“หมอลำ” เป็นการแสดงพื้นบ้านภาคอีสาน ที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตผู้คนมาอย่างยาวนาน
แต่ในสายตาเด็กรุ่นใหม่ อาจมองว่าการแสดงพื้นบ้านนี้ ล้าสมัย และไม่เข้าท่า ขณะที่คนรุ่นเก่าที่อยากสืบสานต่อลดน้อยลง รอยต่อที่เชื่อมไม่ติดนี้ หากไม่มีคนรุ่นหลังมองเห็นความสำคัญ เท่ากับเราจะสูญเสียมรดกทางภูมิปัญญานี้ตลอดไป...
โครงการ “หมอลำหุ่น สื่อศิลป์สุขใจ ไทดงน้อย ชุมชน 3 ดี” บ้านดงน้อย ต.พระธาตุ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม โดยกลุ่มหมอลำกระติบเกิดขึ้นเพื่อเชื่อมรอยต่อระหว่างคนสองวัย โดยใช้ละครหุ่นและการแสดงหมอลำพื้นบ้านเป็นเครื่องมือในการสร้างการเรียนรู้ร่วมกัน
เมือง 3 D เปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนชุมชน เครื่องมือในการพัฒนาคน ไปพร้อมกับรักษาศิลปวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านสู่คนรุ่นหลัง
ครูเซียง ผู้สร้างกระบวนการใช้กระติบข้าวเหนียวและการแสดงหมอลำพื้นบ้านทำงานร่วมกับกลุ่มเยาวชน ตั้งแต่การอ่าน คิด ผลิตหุ่น รวมทั้งเป็นนักแสดงละครหุ่นสู่สาธารณชนในวงกว้าง ขณะที่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้ถ่ายทอดความรู้ และสอดแทรกเนื้อหาด้านคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้กลุ่มเยาวชนซึมซับคุณค่าความดีงามและการรักษาศิลปวัฒธรรมพื้นบ้านนี้ไปพร้อมกัน ปัจจุบัน ต.พระธาตุ ที่เคยเป็นตำบลเล็กๆ นอกสายตา กลายเป็นที่รู้จักในฐานะ หมอลำหุ่นกระติบ คณะเด็กเทวดา หนึ่งเดียวในโลก
กล้าที่มองศิลปวัฒนธรรมด้วยมุมมองใหม่ ผลที่ได้นอกจากของเก่าไม่ถูกกลืนหาย ยังได้ปลูกเมล็ดพันธุ์ความดีงามลงในหัวใจของเยาวชนในพื้นที่อีกด้วย