แวดวงดนตรี "ลิขสิทธิ์เพลงเบื้งต้น" ตอนที่ 1

หมวดหมู่ บทความ , 24 มกราคม 66

ลิขสิทธิ์เพลงเบื้องต้น


อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ข้อความพูดว่า

เราทุกคนต่างก็ชอบฟังเพลง ร้องเพลง และก็รู้ดีว่ากว่าศิลปินหรือนักแต่งเพลงจะผลิตผลงานออกมาได้ในแต่ละชิ้นนั้น ต้องใช้ความพยายาม ประสบการณ์ การฝึกซ้อม และทรัพยากรต่าง ๆ มากมาย ผมเชื่อว่าศิลปินทุกคนนั้นอยากให้ผู้คนชื่นชอบและรู้จักผลงานของตัวเอง และส่วนใหญ่ก็อยากให้ผู้ฟังเอาเพลงของตัวเองไปเล่นหรือไปร้อง จนในบางครั้งพวกเรามักหลงลืมกันไปบ้างว่า เพลงทุกเพลงบนโลกล้วนมีเจ้าของ และเราทุกคนมี “ สิทธิ์ ” ในเพลงที่ไม่เท่ากัน บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีสิทธิ์สร้างรายได้จากลิขสิทธิ์ผลงานของตัวเอง กลับกัน บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าไม่มีสิทธิ์เอาเพลงของคนอื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติ วันนี้ปันศิลป์ปันสุข จะมาไขข้อสงสัยในเรื่องลิขสิทธิ์เกี่ยวกับดนตรี โดยจะตั้งคำถามตอบให้ทุกคนทั้งในและนอกวงการดนตรีได้รับรู้แบบง่าย ๆ เผื่อจะได้ไม่ไปทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์กัน

ตอนที่ 1 ผู้สร้างสรรค์ผลงานจัดเก็บรายได้จากที่ไหนได้บ้าง

ถาม : ลิขสิทธิ์งานดนตรีกรรมคืออะไร ใครเป็นเจ้าของ ?

ตอบ : คือสิทธิ์ในงานแต่งเพลงเพื่อบรรเลงหรือร้อง งานคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับเพลงทุกอย่าง ซึ่งเจ้าของก็คือ ผู้ประพันธ์ทำนอง ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง ผู้เรียบเรียง พับลิชเชอร์ (ตัวแทนของผู้แต่งเพลง ดูแลสิทธิ์ในเพลงให้ศิลปิน)

ถาม : ใครเป็นผู้ช่วยดูแลลิขสิทธิ์ให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้บ้าง ?

ตอบ : 1.กลุ่มผู้บริหารสิทธิ์บนคอนเทนต์ดิจิทอล มีดังนี้
1.1 DSP (Digital Service Provider) คือผู้ให้บริการแพล็ตฟอร์มออนไลน์อย่าง Youtube, Spotyfy, Facebook, Apple Music เป็นต้น

1.2 CA (Content Aggregator) หน่วยงานตัวกลางที่ดูแลคอนเทนต์ต่าง ๆ ของเจ้าของสิทธิ์ รวบรวมและจัดจำหน่ายดิจิทัลคอนเทนต์ ถือคอนเทนต์ของเจ้าของสิทธิ์ไว้ขายเพื่อให้นำไปใช้ซ้ำ เป็นบริษัทจัดเก็บค่าสิทธิ์ที่ดูแลหลายแพลตฟอร์ม

1.3 MCN (Multi Channel Network) พาร์ตเนอร์ของ DSP เช่น คอนเทนต์ครีเอเตอร์หรือเจ้าของช่อง Youtube คือบุคคลเหล่านี้จะช่วยเพิ่มยอดผู้ชม หาสปอนเซอร์ โฆษณา โปรโมท โดยแลกกับเปอร์เซ็นของรายได้

2. Publisher (พับลิชเชอร์) อาจจะไม่คุ้นหูในบ้านเราแต่ที่ต่างประเทศตัวละครนี้จะช่วยเป็นตัวแทนของศิลปิน คอยดูแลและจัดการให้เจ้าของผลงานได้รับผลประโยชน์ต่าง ๆ ในทุกช่องทาง ในปัจจุบันค่ายเพลงในไทยก็มีการสวมบทบาทเป็นพับลิชเชอร์ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท สไปร์ซซี่ ดิสก์ จำกัด, บริษัท มิวซิกมูฟ จำกัด เป็นต้น

3.องค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ (CMO) เป็นองค์กรที่ทำงานหนักที่สุด คือจะมีหน้าที่คอยไปตรวจสอบว่าผลงานของผู้สร้างสรรค์ถูกนำไปใช้โดยมีใบอนุญาตหรือไม่ ไม่สังกัดค่ายใหญ่หรือเล็ก เป็นตัวกลางที่คอยช่วยดำเนินการเก็บค่าลิขสิทธิ์ให้ผู้สร้างสรรค์ผลงาน
ปกติในค่ายเพลงใหญ่ ๆ อย่าง GMM, RS จะมีการจัดการดูแลลิทสิทธิ์ให้อยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ทำผลงานอิสระ สามารถไป “ จดแจ้งลิขสิทธิ์ ” เป็นสมาชิก CMO ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP) ได้

ถาม : ทำไมศิลปินถึงต้องเป็นสมาชิก MCT แล้ว MCT คือองค์กรอะไร ?

ตอบ : MCT หรือ บริษัทลิขสิทธิ์ดนตรี (ประเทศไทย) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร รับบทบาทในการช่วยจัดเก็บลิขสิทธิ์ให้ศิลปินทันทีเมื่อเป็นสมาชิกโดยศิลปินไม่ต้องดำเนินการงานเอกสารที่ตัวเองไม่ถนัดเอง เรียกได้ว่า MCT ทำให้ทุกขั้นตอนในการจัดสรรเงินลิขสิทธิ์คืนให้แก่ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ยกตัวอย่างศิลปินที่เป็นสมาชิกของ MCT เช่น The Toy, สิงโต นำโชค, แสตมป์ อภิวัชร์ เป็นต้น

ในตอนต่อไปเราจะมาพูดถึงว่ามีอะไรบ้างที่ทำแล้ว ผิดลิขสิทธิ์ ติดตามได้ในวันอังคารนี้ที่เพจปันศิลป์ ปันสุขครับ

ติดตามคอนเทนต์เกี่ยวกับแวดวงดนตรีได้ที่
จีรศักดิ์ จำรัส ( Music Creator )
และ Youtube ปันศิลป์ ปันสุข : https://bit.ly/3tKmMPW
ติดตามข่าวสารและกิจกรรมปันศิลป์ ปันสุข เพิ่มเติมได้ที่

Pride Month

8 มิถุนายน 67


โครงการปันศิลป์ ปันสุข

โดย : แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ที่ตั้งสานักงาน : 
     128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
     128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 
โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]