4 มกราคม วันอักษรเบรลล์
อักษรเบรลล์ในประเทศไทย มีการใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2482 โดยสุภาพสตรีอเมริกันตาบอด ชื่อ มิสเจนีวีฟ คอลฟิลด์ (Miss Genevive Caufield) ร่วมกับคนไทย โดยประยุกต์จากอักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษ นำมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับภาษาไทย เช่น การใช้พยัญชนะ ตัวสะกด วรรณยุกต์ และสระพิเศษ
อักษรเบรลล์นั้นถือว่าช่วยให้กับคนตาบอดสามารถเรียนรู้ อ่าน เขียน และเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป นับเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางสังคม
อักษรเบรลล์นั้นได้รับการพัฒนาโดย หลุยส์ เบรลล์ (Louis Braille) นักเรียนตาบอดชาวฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) ขณะอายุเพียง 15 ปี ซึ่งเขานั้นสูญเสียการมองเห็นจากอุบัติเหตุตั้งแต่อายุ 3 ปี เบรลล์ได้ปรับปรุงระบบ Night Writing ของบาร์บิเยร์ ด้วยการลดจำนวนสัญลักษณ์ลงเหลือเพียง 6 สัญลักษณ์เท่านั้น แต่ละสัญลักษณ์ประกอบด้วยจุดนูน 1 ถึง 6 จุด เรียงเป็นแนวตั้ง 2 แถว แถวละ 3 จุด ตำแหน่งของจุดแต่ละจุดจะกำหนดความหมายของสัญลักษณ์ที่แตกต่างกัน ทำให้อักษรเบรลล์มีขนาดเล็กกะทัดรัด ง่ายต่อการสัมผัสด้วยปลายนิ้ว จดจำได้ง่าย และสามารถเรียงต่อกันได้เพื่อสร้างคำและประโยคได้
ติดตามข่าวสารและกิจกรรมปันศิลป์ ปันสุข เพิ่มเติมได้ที่
Web: www.artculture4health.com/pun
Facebook: https://www.facebook.com/PunSilpPunSook
YouTube: https://bit.ly/3tKmMPW
Instagram: https://www.instagram.com/punsilppunsook
Twitter: https://twitter.com/PunSilpPunSook
TikTok: https://www.tiktok.com/@punsilppunsook
#ปันศิลป์ปันสุข #สสส #แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ #เบรลล์ #อักษรเบรลล์ #คนตาบอด