แวดวงดนตรี "อั๊ง อัง อั่ง"

หมวดหมู่ บทความ , 24 มกราคม 66

เพลงโดราเอม่อน




แปลเพลงโดเรม่อน
คนนะโคะโตะ อี้นะ เดะคิตะระอี้นะ ( เรื่องนี้ก็ดี ถ้าทำได้ก็ดีสินะ )
อันนะ ยุเมะ คนนะยุเมะ อิปไป อะรุเคะโดะ ( มีฝันแบบโน้น ฝันแบบนี้ มากมายเต็มไปหมด )
มินนะ มินนะ มินนะ คะนะเอะเตะคุเระรุ ( และทำฝันให้เป็นจริงได้หมด ได้ทั้งหมดเลย )
ฟุชิงิ นะ ป๊อกเกะ เดะ คะนะเอะเตะคุเระรุ” ( ด้วยกระเป๋าวิเศษ ช่วยบันดาลให้เป็นจริงได้ )
อั๊ง อัง อั่ง โททเตะโมะ ไดซุกิ โดราเอมอน” ( อั๊ง อัง อั่ง ชอบมากเลย ชอบโดราเอมอน )

ผมเชื่อว่าผู้อ่านในนี้ทุกคนต้องรู้จักการ์ตูน โดราเอม่อน หรือ โดเรม่อน กันอย่างแน่นอน เพราะโดราเอม่อนเป็นการ์ตูนที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุคกี่สมัยก็ยังมีให้เราได้ดูและได้เห็นกันอยู่เรื่อย ๆ สาเหตุที่การ์ตูนเรื่องนี้กลายเป็นตำนานและเป็นการ์ตูนที่อมตะ เพราะโดราเอม่อน “ ไม่มีตอนจบ ” นั่นเอง โดราเอม่อน ณ ปัจจุบัน โด่งดังไปทั่วเอเชียเพราะนอกจากจะเป็นการ์ตูนที่ตัวละครมีคาแรคเตอร์ที่ดี เนื้อเรื่องที่สนุกเกินจินตนาการแล้ว “ เพลงประกอบ ” ของการ์ตูนเรื่องนี้ยังไพเราะและติดหูผู้ฟังเป็นอย่างมาก

อั๊ง อัง อั่ง (ต่อว่าอะไรนะ ?) ตอนเด็ก ๆ ผมก็จะร้องมั่ว ๆ หน่อย แต่ปิดท้ายประโยคอย่าง โดราเอมออือ ได้ ประโยคจริง ๆ ก็คือ อั๊ง อัง อั่ง โททเตะโมะ ไดซุกิ โดราเอมอน (คำว่าอือก็คือโน้ตที่เพิ่มเข้ามาเพื่อให้คำว่าม่อนลงกับโมโลดี้) เรามาดูคำร้องและความหมายของเพลง “ โดราเอมอน โนะ อุตะ (ドラえもんのうた) ” หรือเพลง โดเรม่อน กันเถอะ (เนื้อเพลงอยู่ใต้รูป)



นี่คือเพลงโดราเอม่อนเวอร์ชันที่พวกเราคุ้นหู เวอร์ชันนี้เผยแพร่ครั้งแรกในปี 1979 ทางทีวีอาซาฮี แต่งโดย “ทาคุมิ คูซูเบะ” และร้องต้นฉบับโดย “คูมิโกะ โอสึกิ” ซึ่งปัจจุบันเธออายุ 69 ปีแล้ว แต่ทุกคนเชื่อไหม ว่าเพลงโดราเอม่อน เคยมีเพลงประกอบเป็นเพลงอื่น นอกจากเพลงนี้มาก่อน


โดยเพลงโดราเอม่อนนี้ถูกใช้ประกอบอะนิเมะในปี 1973 โดยออกอากาศที่ช่อง นิปปงเทเรบิ ( Nippon TV ) เป็นเพลงประกอบอะนิเมะเวอร์ชันแรกสุดของโดราเอมอน  ใช้ชื่อเพลงว่า “ โดราเอมอน ” กันตรง ๆ เลย ถือเป็นเพลงโดราเอมอนเพลงแรกในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ ประพันธ์ทำนองโดย โคะชิเบะ โนะบุโยะชิ ( 越部信義 ) และอาจารย์ Fujiko F. Fujio ( ผู้เขียนโดเราเอม่อน ) ถึงกับประพันธ์เนื้อร้องด้วยตัวเอง เพื่อผลงานเด่นชิ้นนี้ของตน แต่ผลลัพธ์ไม่ได้เป็นอย่างที่คิด เพราะทั้งเพลงและภาพตัวการ์ตูนในเรื่องถูกวิจารณ์อย่างหนักในตอนนั้น โดยเฉพาะเพลง มีทั้งเพลงขึ้นต้นเรื่องและเพลงจบเรื่อง ผู้คนวิจารณ์กันว่า เพลงขึ้นต้นเรื่องมีลักษณะเป็นเพลงลูกทุ่งโบราณของญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ เอ็งกะ ” มีการร้องแบบ ฮุย ๆ ฮา ๆ เป็นลูกคู่ในเพลง ( คล้ายเพลงฉ่อยบ้านเรา )


https://www.youtube.com/watch?v=dlIaqlbflWw เพลงประกอบโดราเอม่อนปี 1973

https://youtu.be/E8-6_emBwNM เพลงประกอบโดเรม่อนปี 1979

ซึ่งขัดแย้งกับภาพลักษณ์แห่งความเป็นอนาคตในเนื้อเรื่องอย่างมาก ส่วนเพลงจบเรื่องใช้ทำนองรุมบ้า ( Rumba ) ซึ่งไม่ได้เข้าอะไรกับแนวการ์ตูนแก๊กตลกสำหรับเด็ก มาถึงก็จัดเต็มทำนองแบบลาตินอเมริกา พร้อมใส่เนื้อร้องแบบร้องซ้ำคำเดิม ซ้ำรัว ๆ แบบรุมบ้า ซึ่งผมได้ฟังแล้ว ทั้งสองเพลงเป็นเพลงที่ดี แต่ก็ไม่เข้ากับการ์ตูนจริง ๆ นั่นแหละ ฮ่า ๆ ( ลิงค์เพลงดูได้จากใต้ภาพนะครับ ) ทันทีที่เพลงและการ์ตูนออกอากาศอาจารย์ Fujiko F. Fujio โกรธเป็นอย่างมาก เพราะทีมงานทำได้ไมตรงกับที่สัญญาไว้ ส่งผลให้โดราเอม่อนเวอร์ชันแรก 1973 ออกอากาศได้เพียงแค่ 6 เดือนเท่านั้น หลังถูกวิจารณ์อย่างหนักไปและไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
เราลองมาฟังเพลง โดราเอม่อน ในแต่ละเวอร์ชันกัน ว่าจะเป็นอย่างไร (ลิ้งก์อยู่ใต้รูป)

ติดตามคอนเทนต์เกี่ยวกับแวดวงดนตรีได้ที่
จีรศักดิ์ จำรัส ( Music Creator )
และ Youtube ปันศิลป์ ปันสุข : https://bit.ly/3tKmMPW
ติดตามข่าวสารและกิจกรรมปันศิลป์ ปันสุข เพิ่มเติมได้ที่

 


Pride Month

8 มิถุนายน 67


โครงการปันศิลป์ ปันสุข

โดย : แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ที่ตั้งสานักงาน : 
     128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
     128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 
โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]