แวดวงดนตรี "ดนตรีมีผลต่อร้านอาหารมากกว่าที่คิดจริงหรือ ? "

หมวดหมู่ บทความ , 24 มกราคม 66

ดนตรีมีผลต่อร้านอาหารมากกว่าที่คิดจริงหรือ ?

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความ

เสียงเพลงอยู่คู่กับผู้คนทุกช่วงเวลา ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาพักผ่อน ขับรถ อาบน้ำ หรือแม้กระทั่งก่อนนอน นอกจากชีวิตประจำวัน เสียงเพลงก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลหรือวันที่พิเศษต่าง ๆ จึงไม่ต้องแปลกใจเลย ว่าทำไมร้านอาหาร ร้านกาแฟหรือร้านค้าต่าง ๆ จึงต้องเอาเสียงเพลงหรือวงดนตรีมาเป็นส่วนประกอบในการทำธุรกิจ

ดนตรีนั้นมีผลให้คนที่เข้ามาในร้านรู้สึกคุ้มค่าหรือรู้สึกว่าสินค้า อาหาร นั้นถูกหรือแพง เช่น เวลาเราเข้าร้านอาหารหรู ๆ มักจะได้ยินเสียงเพลงหรือดนตรีคลาสสิก แจ๊ส หรือมีวงดนตรีที่เล่นแนวเหล่านี้เป็นส่วนประกอบ ทั้งแนวเพลง ระดับความดังเบา หรือจังหวะนับว่ามีผลอย่างมากต่อการทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มดี ๆ ดนตรีที่เข้ากับบรรยากาศนั้นจะส่งผลให้รสชาติต่าง ๆ มีรสชาติที่ดีขึ้น กลับกันหากเสียงดนตรีดังเกินไปและไม่เข้ากับบรรยากาศ ก็อาจส่งผลให้ความรู้สึกในการทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มนั้นแย่ลง และดนตรียังสามารถทำให้ความรู้สึกอึดอัดลดน้อยลงอีกด้วย ซึ่งหลาย ๆ คนก็จะเลือกร้านอาหารจากการที่เปิดเพลงและวงดนตรี

ในร้านอาหารแต่ละที่ แต่ละประเภทก็ใช้กลยุทธ์ในการเปิดเพลงหรือมีดนตรีที่ไม่เหมือนกัน มีผลสำรวจจาก HUI Research (อ้างอิงผลมาจากการวิจัยที่ไปเก็บข้อมูลจากร้านอาหารถึง 16 เชน)บอกว่า การใช้เพลงที่เหมาะสมช่วยเพิ่มยอดขายได้มากถึง 15 % แต่กลับกันหากเลือกใช้เพลงแบบผิด ๆ อาจส่งผลให้ยอดขายลดลงได้กว่า 4 % เลยทีเดียว

อย่างร้านอาหารบุฟเฟต์ หรือร้านขายของจำพวกราคา 20 บาท มักใช้ดนตรีที่มีจังหวะที่เร็ว เพราะจังหวะที่เร็วช่วยกระตุ้นให้คนที่อยู่ในร้านมีจังหวะที่เร็วขึ้นได้ด้วย ส่งผลให้กินอาหารได้น้อยลง ซื้อของกันรวดเร็วขึ้น แต่บางกรณี เช่นร้านชาบู อาจจะเปิดแต่เพลงอกหัก นี่ไม่ใช่ความบังเอิญ เพราะเพลงนั้นส่งผลต่อสภาพจิตใจจริง ๆ ประมาณว่า เศร้าจนกินไม่ลงนี่แหละ

การเปิดเพลงหรือเลือกวงดนตรีจึงมีความสำคัญอย่างมากในแต่ละธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงต้องเลือกใช้แนวเพลงให้ถูกต้อง

1. ต้องเข้าใจแก่นของร้านว่าร้านเป็นแบบไหน ผู้ใช้บริการมีลักษณะอย่างไร รสนิยมแบบไหน การเข้าใจในลักษณะของร้านจะทำให้รู้และนำสิ่งที่ต้องการเสนอให้กับลูกค้าของตัวเองได้ถูกต้อง

2. จัดช่วงเวลาในการใช้เพลงให้เหมาะสม รู้ระดับความดังเบาในช่วงเวลา ไม่ควรเปิดเพลงเบาไปจนวังเวง หรือดังไปจนน่ารำคาญ เช่น เปิดเพลงบรรเลงเบา ๆ ในช่วงเวลาดื่มกาแฟยามเช้าให้กับลูกค้า อย่าง Starbucks มักจะเปิดเพลงบรรเลงที่เราไม่รู้จัก แต่กลับทำให้เพลิดเพลินไปกับมันได้ เพราะเพลงที่เราไม่รู้จักพวกนี้จะช่วยให้เราไม่ต้องไปสนใจกับตัวเพลงมากนัก ส่งผลให้เรามีสมาธิในการสั่งซื้อสินค้าได้มากขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้ว Starbucks นั้นให้ผู้เชี่ยวชาญมาจัดเพลย์ลิสต์เพลงที่จะเปิดในร้านด้วย

สุดท้ายแล้วการเลือกใช้เพลงหรือไม่เลือกใช้เลย ก็ส่งผลในการตัดสินใจต่อการบริโภคของลูกค้าที่ต่างกัน การไม่เปิดเพลงเลยอาจทำยอดขายได้มาก เพราะคนมีสมาธิในการเลือกซื้อของมากกว่า แต่ในบางธุรกิจเสียงเพลงนั้นช่วยเพิ่มยอดขายได้จริง ๆ แต่แน่นอนว่าการเปิดเพลงหรือเล่นเพลงในร้านอาหารนั้นก็ย่อมมีเรื่องลิขสิทธิตามมา

ติดตามคอนเทนต์เกี่ยวกับแวดวงดนตรีได้ที่
จีรศักดิ์ จำรัส ( Music Creator )
และ Youtube ปันศิลป์ ปันสุข : https://bit.ly/3tKmMPW
ติดตามข่าวสารและกิจกรรมปันศิลป์ ปันสุข เพิ่มเติมได้ที่

Pride Month

8 มิถุนายน 67


โครงการปันศิลป์ ปันสุข

โดย : แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ที่ตั้งสานักงาน : 
     128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
     128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 
โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]