แวดวงดนตรี "Soundtrack" ตอนที่ 2

หมวดหมู่ บทความ , 24 มกราคม 66

Soundtrack ตอนที่ 2
สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านตอนแรก ผมจะทิ้งลิงค์ไว้ที่คอมเมนต์นะครับ Facebook
อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "JOHN CARPENTER' HALLOWEEN The Night He Came Home!"
ตัวอย่างเพลง  https://youtu.be/xHuOtLTQ_1I

Halloween (1978) อิทธิพลของ Synthesiser
ภาพยนตร์เรื่อง Halloween (1978) กำกับและทำดนตรีประกอบเองโดย John Carpenter นำเสนอความน่ากลัวแบบใหม่ให้แก่ภาพยนตร์สยองขวัญ คือทำให้ภัยคุกคามเป็นเรื่องใกล้ตัว แทนที่จะเป็นเรื่องของภูตผีปีศาจก็เปลี่ยนเป็นฆาตกรที่อยู่รอบบ้านของตัวละคร

ดนตรีประกอบของ John Carpenter ใช้ดนตรีที่ค่อนข้างเรียบง่าย Synth (Synthesiser) มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการทำดนตรีประกอบภาพยนตร์สยองขวัญในยุคนี้ หลาย ๆ เรื่องใช้ Synth เป็นหลัก เพราะมันประหยัดกว่าการจ้างวงออเครสตร้านั่นเอง ซึ่งในยุคนี้เป็นยุคเริ่มต้นที่ Film Composer เริ่มทำเพลงด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องจ้างนักดนตรี คนทำสกอร์ก็จะได้ค่าจ้างไปเต็ม ๆ
เครดิต Pongsathorn Posayanonth

อาจเป็นการ์ตูนรูป 1 คน และ ข้อความ
ตัวอย่างเพลง https://youtu.be/u1V4VN6pp5I

ต่อกันที่ Videodrome (1983) การผสมผสานเครื่องดนตรีเข้ากับ Synth
ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่อง Videodrome (1983) จากผู้กำกับ David Cronenberg และผู้ทำดนตรีประกอบคือ Howard Shore เป็นตัวอย่างแรก ๆ ของการผสมผสานเสียงวงออร์เคสตราเครื่องสายเข้ากับ Synth อย่างลงตัว โดยการบันทึกเสียงแยกกัน แล้วนำไป mix ในคอมพิวเตอร์ภายหลัง เพื่อสะท้อนถึงอัตลักษณ์แปลกแยกของตัวละครหลัก โดยส่วนตัวผมชอบซาวด์แบบนี้มาก มันแปลกใหม่ เท่ และน่ากลัวในเวลาเดียวกัน

อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน และ ข้อความพูดว่า "Orange Mécanique... Barry Lyndon... et maintenant, la terreur selon Stanley Kubrick... SHiNING STANLEY KUBRICK JACK NICHOLSON SHELLEY DUVALL ப AneGannnndnm"
ตัวอย่างเพลง  https://youtu.be/4lQ_MjU4QHw

Stanley Kubrick (1928 - 1999) กับเทคนิก “Repurposed Music”
Stanley Kubrick คือผู้กำกับที่มีอิทธิพลอย่างมากในวงการภาพยนตร์ งานของเขาส่วนใหญ่จะดัดแปลงมาจากวรรณกรรมและเรื่องสั้น และใช้เพลงที่มีอยู่แล้วนำมาใส่ในบริบทใหม่ของภาพยนตร์เพื่อให้สื่อความหมายใหม่ และเรียกเทคนิกนี้ว่า “Repurposed Music” นั่นเอง

ภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องแรก ๆ ที่เขาใช้เทคนิคนี้คือ The Shining (1980) โดยนำบทประพันธ์ Symphonie Fantastique ของคีตกวีชาวฝรั่งเศส Hector Berlioz มาผสมเข้ากับ Synth เพื่อทำเป็นดนตรีประกอบภาพยนตร์ ถ้าดูผ่าน ๆ ผู้ชมคงคิดว่าดนตรีประกอบคงทำขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในฉากนี้ แต่จริง ๆ แล้วเพลงประกอบคือดนตรีที่มีอยู่แล้วนั่นเอง เพียงแต่ว่าผู้กำกับเลือกนำท่อนบางท่อนมาตัดแปะเพื่อให้เข้ากับหนัง อยากบอกว่า The Shining (1980) หลอนมากครับ เพลงประกอบนี่คือฟังแล้วจิตตกเลย

อาจเป็นรูปภาพของ 5 คน
ตัวอย่างเพลง https://youtu.be/p8Ejl4eeFXM

Scream (1996) - การกลับมาของ Hollywood score
ภาพยนตร์เรื่อง Scream กำกับโดย Wes Craven ดนตรีประกอบโดย Marco Beltrami ถือเป็นการกลับมาของสกอร์ภาพยนตร์สยองขวัญแบบ Hollywood ที่ใช้วงออร์เคสตราขนาดใหญ่อีกครั้ง และเป็นภาพยนตร์ Blockbuster ที่ประสบความสำเร็จมาก ๆ เรื่องหนึ่งอีกด้วย

อาจเป็นรูปภาพของ 6 คน และ ข้อความพูดว่า "AMAZON ORIGINAL LAST KNOW YOU SUMMER DID NEW SERIES 15 OCTOBER prime video"
ตัวอย่างเพลง https://youtu.be/UDcu3Pg8LiI

และในช่วงปลายยุค 90 นี้เอง ก็ได้นำเพลงที่มีเนื้อร้องมาใช้ประกอบภาพยนตร์ ตัวอย่างเช่นภาพยนตร์เรื่อง I Know What You Did Last Summer (1997) กำกับโดย Jim Gillespie และเรื่อง The Craft (1996) กำกับโดย Andrew Fleming เพราะเพลงป๊อบร็อคในยุคนี้ถือว่าเป็นที่เฟื่องฟูและมีอิทธิพลต่อผู้คนมาก และการมีเพลงที่คนร้องตามได้สักเพลงสองเพลง อยู่ใน Soundtrack Album ก็ช่วยให้บริษัทขายแผ่น CD เพลงประกอบภาพยนตร์ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความ
ตัวอย่างเสียงประกอบ  https://youtu.be/fGT87k_CVJ0

สุดท้ายก็คือ The Modern Era
คงปฎิเสธไม่ได้แล้วว่าในยุคนี้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดนตรี มีบทบาทอย่างมากในการสร้างสรรค์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ ทั้งการอัดเสียง การสังเคราะห์เสียง และการผสมเสียงต่างๆ เข้าด้วยกัน composer มีแนวทางการทำเพลงใหม่ ๆ มากยิ่งขึ้น ทำให้เพลงประกอบภาพยนตร์ที่ออกมามีความหลากหลายหลุดออกจากการจำกัดเครื่องดนตรีและเสียงในชีวิตประจำวัน สำหรับภาพยนตร์สยองขวัญในยุคนี้ ได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก Sound Design สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือความนิยมในการใช้ Low Frequency Effect หรือเสียงต่ำๆ ที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อสร้างความน่ากลัว แต่ท้ายสุดแล้วในยุคนี้ก็ไม่มีอะไรตายตัว ผู้กำกับหรือผู้ทำเพลงประกอบเองก็มักจะนำเทคนิคเก่าหรือใหม่มาใช้สลับกันหรือนำมาผสมกันบ้าง เพื่อให้ภาพยนตร์ได้รับอรรถรสมากที่สุด

เป็นอย่างไรบ้างครับกับวิวัฒนาการของเพลงประกอบภาพยนตร์ ใครที่อ่านแล้วผมอยากแนะนำให้เข้าไปฟังตัวอย่างด้วยนะครับ บอกเลยว่าน่ากลัวและหลอนจริง ๆ เพื่อน ๆ คนไหนอยากอ่านหรืออยากรู้เรื่องไหนเกี่ยวกับดนตรีลองคอมเมนต์เข้ามาได้ในเพจปันศิลป์ ปันสุข ได้เลยนะครับ

ติดตามคอนเทนต์เกี่ยวกับแวดวงดนตรีได้ที่
จีรศักดิ์ จำรัส ( Music Creator )
และ Youtube ปันศิลป์ ปันสุข : https://bit.ly/3tKmMPW
ติดตามข่าวสารและกิจกรรมปันศิลป์ ปันสุข เพิ่มเติมได้ที่

Pride Month

8 มิถุนายน 67


โครงการปันศิลป์ ปันสุข

โดย : แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ที่ตั้งสานักงาน : 
     128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
     128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 
โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]