ภาษาไทยอะไรกันนี่!...วันนี้ปันศิลป์ ปันสุข ขอนำเสนอ "ทัณฑฆาต กับตัวการันต์" มันต่างกันยังไงหนอ
เพื่อนๆ รู้ไหมเอ่ย ว่า ทัณฑฆาต กับตัวการันต์ แตกต่างกัน เดี๋ยวเรามาทำความรู้จักตัวตัวนี้กันค่ะ
"การันต์" ไม่เท่ากับ "ทัณฑฆาต"..
คำว่า "ทัณฑฆาต" มาจากคำว่า "ทัณฑ" (อ่านว่า ทัน-ทะ แปลว่า แท่งไม้ กับคำว่า "ฆาต" แปลว่า การฆ่า
การทำลาย คำว่า "ทัณฑฆาต" หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้ฆ่าตัวอักษรที่ไม่ต้องออกเสียง เครื่องหมายต่างๆ
ที่ใช้กำกับตัวฮักษรในภาษาไทยเรียกว่าไม้ เช่น ไม้ไต่คู้ ไม้ยมก เครื่องหมายทัณฑฆาตจึงเรียกอีกอย่างว่า
"ไม้ทัณฑฆาต"
ส่วนคำว่า "การันต์" หมายถึงตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง เช่น ในคำว่า พงศ์ มี ศ ศาลา เป็นตัวการันต์ คือเป็นตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งแสดงด้วยไม้ทัณฑฆาตที่เขียนไว้บนตัว ศ ศาลา เมื่อจะพูดถึงเครื่องหมายที่ใช้ฆ่าตัวอักษรจะใช้คำว่า ไม้ทัณฑฆาต แต่เมื่อจะพูดถึงตัวอักษรที่มีเครื่องหมายดังกล่าวจึงจะเรียกว่า ตัวการันต์เช่น คำว่า แพทย์ มี ย ยักษ์ เป็นตัวการันต์. คำว่า ยนต์ มี ต เต่า เป็นตัวการันต์
พอจะเข้ากันใช่มั้ยเอ่ย แล้วอย่าลืมมาเรียนรู้ศัพท์ใหม่ๆ ไปด้วยกันน้า