เตรียมให้พร้อมก่อน - หลังฉีดวัคซีน COVID-19
การฉีดวัคซีน COVID-19 แม้ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่ช่วยป้องกันการติดเชื้อแบบรุนแรงได้ดี
ดังนั้นทุกคนจึงควรต้องเข้ารับการฉีดวัคซีน โดยควรศึกษาข้อมูลและเตรียมตัวให้พร้อมทั้งก่อนและหลังการฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อจะได้คลายความกังวลและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง
เตรียมก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19
o. หากมีไข้สูงในวันนัดหมายฉีดวัคซีน ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน
o. หากมีไข้ต่ำ ๆ หรือเจ็บป่วยเล็กน้อย สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ตามปกติ ไม่ควรเลื่อนฉีดวัคซีน
o. ผู้ที่มีโรคประจำตัว มีประวัติภูมิแพ้ หรือมีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง ควรแจ้งบุคลากรทางการแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสม
อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 มักเป็นสัญญาณแสดงว่าร่างกายกำลังถูกวัคซีนกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต เป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป ไม่รุนแรง และหายได้เองในระยะเวลาไม่นาน เช่น
o. บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีด
อาการแพ้วัคซีนในทางการแพทย์เกิดจากการที่ร่างกายตอบสนองภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนมากกว่าปกติ ซึ่งนับว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีน อาการที่พบอาจเกิดจากวัคซีนโดยตรง หรือไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนโดยตรงนั่นคือ อาการทางจิตใจที่มักพบในกลุ่มผู้รับวัคซีนที่เครียด กลัว กังวล เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากเป็นวัคซีนที่ผ่านการรับรองและขึ้นทะเบียนแล้ว หากพบผลข้างเคียงรุนแรงจะอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก
อาการแพ้วัคซีนที่อาจพบได้ ซึ่งมักพบหลังจากฉีดวัคซีนในช่วง 30 นาทีแรก ได้แก่
o. คันบวมที่ใบหน้า ปาก หรือลำคอ
ดูแลหลังฉีดวัคซีนโควิด-19
หลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว สิ่งที่ควรปฏิบัติ ได้แก่
o. หากมีไข้หรือปวดศีรษะสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
o. หากมีผื่นลมพิษ ไข้สูงมาก หน้ามืด เป็นลม แขนขาอ่อนแรง เจ็บหน้าอกให้พบแพทย์ทันที
o. สวมหน้ากาก ล้างมือให้บ่อย รักษาระยะห่างทางสังคม
o. กักตัวอย่างน้อย 14 วัน หากไปพื้นที่เสี่ยงหรือมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19
o. ฉีดวัคซีนให้ครบตามนัดหมายทั้ง 2 เข็ม
นอกจากนี้ในผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 แม้ในร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด-19 แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลาของภูมิคุ้มกันที่จะป้องกันไวรัสโควิด-19 จึงควรได้รับวัคซีนโควิด-19 โดยเว้นระยะห่างจากการติดเชื้ออย่างน้อย 3 เดือน และควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีด
ที่มาข้อมูล : คู่มือวัคซีนสู้โควิด (ฉบับประชาชน)
#แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ