Air Pollution- From Crisis to Solution

หมวดหมู่ เรื่องเด่น , โดย : admin , 25 กุมภาพันธ์ 62 / อ่าน : 1,832


otobobo mask ผู้ผลิตหน้ากากกันฝุ่นที่มีประสิทธิภาพกันฝุ่นมากที่สุดแบรนด์หนึ่งของโลก จัดบรรยายพิเศษเรื่อง มลพิษทางอากาศ จากวิกฤติสู่ทางแก้ปัญหา ซึ่งมีบรรยายโดย Francis Chu นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้ออกแบบหน้ากากอนามัย Totobobo เพื่อหาทางออกของการแก้ปัญหาและป้องกันฝุ่นละอองในประเทศไทยร่วมกัน โดยนายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า 91% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในเขตที่คุณภาพอากาศเลวร้ายกว่าเกณฑ์ปลอดภัยที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ โดย 9 ใน 10 ของประชากรโลกหายใจเอาอากาศที่เป็นมลพิษเข้าไปในร่างกาย ซึ่งละปีมีผู้เสียชีวิตจากการได้รับมลพิษทางอากาศราว 7 ล้านคน เมื่อปี 2016 มีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศราว 4.2 ล้านคนทั่วโลก และ 14 เมืองของอินเดียถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม 20 เมืองที่มีมลพิษทางอากาศรุนแรงที่สุดในโลก สำหรับประเทศไทยฝุ่นละออง PM2.5 คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ ที่เกิดขึ้นนี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะสามารถเดินทางผ่านทางเดินหายใจสู่ปอดและกระแสเลือดได้ง่าย เพิ่มโอกาสของโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากจะสร้างความเสียหายต่อประสิทธิภาพด้านการคิดและสติปัญญาแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงให้เป็น Degenerative disease (โรคความเสื่อมถอยต่างๆ) ได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ หรือภาวะสมองเสื่อมได้ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. จึงต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้คนหันมาใส่ใจและระมัดระวังเรื่องของสิ่งแวดล้อม และต้องป้องกันตัวเองด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานป้องกันฝุ่นขนาดเล็กโดยเฉพาะ ซึ่งต้องใส่ใจทั้งในเด็กและเยาวชน และครอบครัว ด้านนายมงคล พงศ์อนุตรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอร์ปอเรชั่น โฟร์ดี จำกัด (art4d) กล่าวว่า Francis Chu ผู้ออกแบบหน้ากากอนามัย Totobobo เพื่อแก้ปัญหาและป้องกันฝุ่นละออง ที่วงการอนามัยทั่วโลกให้การยอมรับ ยินดีที่จะถ่ายทอดประสบการณ์และก็แบ่งปันความรู้ต่างๆ ให้กับคนไทย คิดว่าเราน่าจะได้ประโยชน์จากความรู้ต่างๆ และเรื่องของการวิจัยต่างๆ หรือว่าป้องกันตนเองแบบง่ายๆ ไปจนถึงการทำหน้ากากด้วยตัวเองในระดับที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเขาไม่ได้พูดถึงในเรื่องการออกแบบ แต่พูดถึงสิ่งที่มีประโยชน์ของหน้ากากอนามัยที่สามารถตอบรับกับใบหน้าของผู้ใช้ รวมทั้งในตัวหน้ากากอนามัยที่จะถูกออกแบบมาให้แก้ปัญหาในเรื่องของการสูดอากาศเข้าไปในระยะยาวได้ ซึ่งเชื่อว่าเรื่องของมลพิษทางอากาศหรือเรื่องของฝุ่นมันไม่น่าจะหมดไปอย่างง่ายๆ แล้วเราก็ไม่ควรที่จะมองข้ามในเรื่องของการออกแบบที่เป็นองค์ความรู้ ที่มีแนวโน้มในการแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อสุขภาพชีวิตที่ดีในอนาคต นายดนัย หวังบุญชัย กล่าวทิ้งทายว่า แน่นอนว่าปัญหานี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องใส่ใจเพราะเรื่องนี้มันไม่หายไปในเร็ววันนี้แน่นอน ซึ่งการบรรยายในครั้งนี้ทั้งทาง สสส. และ art4d จะนำสิ่งที่ได้จากการบรรยายไปขยายผลต่อทั้งการส่งต่อในเรื่องของความรู้ และข้อมูลที่ได้จาก Francis Chu นักออกแบบผลิตภัณฑ์ ไปการพัฒนาต่อยอดกิจกรรมรณรงค์ให้สังคมเห็นความสำคัญและใส่ใจสุขภาพ สามารถทำหน้ากากอนามัยใช้เองได้โดยไม่สิ้นเปลือง มีคุณภาพ สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยในสถานการณ์แบบนี้ได้ด้วยตัวเองต่อไป ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลและการบรรยายนี้ได้ต่อเนื่องที่ 









ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]