Design Hero : Design Action Hero: ดีไซน์ดีมีแต่ได้ เฟ้นหาผู้ที่สนใจ ร่วมโครงการ ปิดรับสมัคร 15 กันยายน 2565

หมวดหมู่ เรื่องเด่น , โดย : admin , 16 มิถุนายน 65 / อ่าน : 1,436


โครงการ Design Hero  เฟ้นหาผู้ที่สนใจ  

ร่วมโครงการ Design Action Hero: ดีไซน์ดีมีแต่ได้ 

 

 

 

 

เกี่ยวกับโครงการ 

         โครงการ Design Hero เป็นความร่วมมือระหว่าง art4d กับ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี  วัตถุประสงค์สำคัญ คือการพัฒนานักสื่อสารสร้างสรรค์รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ ความรู้และทักษะในการออกแบบการสื่อสารสุขภาวะ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาได้มีเยาวชนเข้าร่วมโครงการหลายคนเข้าสู่วงการการออกแบบสร้างสรรค์สื่อและมีผลงานเป็นที่ยอมรับ 

         สำหรับในปี 2565 นี้ art4d และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มีความต้องการที่จะผลักดันให้โครงการก้าวสู่ขั้นตอนไป จึงมีแนวคิดที่จะผลักดันให้ผลงานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมเหล่านั้นถูกนำไปผลิตเพื่อต่อยอดหรือขยายผลในเชิงธุรกิจ รวมไปถึงการนำไปใช้รณรงค์ในสังคมวงกว้าง ดังนั้นเป้าหมายสำคัญของโครงการในปีนี้จึงมุ่งเน้นที่การผลักดันและสร้างโอกาสให้ผลงานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมดังกล่าวได้ถูกนำไปสู่ “การประกอบการ” หรือ “ปฏิบัติการ” ได้จริง โดยนอกเหนือจากการจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพและการสนับสนุนด้านเงินทุน กิจกรรมในปีนี้จะจัดให้มีการพบปะกันระหว่างผู้สร้างนวัตกรรมหรือผลงานสร้างสรรค์กับองค์กรต่าง ๆ ในภาคธุรกิจ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสในการเผยแพร่ผลงานและเปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนจากภาคธุรกิจ นำไปสู่การต่อยอดและขยายผลในเชิงธุรกิจ สร้างให้เกิดการประกอบการในรูปแบบของธุรกิจใหม่ๆ ที่มีส่วนช่วยรณรงค์หรือป้องกัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และเสริมสร้างค่านิยมที่ดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้กับสังคมในวงกว้างต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ 

1. สร้างเวทีให้นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ๆ ได้มีโอกาสในการนำเสนอความคิดสร้างสรรค์สู่สังคมวงกว้างและภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ นำไปสู่การสร้างโอกาสที่ดีในหลายๆ ด้าน

2. จัดโครงการฝึกอบรมและให้คำแนะนำระยะยาวกับนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมหรือผลงานสร้างสรรค์ ที่มีส่วนช่วยรณรงค์หรือป้องกัน แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และเสริมสร้างค่านิยมที่ดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้กับสังคมในวงกว้าง

3. สร้างโอกาสการพบปะกันระหว่างผู้สร้างนวัตกรรมหรือผลงานสร้างสรรค์กับองค์กรต่าง ๆ ในภาคธุรกิจ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสในการเผยแพร่ผลงานและเปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนจากภาคธุรกิจ นำไปสู่การต่อยอดและขยายผลในเชิงธุรกิจ สร้างให้เกิดการประกอบการในรูปแบบของธุรกิจใหม่ๆ ที่เสริมสร้างค่านิยมที่ดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้กับสังคม

4. สร้างชุมชนหรือประชาคมนักคิดนัก เพื่อเป็นแหล่งของคลังสมองในการระดมความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่สามารถนำไปต่อยอดเป็นธุรกิจได้จริงและเป็นธุรกิจที่มีความยั่งยืน

 

รายละเอียดกิจกรรมและขั้นตอนการสมัคร 

  1. ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการทุกท่าน ต้องเข้าไปชมคลิปวิดิโอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ www.art4d.com เพื่อเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ
  2. หลังจากรับชมคลิปวิดิโอแล้ว สามารถยื่นแนวความคิดของโครงการและแผนธุรกิจในรูปแบบไฟล์ pdf หรือคลิปวิดิโอ ไม่เกิน 3 นาที ได้ที่ [email protected]
  3. โครงการเปิดรับให้ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 15 กันยายย 2565
  4. ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก จะต้องสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการบ่มเพาะและเวิร์คช็อปกับผู้เชี่ยวชาญ พี่เลี้ยง ในแต่ละด้านได้ ในช่วงปลายเดือนกันยายน 2565
  5. ทางโครงการจะดำเนินการคัดเลือกผู้ที่ได้รับทุนเพื่อนำไปพัฒนาแผนธุรกิจ จำนวนทั้งหมด 10 ทุน เพื่อดำเนินกิจกรรมพัฒนาผลงานทุนละไม่เกิน 50,000 บาท โดยผลการพิจารณาของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด
  6. ผู้ที่ได้รับคัดเลือก ได้สิทธิ์เข้าร่วมการจัดแสดงนิทรรศการ เพื่อแสดงผลงานต่อสาธารณะ ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม 2565 – มกราคม 2566 พร้อมพิธีการประกาศผลและมอบรางวัลพระราชทานฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช พร้อมทุนเพื่อการพัฒนาและการต่อยอดผลงาน
  7. ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพบปะนักลงทุนจากหน่วยงานภาคเอกชนต่าง ๆ ในการต่อยอด ช่วงเดือนลาคม 2565 – มกราคม 2566

 

 

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ 

• เยาวชนหรือประชาชนทั่วไปที่มีอายุไม่เกิน 30 ปี ที่มีความคิดสร้างสรรค์ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปต่อยอดธุรกิจ

• สมัครเป็นทีม ทีมละ 2-5 คน

• ไม่จำกัดสาขาวิชาชีพ

• มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถนำความคิดสร้างสรรค์นั้นไปต่อยอดเป็นธุรกิจได้

• ผู้สมัคร สามารถส่งใบสมัครพร้อมผลงานมาได้ที่ [email protected]

 

 


สนใจกรอกใบสมัครที่นี่ คลิก

 

หรือ Scan กรอกใบสมัคร ที่นี่

 

 

หัวข้อที่เปิดรับสมัคร

       ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถส่งไอเดียของโครงการที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาหรือรณรงค์ในสังคมวงกว้างพร้อมแผนธุรกิจ เช่น การพัฒนาหรือการสร้างพื้นที่สีเขียว, การสร้างสื่อรณรงค์, การสร้างหนังสั้น, การสร้างสารคดี, การสร้างรายการ, พัฒนาดนตรีหรือการละเล่น, การสร้างคลาสเรียน, การพัฒนาซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชั่น หรือโปรแกรมต่างๆ, การพัฒนาระบบหรือเครื่องมือช่วยจัดการธุรกิจ, การสร้างธุรกิจจัดการขยะ, ธุรกิจการแปรรูปขยะเป็นผลิตภัณฑ์อื่น, การทำเสื้อผ้าจากวัสดุรีไซเคิล ฯลฯ

     โดยผู้ส่งโครงการเข้าประกวดสามารถเลือกหัวข้อดังต่อไปนี้ (เลือกได้ 1 หัวข้อ) 

• Creative Playground : พื้นที่สุขภาพนิยม

สังคมที่ผู้คนให้ความสำคัญกับสุขภาพอย่างยิ่งยวด มีความต้องการพื้นที่สาธารณะและสาธารณูปโภคที่รองรับความหลากหลายของคนเมือง คุณภาพอากาศที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ รวมทั้งจิตสำนึกในเรื่องของการเตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และการช่วยกันลดอุณหภูมิลงอันเนื่องมาจาก “ภาวะโลกรวน” (climate change)



• Thailand’s Soft Power Remake : เวอร์ชั่นใหม่ของวัฒนธรรมไทย

Soft Power คือการสร้างมูลค่าทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่แฝงวัฒนธรรม โดยเฉพาะศิลปะและความบันเทิงไม่ว่าจะเป็น เพลง ภาพยนตร์ ซีรี่ส์ แอนิเมชั่น แฟชั่น อาหาร เกมส์ การท่องเที่ยว อีสปอร์ต เป็นต้น ส่วน remake คือการสร้างเวอร์ชั่นใหม่ของตัวเองให้ดีกว่าเดิม โดยไม่ยึดติดกับกรอบความคิดหรือความสำเร็จในอดีต ในขณะเดียวกันก็ไม่ปฏิเสธสิ่งที่ทำให้เราเป็นเราในปัจจุบัน



• Technotopia : เมืองแห่งเทคโนโลยี

ปัจจัยหลักที่เป็นตัวผลักดันให้เกิดฉากทัศน์นี้คือ การพัฒนาของระบบอัตโนมัติทั้งหลาย ตลอดจน เทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Metaverse, NFT, AI, IoT (Internet of Things) หรือ Cryptocurrency ซึ่งก่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ที่มีเทคโนโลยีเป็นฐานรองรับ การใส่ความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถประยุกต์ให้เหมาะสมกับรูปแบบไลฟ์สไตล์ในอนาคตจึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง



• Green SME– Design for community ธุรกิจรักษ์โลก

โมเดลธุรกิจรักษ์โลกสำหรับองค์กรขนาดเล็กและกลาง เกิดขึ้นจากปัญหาสิ่งแวดล้อม มลภาวะ และ ปัญหา climate change ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่หันมาสนใจเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การประหยัดพลังงาน พลังานสะอาด การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ refill store เป็นต้น

 

เกณฑ์ในการพิจารณา

กระบวนการคิดเชิงออกแบบ : Design Thinking

เป็นการทำให้มองเห็นวิธีการใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ตลอดจนสร้างนวัตกรรมตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ ช่วยมองปัญหาตลอดจนโจทย์ของการทำงานต่าง ๆ ได้รอบทิศและรอบคอบขึ้นและฝึกให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และมีลำดับการบริหารจัดการที่ดีไม่ว่าจะนำไปใช้กับการปฏิบัติติงาน

• การพัฒนาความคิดเชิงนวัตกรรม : Innovative Thinking

ความคิดเชิงนวัตกรรมเป็นอีกความจำเป็นหนึ่งที่ผู้ประกอบการหรือนักสร้างสรรค์จำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อเตรียมพร้อมในการพัฒนาองค์กรเติบโต และสร้างมูลค่าทางธุรกิจของบริษัทให้เติบโต เป็นอีกความจำเป็นหนึ่งที่ช่วยองค์กรเติบโต และสร้างมูลค่าทางธุรกิจของบริษัทให้เติบโตด้วย 

• การสื่อสาร : Communication

การสื่อสารเป็นกระบวนการสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่นตลอดจนถึงสังคมวงกว้าง การสื่อสารที่ดีจะช่วยพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสและเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจและบรรลุจุดประสงค์ของโครงการ การขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการการสื่อสารให้ดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  

Business Model Canvas (BMC)  

Business Model Canvas คือการอธิบายองค์ประกอบของธุรกิจซึ่งมี 9 ส่วน ในแบบที่เรียบง่าย เพื่อให้ทั้งภายในและภายนอกองค์กรสามารถสื่อถึงสิ่งเดียวกันได้อย่างตรงประเด็น เข้าใจง่าย และ นำไปใช้งานได้ทันที นอกจากจะทำให้การสื่อสารชัดเจนแล้ว จุดเด่นของ BMC คือ ทำให้เจ้าของกิจการและผู้บริหารสามารถเห็นภาพรวมของบริษัทเพื่อจะปรับจุดอ่อนหรือเสริมจุดแข็งรวมไปถึงการปรับกลยุทธ์ของบริษัทได้ง่ายและรวดเร็วอีกด้วย


 

           

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทางโทรศัพท์

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการการส่งใบสมัคร โทรศัพท์  02-129-3897

หรืออีเมล [email protected]  

 

.



ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]