"กกบ่แหน่น ปลายดกหนากะตามส่าง ฮากบ่หยั่ง ฝังเลิ๊กพื้น บ่มีมั่นอยู่ได้โดน ดอกนา" ความหมายว่า ต้นไม้แม้จะดูแข็งแรงพุ่มดกหนา หากแต่รากไม่หยั่งฝังลึกลงไปในดิน ไม่มีวันที่จะยืนต้นได้อย่างคงทน เฉกเช่น การสร้างบ้านแปงเมืองให้น่าอยู่ ถ้าทุกคนไม่ร่วมมือกัน ไม่มีทางที่จะทำสำเร็จ
Spark U ปลุก-ใจ-เมือง #อีสานม่วนสุข 5+1 ปลุกพลังพลเมืองตื่นรู้ เปลี่ยนเมืองอีสานให้น่าอยู่ร่วมกันปฏิบัติการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลง ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ใช้ยุทธศาสตร์เมือง 3 ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี) ในการสร้างพลเมืองตื่นรู้ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองไปสู่ความยั่งยืนร่วมกัน
โดยมี ๔ กลไกหลักในการ ปลุก-ใจ-เมือง
Me : การปลุกตัวเองให้มองเห็น คิด และลงมือทำ
Heart : จุดประกายหัวใจให้ทุกคนเห็นความสำคัญของทุกความสัมพันธ์ เพื่อเปิดกว้าง เชื่อมโยง แบ่งปัน พร้อมขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
Spirit : ให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกหรือจิตวิญญาณในการตระหนัก ตื่นรู้
Space : เปิดพื้นที่ให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองไปด้วยกัน
และหัวใจสำคัญในการสร้างกระบวนการให้เกิดการร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง คือการทำงานภายใต้แนวความคิด “บ ว ร Model” โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเด็กและเยาวชนเพราะเชื่อว่าพลังของคนรุ่นใหม่ นอกจากจะสร้างสรรค์ ยังช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนให้ไปต่อได้ในอนาคต โดยมี 3 ประเด็นหลัก คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางอาหาร และพื้นที่สร้างสรรค์สุขภาวะ ในการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองให้น่าอยู่มากขึ้น
Spark U ปลุก-ใจ-เมือง #อีสานม่วนสุข 5+1 ในปีนี้ ใช้แนวคิด เฮ็ด ฮัก ฮัก
เราต้องช่วยกันทำ (เฮ็ด)
ช่วยกันดูแล (ฮัก)
และทำทุกอย่างด้วยหัวใจ (ฮัก)
โดยดึงจุดเด่นการพัฒนาเมืองร่วมกันแบบญาติพี่น้อง มาใช้เป็นฐานในทำงานร่วมกันใน ๖ พื้นที่ ครอบคลุมจังหวัดขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดเลย โดยมี ๕ ประเด็นในการทำงานร่วมกัน
- ขับเคลื่อนชุมชนผ่านเครือข่ายแกนนำเยาวชนสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม
- ใช้ฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอีสาน
- ช่องทางสื่อสารรณรงค์ผ่านพื้นที่สาธารณะ
- ใช้สื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและทัศนคติ
- เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ ร่วมคิดร่วมทำ
และมี “หยุ้ม” วารสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ด้วยปฏิบัติการ ปลุก-ใจ-เมือง #อีสานม่วนสุข 5+1 “เฮ็ด ฮัก ฮัก Head Hug Heart” เป็นเครื่องมือเชื่อมร้อยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มพูนภูมิปัญญาในวิถีสุขภาวะระหว่างพื้นที่นำร่องของภาคอีสานทั้ง ๖ พื้นที่ เพื่อสื่อสารออกสู่สังคมในวงกว้างมากขึ้น