ตำนานนางนพมาศกันก่อน

หมวดหมู่ บทความ , 22 พฤศจิกายน 66

ก่อนจะถึงวันลอยกระทง 27 พฤศจิกายนนี้ มารู้จักกับตำนานนางนพมาศกันก่อน

ต้นทางของข้อมูลว่านางนพมาศริเริ่มประดิษฐ์กระทงทรงดอกบัวนั้น มาจากหนังสือเรื่อง “นางนพมาศ หรือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์” โดยความตอนหนึ่งเล่าว่า

“. . . พอถึงการพระราชพิธีจองเปรียง ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เป็นนักขัตกฤษ์ชักโคมลอยโคม บรรดาประชาชนชายหญิงต่างตกแต่งโคมชักโคมแขวนโคมลอยทุกตระกูลทั่วทั้งพระนคร แล้วก็ชวนกันเล่นมหรสพ สิ้นสามราตรีเป็นเยี่ยงอย่าง . . . ข้าน้อยก็กระทำโคมลอยคิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมพระสนมกำนัลทั้งปวง จึ่งเลือกผกาเกสรศรีต่างๆ ประดับเป็นรูปดอกกระมุทบาน กลีบรับแสงพระจันทร์ ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย แล้วก็เอาผลพฤกษาลดาชาติมาแกะจำหลักเป็นรูปมยุระคณานกวิหคหงส์ ให้จับจิกเกสรบุปผชาติอยู่ตามกลีบดอกกระมุท เป็นระเบียบเรียบเรียงวิจิตรไปด้วยสีย้อมสดส่างควรจะทอดทัศนายิ่งนัก ทั้งเสียบแซมเทียนธูปและประทีปน้ำมันเปรียงเจือด้วยไขข้อพระโค . . .”

'นางนพมาศ' เรื่องเรวดีนพมาศ และเรื่องตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด กล่าวถึง 'นางนพมาศ' ผู้มีบิดาเป็นพราหมณ์รับราชการในตำแหน่งพระศรีมโหสถ ครั้งนครสุโขทัยเป็นราชธานีของสยามประเทศ มารดาของนางนพมาศชื่อนางเรวดี บิดามารดาได้นำนางนพมาศถวายทำราชการในสมเด็จพระร่วง ได้เป็นพระสนมเอกตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์นางได้คิดค้นประดิษฐ์รูปดอกบัวโกมุท และใช้ในพระราชพิธีลอยพระประทีป

“นพมาศ” นั้น ตามคำอธิบายในเรื่องว่า เพราะนางผู้นี้มีผิวสีเหลืองนวลดุจทอง บิดาจึงตั้งชื่อว่า “นพมาศ” แปลว่า “ทองเนื้อเก้า” คือทองคำบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นชื่อที่ไม่พบในเอกสารหรือจารึกใดในประวัติศาสตร์ แต่อีกนามที่ปรากฏในเรื่องคือ “ศรีจุฬาลักษณ์” กลับเป็นชื่อที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ ทั้งเอกสารฝ่ายอยุธยา และจารึกสมัยสุโขทัย

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

Pride Month

8 มิถุนายน 67


โครงการปันศิลป์ ปันสุข

โดย : แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ที่ตั้งสานักงาน : 
     128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
     128/177 Phayatai Plaza, 16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand
โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 
โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]