ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ที่ผ่านมา คนไทยมักคิดว่าเด็กอ้วนเป็นเด็กที่น่ารัก โดยไม่ได้คิดถึงผลทางด้านสุขภาพที่เกิดกับเด็ก ล่าสุดจึงมีการรณรงค์เพื่อเปลี่ยน สร้างความตระหนักในเรื่องนี้ขึ้น
โครงการปิ๊งส์ ภายใต้แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดประกวดสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์สื่อเพื่อการรณรงค์ ซึ่งดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ภายใต้หัวข้อ "อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน" (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้) ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและติดอาวุธความรู้ให้เยาวชนมีสุขภาพดีในทุกมิติ ด้วยการผลิตสื่อในประเด็นสุขภาวะและเผยแพร่นวัตกรรมสู่สังคม ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักโภชนาการสมวัย สำนักงานบริหารแผนงานอาหารและโภชนาการ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เครือข่ายคนไทยไร้พุง ชมรมครูการงานอาชีพและเทคโนโลยีกรุงเทพมหานคร และสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย
อาจารย์มานพ แย้มอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิกองทุน สสส. กล่าวว่า ในปี 2558 เด็กก่อนวัยเรียนเข้าสู่ภาวะอ้วนสูงขึ้น เฉลี่ยอัตรา 1 ต่อ 5 คน ส่วนเด็กวัยเรียนจะมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 20 และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20-25 สำหรับเด็กที่อยู่ในเมือง จากสถิติดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า ไทยเป็นประเทศที่มีอัตราโรคอ้วนในเด็กเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีเด็กก่อนวัยเรียนอ้วนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35 เด็กอายุระหว่าง 6-13 ปี อ้วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 และที่สำคัญเด็กเหล่านี้จะเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนถึงร้อยละ 80
ภาวะอ้วนในเด็กเกิดจากพฤติกรรมการกิน ที่ชอบกินอาหารไม่มีประโยชน์และไม่ออกกำลังกาย ในกิจกรรมครั้งนี้จึงมุ่งไปที่เยาวชนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ศพฐ.) จากการดำเนินงานที่ผ่านมามีการขยายกลุ่มเป้าหมายและขยายผลกิจกรรมที่สอดคล้องกับประเด็นปัญหา มีการดำเนินงานอย่างจริงจังทั้งในโรงเรียนและชุมชน ที่จะนำมาซึ่งการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เพราะการมีโภชนาการที่ดีเป็นต้นทางสู่การมีสุขภาวะดี ที่ผ่านมา สสส.ร่วมขับเคลื่อนงานในหลายมิติ ทั้งการไม่ใส่ผงปรุงรส ไม่ใช้โฟมบรรจุอาหาร ลดการปรุงรสหวาน มัน เค็ม รวมถึงส่งเสริมระบบเกษตรอินทรีย์ที่เป็นต้นทางของอาหารปลอดภัย
ด้าน อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษากรมอนามัยและอุปนายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย และในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิกองทุน สสส. กล่าวถึงการขับเคลื่อนกิจกรรมว่า ในโครงการประกวดสื่ออย่าปล่อยให้เด็กอ้วนปี 2 เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม เห็นได้จากการจัดนิทรรศการของทั้ง 20 โรงเรียนที่สามารถตีโจทย์กิจกรรมออกอย่างสร้างสรรค์จนน่าเหลือเชื่อ จนเกิดเป็นนวัตกรรมที่โดดเด่นโดยการดึงเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในทางที่ถูกต้อง มีการผนึกความร่วมมือทั้งโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน ทำให้นักเรียนและครูมีส่วนร่วมมากขึ้น และที่น่าประทับใจคือทุกโรงเรียนไม่มีการแบ่งแยกเด็กที่มีภาวะอ้วนกับเด็กภาวะปกติออกจากกัน ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่ไม่ทำให้เกิดปมด้อยในเด็ก
"ที่ผ่านมาผู้ปกครองยังมีความเชื่อผิดๆ ว่าเด็กอ้วนเป็นเด็กที่น่ารัก การทำสื่อรณรงค์จึงต้องเจาะลึกเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ชวนคนหันมากิน
อาหารที่มีประโยชน์ ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้ และออกกำลังกาย ถึงจะลดภาวะอ้วนในเด็กได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ ทางหน่วยงานจะต่อยอดโครงการด้วยการผนึกกำลังร่วมกับโครงการเด็กไทยแก้มใส เพื่อขยายผลการทำงานให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ต่อไป" อาจารย์สง่ากล่าว
สำหรับการจัดประกวดสื่อในหัวข้อ อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน ปีที่ 2 มีโรงเรียนเข้าร่วมทั้งหมด 22 โรงเรียน แบ่งเป็นเข้าประกวดสื่อ 20 โรงเรียน และร่วมเป็นพี่เลี้ยง 2 โรงเรียน ซึ่ง รร.บ้านขุนประเทศ ได้คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไปครองโดย นายกันตพัฒน์ มาฑา ครูผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม เล่าความประทับใจว่า จากการร่วมโครงการในปีที่ 1 ทำให้ตนเห็นถึงประโยชน์ของโครงการที่มีต่อเด็กนักเรียนอย่างแท้จริง ที่จะทำให้เด็กๆ รวมไปถึงผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพ เพราะเมื่อรู้วิธีการดูแลตนเอง เด็กก็จะมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่ต้องหยุดเรียนเวลาป่วย เด็กก็จะมีคุณภาพ ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ในปีที่ 2 จึงต่อยอดการสร้างนวัตกรรมด้วย 'โครงการบ้านขุน station ไม่มีวันอ้วน' มีไฮไลต์กิจกรรมคือ การจำลองรถไฟฟ้าสายสุขภาพที่รวบรวมกิจกรรมไว้ 5 สถานี ได้แก่ 1) Plern Station จัดนิทรรศการควบคู่กับการให้ความรู้ 2) Funny Station เล่นเกมควบคู่กับสาระแฝง 3) Diet Station จูงใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยการประกวดเมนูอาหารไร้พุง 4) Happy Station ออกกำลังกายพร้อมๆ ไปกับการมีความสุข และ 5) Healthy Station ประเมินผลจาก 4 กิจกรรมด้วยการเปลี่ยนขบวนเข้าสู่ขบวนรถไฟฟ้าสายสุขภาพสีชมพู เพื่อรับเข็มกลัดสุขภาพดี หากคนไหนไม่สามารถลอดได้จะต้องกลับไปเริ่มต้นที่สถานีแรก
"นักเรียนกลุ่มเป้าหมายหลักมีจำนวน 513 คน มีนักเรียนที่น้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 45 ภายในระยะเวลา 3 เดือนที่ร่วมโครงการ เราให้ความรู้ สร้างสรรค์กิจกรรม จนทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริง จนสามารถลดเด็กที่น้ำหนักเกินเหลือเพียงร้อยละ 35 ถือได้ว่าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จในการปรับให้เด็กหันวิถีศิลปินในถิ่นเชียงรายมากินผัก ผลไม้ เลือกกินอาหารดีและออกกำลังกาย ซึ่งสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมคือการสร้างจิตสำนึกให้เด็กตระหนักและรู้จักในวิถีของชาวบ้านเลือก จึงจะเป็นการแก้ปัญหาธรรมดา ยังมีร้านขายขนมจีนที่ต้นเหตุ ในฐานะครูที่ดำเนินน้ำเงี้ยว ที่มีเครื่องเครากิจกรรมก็ภูมิใจที่โรงเรียนได้รับประกอบลงแต่ละจานจำนวนรางวัลชนะเลิศและถ้วยรางวัลมาก รสชาติอร่อย คนต่างถิ่นพระราชทานฯ แม้โครงการต่างที่ก็กินได้, งานผ้า, สร้อย, จะจบลงวันนี้ แต่กิจกรรมยังเครื่องเงิน, เครื่องประดับ, คงดำเนินต่อไปเพื่อสร้างเด็กวัดวาอาราม ซึ่งสร้างขึ้นตามสุขภาวะดี" นายกันตพัฒน์เล่าสไตล์ช่างล้านนา ก็สุดแสนทิ้งท้ายจะประณีตงดงาม กระทั่งการเช่นเดียวกับ ด.ญ.ฐิติมา ปลูกผัก การทำฟาร์มสเตย์ บุญมี หรือ น้องเนส นักเรียนชั้น ป.6/1 รร.บ้าน หรือโฮมสเตย์ ทั้งเล็ก ทั้งขุนประเทศ ที่บอกไว้ว่า ก่อนร่วมโครงการชอบกินใหญ่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดต้องอาหารทอดๆ มันๆ ไม่ชอบออกกำลังกาย และรู้สึกเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นทางว่าเป็นคนเหนื่อยง่าย เมื่อได้ร่วมโครงการนี้ทำให้เปลี่ยนพฤติกรรม แล้วรู้สึกว่าตนเองสุขภาพดีกว่าส่วนใหญ่ที่มองเห็น เดิม ไม่เหนื่อยง่าย หันมาออกกำลังกายและกินผู้คนดูมีความสุขกับสิ่งที่ทำอยู่ตรงหน้า เงินที่จะผัก ผลไม้มากขึ้น พร้อมทิ้งท้ายว่า การกินอาหารได้มา สำคัญไหม ก็สำคัญ แต่ดูเหมือนว่ามันไปแบบผิดๆ จะส่งผลเสียต่อร่างกาย จึงอยากฝากให้ด้วยกันได้ ดูมันเดินทางไปพร้อมๆ กัน ไม่ต้องรอเพื่อนๆ เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อจะได้มีสุขภาพดีในว่า ต้องทำให้งานของตนสร้างเงินขึ้นมาก่อนจึงจะวันข้างหน้า
สำหรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่โรงเรียนวัดสวนส้ม (สุขประชานุกูล) สมุทรปราการ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์ และรางวัลชมเชย ได้แก่ โรงเรียน วัดทองสัมฤทธิ์ และโรงเรียนวัดปุรณาวาส
ซึ่ง รร.ศรีเอี่ยมอนุสรณ์ ที่คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ถือได้ว่าเป็นโรงเรียนน้องใหม่ที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นครั้งแรก โดย นางสาวจินตนา เกตุพิบูลย์ ครูวิทยฐานะครูชำนาญการ เล่าว่า โรงเรียนดำเนินงานภายใต้โครงการ 'บาสโลปไร้พุง สุขภาพดีที่ศรีเอี่ยม' ผ่านการขับเคลื่อนร่วมกับ 3 อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) จาก 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) ให้ความรู้เพื่อไร้พุง 2) ประกวดเมนูอาหารไร้พุง 3) เต้นบาสโลปไร้พุง และ 4) ค่ายไร้พุง 5 ฐานเรียนรู้ โดยการดึงวัฒนธรรมการเต้น บาสโลปจากประเทศเพื่อนบ้านมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบท และมีฐานเรียนรู้อาหารรอบรั้วโรงเรียนเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่โดดเด่น ด้วยการจัดประกวดเมนูอาหารที่ดีต่อสุขภาพจากร้านค้ารอบโรงเรียน ลดการใส่ผงปรุงรส ลดการใส่ซอส น้ำปลา เปลี่ยนจากทอดเป็นนึ่ง ซึ่งในแต่ละเมนูจะติดฉลากอาหารไว้หน้าร้านและทำเป็นโมเดลอาหารออกมา เพื่อให้เด็กรู้ว่าเมนูนี้ถ้ากินเข้าไปแล้วจะได้รับสารอาหารอะไรบ้างและปริมาณเท่าใด.
แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)
128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]