โครงการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้น ด้วยมือถือ
หัวข้อ อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา
ด้วยโจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นี่คือ 2 โจทย์ใหญ่ ที่เราจะมาร่วมสร้างสรรค์สื่อเพื่อรณรงค์ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” ร่วมกันในปีนี้นั่นเพราะภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โลกแห่งการสื่อสารเข้าสู่ยุคสังคมสนทนา (Conversation Prism) ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในประเทศไทยภูมิทัศน์สื่อ (Media Landscape) ก้าวสู่ยุคสื่อหลอมรวม (Media Convergence) ที่หลอมรวมทั้งสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่เข้าด้วยกัน รวมทั้งหลอมรวมกระบวนการผลิต เนื้อหา และการบริโภคหรือใช้สื่อเข้าด้วยกัน ประชาชนสามารถเป็นทั้งผู้รับสาร และผู้ส่งสาร อีกทั้งสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ให้ข้อมูล หรือร่วมผลิตกับสื่อได้โดยง่ายและรวดเร็ว
นี่จึงเป็นการปรับตัวเพื่อให้เกิดการขยายผลไปยังกลุ่มวัยรุ่นได้ง่ายขึ้น ผ่านรูปแบบต่างๆ ที่ทำให้เกิดการจดจำ ทั้งสโลแกนในการเผยแพร่ทางโฆษณาโทรทัศน์ ป้ายตามท้องถนนหรือแม้แต่การแชร์ข้อความเป็นโฆษณาแฝงใน social media นอกจากนี้การขยายฐานเพื่อให้เกิดการจดจำตราสัญญาลักษณ์ สินค้า เกิดการจดจำ เช่น น้ำดื่ม, โซดา เครื่องดื่ม Non-Alcohol เป็นต้น รวมถึงการใช้สโลแกนสั้นๆ ให้ติดหู และสร้างการเข้าถึงสินค้าได้ง่าย สอดคล้องกับข้อมูลของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนและกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และการเสียชีวิตในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2562 ที่ผ่านมาพบว่า มีการเกิดอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ และการเสียชีวิตของคนไทยเทียบกับปีที่ผ่านมาพบยอดผู้เสียชีวิต จำนวน 4,631 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาหรือในปี 2561 จำนวนทั้งสิ้น 40 ราย จำนวนผู้บาดเจ็บ 3,829 ราย ลดลง 176 คน และจำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุมีจำนวนลดลง 50 ครั้ง (จาก 3,841 ครั้ง เป็น 3,791 ครั้ง) โดยผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตพบเป็นเพศชายร้อยละ 65.06 และอยู่ในกลุ่มอายุ 15-19 ปี
โครงการปิ๊งส์ โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กรมควบคุมโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข กรมการขนส่งทางบก กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย และเครือข่ายคณาจารย์มหาวิทยาลัย จัดโครงการประกวดคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยโทรศัพท์มือถือ ในหัวข้อ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” เปิดรับสมัครเยาวชน หรือบุคคลทั่วไป อายุระหว่าง 15 -25 ปี ทั่วประเทศ ทีมละ 3-5 คน ร่วมส่งสคริปต์ และรูปแบบในการนำเสนอ เพื่อคัดเลือกเป็นทีมที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ(Workshop) และลุ้นเป็น 10 ทีมสุดท้ายเพื่อรับทุนสนับสนุนผลิตผลงานด้วยมือถือ ภายใต้โจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์สื่อ และกระตุ้นจิตสำนึกให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของกฎหมาย และการแฝงโฆษณามาในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
ซึ่งจากการรับสมัครที่ผ่านมานายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. บอกว่า จากการเปิดรับสมัครที่ผ่านมามีเยาวชน และบุคคลทั่วไปสนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 67 ทีม มีเพียง 20 ทีมเท่านั้นที่ผ่านเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และลุ้นเป็น 10 ทีมสุดท้ายเพื่อรับทุนสนับสนุนผลิตผลงานจริงกับเรา ซึ่ง 20 ทีมที่ผ่านเข้ารอบนั้นได้แก่...
1. ทีมCSF STUDIO ด้วยผลงานชื่อ เลือกรับดูอย่างมีสติ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2. ทีมStar Point ผลงานชื่อ เรื่องเล่า(เหล้า) จาก โรงเรียนสภาราชินี จ.ตรัง
3. ทีมshawarma ผลงานชื่อ ความจริงที่ไม่ได้ยิน จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
4. ทีมATA ผลงานชื่อคำเตือน จากโรงเรียนบ้านเปือยนาสูง จ.ศรีสะเกษ
5. ทีมPOLAR ผลงานชื่อ On the tables จากมหาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าธนบุรี
6. ทีมThe 1310 ผลงานชื่อ Late Night Ads จากจ.ปทุมธานี
7. ทีมอยากทำ Production ผลงานชื่อ หลง จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม
8. ทีมนีโอ คลาสสิค MA.STU ผลงานชื่อ เอบี เนกกาทีฟ จากวิทยาลัยสันตพล จ.อุดรธานี
9. ทีมDark ผลงานชื่อ พี่ยังไหว จากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
10. ทีมBmat ผลงานชื่อ คืนหมาเห่า จากมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
11. ทีมผู้หญิงใส่แว่นคนนั้น ผลงานชื่อ แถวตรง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. ทีมShin Young ผลงานชื่อ ซาซี้จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม
13. ทีมSJ Production ผลงานชื่อ แคร์(เหล้า)? จากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จ.อุดรธานี
14. ทีมCheu Di ผลงานชื่อ Different but Same จากโรงเรียนตราษตระการคุณ จ.ตราด
15. ทีมArt Gallery ผลงานชื่อ Drink And Drive Story จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม
16. ทีมวินาศสันตะโร ผลงานชื่อ Driving Under Influence(DUI) จากวิทยาลัยเทคโนโลยีวานิชบริหารธุรกิจ และ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
17. ทีมพเนจรจัด ผลงานชื่อ สืบจับกรุ๊ปเมา จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
18. ทีมMedia Selamat ผลงานชื่อ เรื่องราวของกรุ๊ปเรา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
19. ทีมShin Chan Loie ผลงานชื่อ SaveAd จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม
20. ทีมต้นกล้าทีวี ผลงานชื่อ Degree จากโรงเรียนพังโคนวิทยาคม จ.สกลนคร
และจากการอบรมเชิงปฏิบัติการกับทางโครงการ เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีผลงานเข้าตาคณะกรรมการมากถึง 11 ผลงาน จึงมีถึง 11 ทีม ที่ผ่านเข้ารอบได้ผลิตผลงานจริงในครั้งนี้ นั่นก็คือ
ทีมATA
ทีมพเนจรจัด
ทีมผู้หญิงใส่แว่นคนนั้น
ทีมThe 1310
ทีมshawarma
ทีมShin Young
ทีมStar Point
ทีมSJ Production
ทีมDark
ทีมอยากทำ Production
ทีมArt Gallery
ซึ่งทั้ง 11 ทีมนี้ จะได้สร้างสรรค์สื่อเพื่อรณรงค์ภายใต้โจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาติดตามกันต่อไปว่าผลงานใดจะได้รับถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปครองไปพร้อมๆ กันได้ที่ www.artculture4health.com และที่ www.pings.in.th
แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)
128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]