'ธีรวัฒน์ เถลิงสกุล' จากชายผู้สุขภาพติดลบ ก้าวสู่ชีวิตใหม่ ด้วยการ'วิ่ง'

20 กุมภาพันธ์ 2563

 

คอลัมน์ วันสุข : 'ธีรวัฒน์ เถลิงสกุล' จากชายผู้สุขภาพติดลบ ก้าวสู่ชีวิตใหม่ ด้วยการ'วิ่ง' 

 

 

          เพิ่งปิดฉากไปอย่างสดๆ ร้อนๆ สำหรับงานวิ่งสู่ชีวิตใหม่ "ไทยเฮลท์ เดย์ รัน" (Thai Health Day Run 2019) ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 เพื่อส่งเสริมให้คนไทยลุกขึ้นมาวิ่งเพื่อสุขภาพของตัวเอง

          แต่ถึงงานจะจบลงไปแล้ว สำหรับบางคน นี่อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้น จุดเปลี่ยนในชีวิต โดยเฉพาะ 8 บุคคลต้นแบบที่มิชชั่นของพวกเขาคือการ ก้าวข้ามขีดจำกัดของร่างกาย ได้แก่ ความพิการ ปัญหาสุขภาพ ผู้พิการ ออฟฟิศซินโดรม หรือผู้ที่มีความฝันอยากประสบความสำเร็จในชีวิต

          เพราะสิ่งที่ทั้ง 8 คนมีจุดร่วมเดียวกัน คือพวกเขายังไม่เคยเข้าสู่งานวิ่งใดมาก่อน และพวกเขามีความฝันที่อยากจะเปลี่ยนตัวเอง ให้มี "สุขภาพ" และ "ชีวิตที่ดีขึ้น"

          ซึ่งชีวิตของพวกเขาได้ถูกถ่ายทอดผ่านสื่อเรียลลิตี้วิ่ง "โครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ สตอรี่ : RunForNewLifeStory "จัดโดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมสุขภาพ โครงการปิ๊งส์  ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิสมาพันธ์ชมรม เดินวิ่งเพื่อสุขภาพไทย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

          หนุ่ย-ธีรวัฒน์ เถลิงสกุล อีเว้นท์ออแกไนเซอร์วัย 43 ปี หนึ่งในบุคคลต้นแบบที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาในโครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ สตอรี่ ครั้งนี้มาพร้อมกับเกณฑ์น้ำหนักเกินที่มากถึง 138 กิโลกรัม เขาเป็นหนึ่งคนที่คลุกคลีกับการจัดงานวิ่งมากว่า 15 ปี ได้เห็น คนอื่นสุขภาพดีมานาน แต่ตัวเองกลับ ไม่เคยคิดจะลงวิ่ง ไลฟ์สไตล์ของหนุ่ยคือนอนดึก ทำงานหลังบ่ายโมง มีชีวิตวนลูปและมีข้ออ้างที่จะไม่ออกกำลังกาย  จนกระทั่งถึงวัยหนึ่งที่ความดันโลหิต มาเคาะประตู เหนื่อยง่าย ลมหายใจหอบถี่ จึงเกิดความคิดจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่ออยู่กับคนที่รักได้นานขึ้น เขาตัดสินใจเริ่มวิ่ง แม้จะเคยรู้สึกติดลบการวิ่งมาก่อน

          "เมื่อ 30 ปีที่แล้ว มีงานวิ่งใหญ่ที่สะพานแขวน มีคนออกมาวิ่งหลักแสนคน แม่ผมเป็นคนที่พยายามพาผมออกไปวิ่ง ตอนนั้นวิ่ง 10 กม.แทบจะตาย นั่นเป็นงานวิ่ง ครั้งเดียวในชีวิตของผม เพราะหลังจากนั้น ผมก็รู้สึกไม่ดีกับการวิ่งอีกเลย แม้เราจะเป็นคนจัดงานวิ่งก็ตาม เราส่งเสริมให้คนอื่นวิ่ง เชียร์ให้คนอื่นวิ่ง แต่ตัวเองไม่วิ่ง จนกระทั่งมาถึงจุดเปลี่ยนที่สุขภาพผมเริ่มแย่ เราไม่อยากเป็นภาระให้พ่อแม่ ลูกก็ยังเล็ก และยังมีลูกน้องต้องดูแลอีก เราอยากอยู่ดูแลคนเหล่านี้ไปนานๆ ตอนแรกที่คิดจะวิ่ง ก็ยังไม่กล้า กลัวไม่ไหว กลัวเข่าจะรับน้ำหนักไม่ได้ แต่เราเห็นแล้วว่าทุกคนที่วิ่งสุขภาพดีขึ้น ก็เลยคิดว่าถึงเวลาที่จะออกมาวิ่งแล้ว พอมีโครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ ก็ไม่ลังเลที่จะเข้าร่วม" หนุ่ยเปิดเผยความรู้สึก

          เขายังเล่าถึงประสบการณ์เขาร่วมกิจกรรมให้ฟังว่า

          "โครงการนี้มีเวลา 90 วัน ช่วงแรกเราได้ตรวจร่างกาย ก่อนจะได้รับการเทรนจากโค้ช ผมมีโค้ชเดี่ยว-ร้อยตำรวจเอกปฏิการ เพชรศรีชา อดีตนักกรีฑาทีมชาติไทย  มาสอนและวางแผนการซ้อม มีทีมกำหนดอาหาร จากดร.สง่า ดามาพงษ์มาให้ คำแนะนำเรื่องการกินอาหาร แต่สุดท้ายความเปลี่ยนแปลงจะเกิดหรือไม่ขึ้นอยู่ที่ ตัวเราเอง ผมตั้งใจมาก เริ่มออกเดิน  ค่อยๆ วิ่ง ทีละ 100 เมตร 200 เมตร  ค่อยเป็นค่อยไปทำตามตารางซ้อม  จนกระทั่งได้ 1 กม. พัฒนามาเป็น 5 กม.  7 กม. และซ้อมจนถึง 10 กม. ตลอด  3 เดือน น้ำหนักผมลดลงมา 10 กิโลกรัม ความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันแรกที่เข้าร่วมโครงการจนถึงวันนี้ นอกจากน้ำหนักที่ลดลง ผมยังพบว่าตัวเองใจเย็นลง สุขภาพจิตดีแจ่มใสขึ้น และความขี้เกียจน้อยลง  ที่สำคัญไม่ป่วยเลย"

          สำหรับในงานนี้ ทุกคนจะได้รับ การดูแลสุขภาพจากทีมแพทย์และ ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวออกมาเป็นเรียลลิตี้เพื่อให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของแต่ละคน

          โดยงาน วิ่งสู่ชีวิตใหม่ Thai Health Day Run 2019 ที่จัดขึ้นที่สะพานพระราม 8 จะเป็นวันที่หนุ่ยและเพื่อนอีก 7 ชีวิตต้องพิสูจน์ตัวเอง

          จากคนที่อยู่เบื้องหลัง วันนี้เขากลายเป็นหนึ่งในนักวิ่งในครั้งนี้

          "ความรู้สึกวันนี้ ผมรู้สึกตื่นเต้นกับตัวเองว่าเราจะทำได้ไหม ผมวิ่งตามที่ซ้อมทำให้แต่ละกิโลฯ ที่ผ่านไปทำให้ผมสนุกมาก รู้สึกขอบคุณโค้ชยิ้มไปคุยไปตลอดทาง ไม่รู้สึกกดดันอะไรเลย  เข้าเส้นชัยอย่างมีความสุขในเวลา

          1.55 ชั่วโมง นี่เป็นครั้งแรกที่ผมวิ่งไม่หยุด ตั้งแต่ออกสตาร์ท" เขากล่าวด้วย น้ำเสียงภูมิใจ

          "เป้าหมายในการวิ่งต่อไปของผมคืองานจอมบึงมาราธอน และมีความสุข กับการวิ่งไปเรื่อยๆ และผมอยากฝากถึงคนที่ยังลังเลว่าจะออกมาวิ่งดีไหม ออกกำลังกายดีหรือเปล่า ผมอยากบอกว่าถ้าคุณอยากเปลี่ยนแปลงเพื่อชีวิตใหม่ อย่าลังเลคุณต้องเริ่มทำ หากมี เป้าหมายชัดเจนที่สำคัญอย่าท้อ เราก็เปลี่ยนแปลงตัวเองสำเร็จได้ในวันหนึ่ง" หนุ่ยอวดอย่างภาคภูมิใจ

          "อยากให้กำลังใจและสู้ไปด้วยกัน ถ้าผมแบกร่าง 138 กิโลฯ ออกไปวิ่งในตอนเช้าได้ ผมอดทนกับความรู้สึกท้อและความเหนื่อยล้าที่บอกตลอดว่าเอ็งพอเถอะได้ ผมเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ผมว่าคนอื่นก็ทำได้" บุคคลต้นแบบในโครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ สตอรี่ ทิ้งท้าย

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562



วิธีการใส่ MASK และทิ้งขยะให้ถูกต้อง

หน้ากากอนามัยเมื่อไช้แล้ว ควรทิ้งให้ถูกวิธีด้วยนะรู้ไหม?? เพราะหากเราใช้แล้วทิ้ง อาจจะทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ วันนี้แอดมินจึงมีวิธีการใช้และทิ้งที่ถูกต้องมาฝาก อย่าลืมนำไปใช้กันนะทุกคน แอดมินเป็นห่วง

สูตร (ไม่) ลับ ทำความสะอาด ปลอดเชื้อ ปลอดโควิด-19

เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังแพร่กระจายยังไม่มีทีท่าว่าจะหมดไป วันนี้แอดมินจึงนำวิธีดูแลตัวเอง และทำความสะอาด พื้นที่รอบๆ ตัวให้ปลอดเชื้อ ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆ เป็นวิธีใดบ้าง

5 อาการสัญญาณเตือน!ของไวรัสโควิด-19

หากใครมีอาการ มีไข้สูง มีน้ำมูก ไอ จาม เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ก็ควรรีบหาหน้ากากอนามัยมาใส่เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสและรีบไปพบแพทย์ทันที

ออกไปไหนมาไหนช่วงนี้ต้องระวังตัวเป็นพิเศษ ที่สำคัญตอนกลับบ้านต้องปลอดภัย อย่าให้โควิดเป็นของฝาก

และหากใครที่ตรวจพบว่าตัวเองมีไข้ รู้สึกไม่ปกติ ให้กักตัวอยู่ในบ้าน ไม่ออกไปพบปะสังสรรค์กับใครหรือทำกิจกรรมใดๆ นอกบ้านนะคะ ....รักกันจริงทิ้งระยะห่าง 14 วันนะคะ ....

กิจกรรมร่วมส่งไอเดียของคุณ ลุ้นรับเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ จากทางโครงการ Run for new life Story

ส่งคำตอบมาเรื่อยๆ จนกว่าของจะหมด ประกาศผู้โชคดีรอบแนงรกใน live สด วันจันทร์ ที่ 30 มีนาคม 2563 เวลา 12.00 น.

บทสรุป ‘โครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ Run For New Life Story’ ระยะที่ 1

ตลอดระยะเวลา 3 เดือน ก่อนจะถึงบททดสอบ 10 กิโลเมตรแรกในชีวิตของบุคคลต้นแบบทั้ง 8 คน นอกจากจะมีการตรวจเช็คสุขภาพโดยโรงพยาบาลศิริราชปิยะมหาการุณย์ ทั้งก่อนและจบโครงการ ผลการตรวจพบว่าทั้ง 8 คน มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น

โครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ Run For New Life Story

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-298-0987-8     โทรสาร : 02-298-0989
อีเมล : [email protected]