ภาษาไทยอะไรกันนี่!...วันนี้ปันศิลป์ ปันสุข ขอนำเสนอ "คำควบกล้ำ ใช้อย่างไรดีนะ"
เวลาเพื่อนๆ พิมพ์แชท มักลดทอนคำควบกล้ำ จนความถูกต้องในการใช้ภาษาผิดเพี้ยนไป
เช่น พี่ปันศิลป์รู้ยังมหาวิทยาลัย ปับปุงอาคารตงข้ามตึกวิดวะเส็ดแล้ว สวยมาก ซึ่งคำเขียนที่ถูกต้อง คือ ปรังปรุง, ตรง, วิศวะ และ เสร็จ
คำควบกล้ำหรืออักษรควบ เป็นส่วนประกอบสำคัญในภาษาไทย ช่วยเพิ่มเสียงและความหมายของคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น กลมกล่อม ครอบครัว
โดยคำควบกล้ำภาษาไทยแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด
๑. คำควบกล้ำแท้ สังเกตจากการใช้พยัญชนะ ร ล ว ควบกับพยัญชนะต้นตัวหน้า เมื่ออ่านออกเสียงจะต้องออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวควบกัน
๒. คำควบกล้ำไม่แท้ ที่มี ซ ส ศ เป็นพยัญชนะตัวหน้า ร อ่านออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า เช่น ไซร้ เสริม เศร้า และคำควบกล้ำไม่แท้ที่มี "ท" เป็นพยัญชนะหน้าตัว "ร" อ่านออกเสียง "ซ" เช่น ทราย ทรัพย์ ทราบ โทรม
หากเรารู้หลักการเขียนและวิธีการออกเสียงแบบง่ายๆ จะช่วยใช้คำควบกล้ำทั้งการเขียน และพูดสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องมากขึ้น จริงไหมล่ะคะ