การอบรมเชิงปฏิบัติการสื่อศึกษานำร่อง ในพื้นที่ปฏิบัติการชุมชมบางลำพูและชุมชนนางเลิ้ง กทม. ระหว่างวันที่ 20-22ตุลาคม 2561 ณ ชั้น 1 ห้องสมรรถนานา โรงแรมนูโว ซิตี้ สามเสน ซอย 2 ถนน สามเสน แขวง บางลำพู เขต พระนครกรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมายคือน้องเยาวชน อายุ14-18 ปี โดยน้องเยาวชนที่เข้าร่วมมาจากทั่วภูมิภาค ภาคกลาง จำนวนทั้งสิ้น 30 คน โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน โดยโจทย์การผลิตผลงานคลิปวิดีทัศน์ผ่าน Smartphone แบ่งเป็นสารคดี, สารคดีเชิงข่าว หรือภาพยนตร์สั้น ความยาว 5 นาที โดยมีประเด็นหัวข้อที่ใช้ฝึกปฏิบัติการทั้ง 4 หัวข้อ ประกอบด้วย1.ประเด็นรองรับผู้สูงวัย2.ประเด็นกลุ่มอ่อนไหวและเปราะบาง
3.ประเด็นสิ่งแวดล้อมในชุมชน 4.ประเด็นปัญหาปัจจัยเสี่ยงในชุมชน
วันที่ 20 ตุลาคม 2561 ก่อนการผลิตผลงานจริงน้องเยาวชนควรได้ทำความเข้าใจในเรื่องของ 4 ประเด็นการเสวนา เรื่อง “ทำสื่อสร้างสรรค์อย่างไรให้ตอบโจทย์ประเด็นสุขภาวะ”
ผู้เข้าร่วมเสวนาดังนี้
1.รองศาสตราจารย์ดร.เกศินี จุฑาวิจิตร
2.อาจารย์ดร.กันยิกา ชอว์
3.อาจารย์ดนัย หวังบุญชัย
ดำเนินรายการโดย อาจารย์จำรัส จันทนาวิวัฒน์
โดยก่อนที่จะเริ่มถ่ายทำนั้น น้องเยาวชนได้เรียนรู้การทำ Mobile Journalism, รู้เท่าทันสื่อ และการถ่ายทำ ตัดต่อด้วย Smart Phone โดยคุณกุลพัฒน์ จันทร์ไกรลาศ หลังจากนั้น ได้แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อพัฒนาเนื้อหา และเทคนิคการนำเสนอ โดย ทีมวิทยากรพี่เลี้ยง ประกอบด้วย
- คุณกุลพัฒน์ จันทร์ไกรลาศ (วิทยากรกระบวนการ)
- อ.จำรัส จันทนาวิวัฒน์ (วิทยากรกระบวนการ)
- คุณสืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต กลุ่มพลังแห่งต้นกล้า
- คุณวิทยา จิรัฐติกาลสกุล กลุ่มสื่อสุขสันต์
- คุณอุมาพร ตันติยาทร โปรดิวเซอร์ รายการสารคดีโทรทัศน์ บริษัท บุญมีฤทธิ์ จำกัด
และลงมือถ่ายทำ
วันที่ 21 ตุลาคม 2561
น้องเยาวชนเตรียมตัวสำหรับการลงพื้นที่ถ่ายทำ แต่ละกลุ่มจะได้รับอุปกรณ์สำหรับใช้ในการถ่ายทำ โดยพื้นที่ในการถ่ายทำคือ ชุมชนนางเลิ้งและชุมชนบางลำพู ตลอดทั้งวัน พร้อมกับตัดต่อผลงานผ่าน Smart Phone ส่วนใหญ่ทำได้ ภายในวันนั้นเลย จะมีบางกลุ่มที่ ผิดพลาด ต้องถ่ายเพิ่ม หรือตัดใหม่ หรือปรับปรุงในช่วงเช้าของวันที่3
วันที่ 22 ตุลาคม 2561
น้องเยาวชนนำเสนอผลงาน จำนวนทั้งสิ้น 5 ผลงาน ในทั้งหมด 4 ประเด็น ความยาว 4 นาที เพื่อสะท้อนพื้นที่ที่ตนเองไปลงถ่ายทำ โดยผลงานดังกล่าวได้รับการ Comment จากทางคณะกรรมการเพื่อนำไปปรับแก้ผลงานและส่งกลับมายังโครงการในภายหลัง
โดยหลังจากผ่านกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสื่อศึกษานำร่อง ในพื้นที่ปฏิบัติการชุมชมบางลำพูและชุมชนนางเลิ้ง กทม. ส่วนใหญ่ แม้เวลาจะจำกัด แต่เด็กๆ ก็พอจะเรียนรู้เรื่อง โปรแกรม App ได้ไม่ยาก แต่ที่ยาก คือการสร้างเรื่องให้น่าสนใจ มีประเด็นและสาระ ตรงกับที่เราอยากให้เกิดขึ้น ซึ่งปัญหาเรื่องการเข้าใจเนื้อหา และนำเสนอ ออกมา เป็นเรื่องที่ต้องหาแบบแผนการถ่ายทอด พบว่า เด็กที่เข้าร่วมโครงการ มีวัยต่างกัน เป็นประเด็นสำคัญ เพราะเด็กมีสมาธิต่างกัน พัวพันถึงการสอนของวิทยากร หลังจากนี้กิจกรรมนำร่องดังกล่าว นำไปสู่การพัฒนาหลักสูตร วิธีการฝึกอบรม และการปรับใช้หลักสูตรให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งพื้นที่ภูมิภาคในเวทีต่อไป จะเน้นกลุ่มเป้าหมายไปที่นักวิชาชีพสื่อทั่วประเทศไทย และบุคคลทั่วไป