“ศิลปะเบาใจ” นำเสนอใน Workshop panel งานประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ศิลปกรรมวิจัย” ครั้งที่ 9 (FAR9) ภายใต้แนวคิดงาน “ทักษะ ศิลปะ ปรัชญา แห่งอุษาคเนย์”
.
เมื่อวันที่ 1-2 กันยายน 2566 ณ Performing Arts Studio สาขาวิชาการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ทดลองปรับกระบวนการศิลปะเบาใจให้มีความกระชับและสามารถดำเนินกิจกรรมทั้งหมดให้ครบกระบวนการได้ภายใน 3 ชั่วโมง และขยับจาก “พื้นที่โฮงสินไซ” มาสู่พื้นที่ “โรงละคร” เป็นครั้งแรก
.
อย่างไรก็ตาม การดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบจากการดำเนินกิจกรรมกระบวนการศิลปะเบาใจในงาน Soul Connect Fest @Lido กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 ทำให้ทีมวิทยากรเห็นว่า กระบวนการศิลปะเบาใจสามารถนำไปใช้ได้ในทุกพื้นที่และเหมาะกับผู้เข้าร่วมทุกเพศทุกวัย ซึ่งในงานประชุม FAR9 จัดการเวิร์คชอปในวันเสาร์ที่ 2 กันยายน 2566 จำนวน 2 รอบ ๆ ละ 30 คน มีผู้เข้าร่วมอายุตั้ง 7 ขวบ ไปจนถึงผู้สูงอายุ และมีความหลากหลาย อาทิ เด็ก นักเรียนมัธยมศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี โท เอก อาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยมหามหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน และผู้เชี่ยวชาญด้านการละครประยุกต์จากภาควิชาศิลปการละคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
ผลลัพธ์จากการดำเนินกิจกรรมทำให้เห็นว่า “ศิลปะเบาใจ” สามารถนำไปใช้ในการเวิร์คชอปนอกพื้นที่ได้ โดยให้ความสำคัญกับหัวใจของกิจกรรม รวมถึง การสร้างบรรยากาศที่ให้ความรู้สึกเช่นเดียวกับโฮงสินไซ โดยเฉพาะกลวิธีการนำกิจกรรมด้วยการเล่าเรื่อง “สินไซ”
.
ขอขอบคุณข่าวและภาพต้นฉบับจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พชญ อัคพราหมณ์
.
.
ติดตามข่าวสารและกิจกรรมปันศิลป์ ปันสุข เพิ่มเติมได้ที่