาษาและวรรณศิลป์ จะมี นักเขียน นักแปล สำนักพิมพ์ ภาษาถิ่น 2.กลุ่มภูมิบ้านภูมิเมือง จะมีแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ของดีชุมชน และ 3.กลุ่มปัญญาแผ่นดิน จะมีปราชญ์ด้านแผนโบราณ หัตถกรรม ศาสนา ประเพณี อาหาร ศิลปะการแสดง และศิลปะพื้นบ้านแขนงต่างๆ
จากนั้นมีการบรรเลงดนตรี อ่านกวี งานเขียน และอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนกันโดยศิลปินในพื้นที่อีกด้วย ดังภาพบรรยากาศเหล่านี้.....
ทั้งนี้สามารถติดตามเวทีจากภาคอีสานตอนบน ที่ จ.อุบลราชธานี และภาคกลาง ที่กรุงเทฟมหานครได้เร็วๆ นี่ที่นี่ได้เช่นกัน จะเมื่อไหร่ อย่างไร... โปรดติดตาม...
แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)
128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]