ปัจจุบันกลองสะบัดชัยถูกพัฒนามาเพื่อใช้ในงานแสดงมากขึ้น เช่นขบวนฟ้อนรำหรือการแสดงพื้นบ้าน จึงได้นำกลองมาใส่ไม้หามและทำให้เล็กลงเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ด้วยความที่การตีกลองชนิดนี้มีความโลดโผนเร้าใจ มีการใช้ส่วนต่างๆของร่างกายในการร่ายรำด้วยท่วงท่าที่แข็งแรง น่าตื่นตาตื่นใจ จึงทำให้การแสดงหรือการเล่นกลองสะบัดชัย ได้รับความนิยมและโด่งดังมากๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ กลองสะบันชัยจึงกลายเป็นศิลปะพื้นบ้านที่สำคัญของชาวล้านนาในที่สุด
กลองสะบัดชัยคงเหลือไว้เป็นกลอง 3 ประเภท คือ
1. กลองสองหน้าขนาดใหญ่ มีลูกตุบ ที่มักเรียกว่า กลองบูชา แขวนอยู่ในหอกลองของวัดต่างๆ ลักษณะการตีมีจังหวะหรือทำนองที่เรียกว่าระบำ ทั้งช้าและเร็ว บางระบำมีฉาบและฆ้อง บางระบำมีคนตีไม้แสะประกอบอย่างเดียว
2. กลองสองหน้ามีลูกตุบและคานหาม เรียกว่ากลองชัย (สะบัดชัยลูกตุบ) เวลาตีผู้ตีจะถือไม้แสะข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่ง ถือไม้ตีกลอง การตีลักษณะนี้อาจมีฉาบและฆ้อง ประกอบ หรือไม่มีก็ได้ ปัจจุบันกลองสะบัดชัยประเภทนี้เกือบสูญหายไปแล้ว
3. กลองสองหน้า มีคานหาม ไม่มีลูกตุบ(กลองละบัดชัยสมัยใหม่) มีฉาบและฆ้องประกอบจังหวะ และมักมีนาคไม้แกะสลักประดับ ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน
พ่อครูคำ กาไวย์ตีกลองสะบัดชัยครั้งสมัยหนุ่มๆ ปัจจุบัน ท่านเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง(การแสดงพื้นบ้าน)