เมื่อเรารู้จักกับมุมมองด้านเศรษฐกิจที่ควรคำนึงถึงต่อการดำเนินงานวิสาหกิจชมชนไปแล้ว แต่ยังคงมีอีกมุมมองหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการทำวิสาหกิจชุมชนเช่นกัน นั่นคือ “มุมมองด้านสังคม”
มุมมองด้านสังคม ในมุมมองนี้จะต้องมองในมุมของสังคม ชุมชนและส่วนรวมเป็นหลัก โดยอย่างแรกที่ต้องคำนึงถึง คือ ต้องมีวัตถุประสงค์การดำเนินงานที่ชัดเจน ว่าเป็นการดำเนินงานเพื่อประโยชน์ของชุมชน สังคม หรือกลุ่มคนด้อยโอกาสและด้อยศักยภาพตามมาตรฐานแรงงาน มุ่งสร้างสุขภาวะให้ชุมชน ทั้งเชิงวัตถุและจิตใจ ส่งเสริมจิตอาสา และสร้างสำนึกความรับผิดชอบทางสังคม ส่วนต่อมา คือ ริเริ่มและขับเคลื่อนโดยกลุ่มบุคคลในชุมชน ไม่ใช่โดยนายทุนหรือหน่วยงานรัฐ สร้างพลังในเชิงสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นภายในชุมชน เห็นคุณค่าของชุมชน มีผู้นำที่สำคัญขับเคลื่อนกิจกรรมและมีการกระจายอำนาจให้กลุ่มต่าง ๆ ภายในชุมชนให้ขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกัน ส่วนต่อมา คือ สมาชิกทุกคนมีอำนาจในการตัดสินใจร่วมกัน เน้นการให้สมาชิกทุกคน ทุกกลุ่ม มีหนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน ในการตัดสินใจที่จะกำหนดทิศทางในการขับเคลื่อนกิจการ ส่วนต่อมา คือ สร้างการมีส่วนร่วม เชื่อมโยงผ่านกิจกรรม การเป็นตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ และการมีส่วนร่วมทั้งลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ถือเป็นการสร้างสำนึกประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่นผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชน และส่วนสุดท้าย คือ การจัดสรรผลประโยชน์เท่าที่จำเป็น แบ่งปันผลตอบแทนตามเหตุผลเท่าที่จำเป็น
ข้อมูลประกอบจาก: หนังสือประชาคมบางลำพูของ อาจารย์อุทิศ อติมานะ
สำหรับใครที่อยากติดตามต่อว่าในการทำวิสาหกิจชุมชนมีอะไรที่สำคัญอีก ต้องทำอย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร ก็สามารถติดตามข่าวสารและบทความอื่น ๆ ได้ที่
Fanpage: แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. หรือ https://www.facebook.com/artculture4h/
Website: สื่อศิลป์ SE - Social Enterprise หรือ http://www.artculture4health.com/categories/view/12
แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)
128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]