ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์การมหาชน) รากฐาน ภูมิภาษา ปัญญาแผ่นดิน ลึกซึ้งรากเหง้า ภาคเหนือตอนบน จังหวัดเชียงราย
วันที่ 13 มิถุนายน 2565 ณ หอปรัชญารัชกาลที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จังหวัดเชียงราย คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา, มูลนิธิสร้างเสริมศิลปวัฒนธรรมภาคประชาชน และ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมสัมมนาเรื่อง “ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน” ประจาภาคเหนือตอนบนขึ้น ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ผู้รู้ผู้มีประสบการณ์
ครูบาอาจารย์ ปราชญ์พื้นที่ และศิลปินผู้เกี่ยวข้องอีกหลากหลาย เพื่อประมวลความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสาคัญที่จะนาไปสู่การจัดให้มีองค์กรในรูปสถาบันเพื่อบริหารจัดการดูแลให้เป็นเอกภาพ ไม่กระจัดกระจายดังสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
งานเริ่มต้นด้วยการกล่าวตอนรับโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย มุ่งไธสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย และกล่าวรายงาน โดยรองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี ประทุมสุวรรณ ประธานคณะทางานฯ และพิธีกรกล่าวเปิดการสัมมนาและการบรรยายพิเศษเรื่อง ”ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน” โดยนายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปะและวัฒนธรรม กล่าว ภาษา ภูมิปัญญา และศิลปวัฒนธรรม ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น ยังคงเป็นสิ่งที่สะท้อนความงามและความเจริญของมนุษย์ทั้งยังเป็นรากฐาน พื้นฐาน และภูมิฐาน อันเป็นอารยะธรรมที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ที่ผ่านมาการดาเนินงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม จะอยู่ภายใต้กรอบการดาเนินงานของภาครัฐ โดยมีภาคเอกชนสนับสนุน แต่สาหรับภาคประชาชนอาจยังไม่ได้มีบทบาทและการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง การสะท้อนปัญหา การพัฒนานโยบาย การเร่งรัดติดตามและการเสนอแนะที่มีแนวทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน หัวข้อนี้เป็นประเด็นสาคัญที่จะนาไปสู่การจัดให้มีองค์กรในรูปแบบสถาบันเพื่อบริหารจัดการดูแลให้เอกภาพ มิใช่กระจัดกระจายดังสภาพที่เป็นอยู่ มิฉะนั้นจะเกิดความล้าหลังทางวัฒนธรรมแล้ว ยังอาจตกเป็นเหยื่อทางวัฒนธรรม
.
สถาบันภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดิน (องค์กรมหาชน) นี้ต้องมีลักษณะพลังสามภาคส่วน คือ ภาคราชการ ภาคเอกชน (ธุรกิจ) ภาคประชาชน ดังเรียก ไตรภาคี ซึ่งต้องเป็นเอกภาพกันอย่างมีดุลยภาพอันเป็นเรื่องต้องลงลึกในรายละเอียดต่อไป เพราะเรื่องของศิลปวัฒนธรรมโดยเฉพาะภูมิภาษาและปัญญาแผ่นดินนี้สาคัญเกินกว่าจะปล่อยให้อยู่ในมือของราชการแต่โดยลาพังเพียงเท่านั้นจึงเกิดเป็นเวทีต่างๆทั้ง 4 ภูมิภาคขึ้น โดยมีการระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะใน 3 กลุ่ม อาทิ 1.กลุ่มภาษาและวรรณศิลป์ นักเขียน นักแปล สานักพิมพ์ ภาษาถิ่น 2.กลุ่มภูมิบ้านภูมิเมือง แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ของดีชุมชน และ 3.กลุ่มปัญญาแผ่นดิน ปราชญ์ด้านแผนโบราณ หัตถกรรม ศาสนา ประเพณี อาหาร ศิลปะการแสดง และศิลปะพื้นบ้านแขนงต่างๆ
ซึ่งในภาคเหนือตอนบนได้มีการระดมสมองเพื่อรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวด้วย จานวน 3 กลุ่ม
1.กลุ่มภูมิภาษาและวรรณศิลป์ มี นายเจน สงสมพันธุ์ นายภาณุพงษ์ คงจันทร์ และนายธนบัตร ใจอินทร์ เป็นผู้ดาเนินการกระบวนการ
2.กลุ่มภูมิบ้านภูมิเมือง โดย นายพินิจ นิลรัตน์ ผศ.ดร.ขวัญชนก นัยจรัญ และดร.สุวรรณี ทองรอด เป็นผู้ดาเนินการกระบวนการ
3.กลุ่มภูมิปัญญาแผ่นดิน โดย ผศ.ดร.อานาจ เอี่ยมสาอางค์ ดร.น่านฟ้า จันทะพรม และนายประยูร หงษาธร เป็นผู้ดาเนินการกระบวนการ
หลังจากนั้นได้มีการนาเสนอผลการหารือกลุ่มย่อยและการรับฟังความคิดเห็น ดาเนินรายการโดยรองศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา สังขพันธานนท์ ประธานคณะทางานพิจารณาฯ ภาคเหนือ และพิธีกรกล่าวปิดการสัมมนา
โดยนายเนารัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ด้านศิลปะและวัฒนธรรม
ทั้งทั้งนี้ นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ยังเขียนกวีไว้ให้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายอีกด้วย ซึ่งกวีนั้น เขียนไว้ว่า “ มหาวิทยาลัยราชภัยเชียงราย โชติชัชวาลฉาย ดั่งดาวเหนือเด่นนาความผ่องพราย ให้เชียงรายเด่นนาในความดี“