คอลัมน์ จัตุรัสทั่วไทย: คนยุคดิจิตอลรู้ทันเหล้าใช้หนังสั้นเตือนสติวัยรุ่น (อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา)

หมวดหมู่ รายงานพิเศษ , โดย : admin , 10 ตุลาคม 59 / อ่าน : 1,820


ภาพข่าว :คอลัมน์ จัตุรัสทั่วไทย: คนยุคดิจิตอลรู้ทันเหล้าใช้หนังสั้นเตือนสติวัยรุ่น (อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา)   
ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559  
   
     ในยุคดิจิตอลเช่นนี้ กระแสของผู้คนบนโลกเริ่มเปลี่ยนไปและหันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัวกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกรับประทานอาหารสุขภาพ เช่น อาหารคลีน หรืออาหารชีวจิต รวมทั้งการออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบ พร้อมถอยห่างจากอบายมุขต่างๆ กันมากขึ้น โดยเฉพาะสุราที่สร้างสารพัดโรคร้ายให้แก่ตัวเอง และยังเป็นบ่อเกิดของอุบัติเหตุสร้างผลกระทบให้แก่สังคมแม้วันนี้ผู้ดื่มยังไม่หมดไป แต่ด้วยพลังรณรงค์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการส่งเสริมและปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องและกิจกรรมต่างๆ ให้แก่เยาวชนยุคใหม่ให้เห็นพิษภัยต่างๆ ของเหล้า ก็มั่นใจได้ว่าอีกไม่นานนักดื่มหน้าใหม่หรือหน้าเก่าก็ค่อยๆ ลดลงดังเช่น "โครงการปิ๊งส์" ภายใต้การสับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเปิดตัวโครงการใหม่ ชวนเด็กและเยาวชนมาระดมความคิดสร้างสรรค์ทำหนังสั้นเพื่อการรณรงค์ ในหัวข้อ "อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา" เพื่อสื่อสารกับเยาวชนวัยเดียวกันให้เรียนรู้เท่าทันผู้ผลิตสุรานายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ในฐานะผู้ดูแลสำนักงานควบคุมแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า จากการรณรงค์เรื่องการลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผ่านมา แม้จะมีสถิติลดลงแต่บริษัทผู้ผลิตก็ยังคงหากลยุทธ์ใหม่ๆ มาใช้อย่างหลากหลายมากขึ้น ซึ่งเด็กและเยาวชนก็คือกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหม่รองจากคนในวัยผู้ใหญ่ทั้งนี้
     จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ประชากรโลกที่อายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไปมีการดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 6.2 ลิตร เช่นเดียวกับการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชาชน พ.ศ.2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่พบว่า คนไทยที่อายุ 15 ปีขึ้นไปตกเป็นนักดื่มในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อแยกกลุ่มอายุที่มีความชุกในการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงที่สุด คือ วัยผู้ใหญ่ อายุ 25-59 ปี โดยดื่มใน 12 เดือนที่ผ่านมาร้อยละ 38.2 รองลงมาคือ กลุ่มเยาวชนผู้ที่มีอายุ 15-24 ปี ดื่มร้อยละ 25.2 สำหรับวัยสูงอายุกลุ่ม 60 ปีขึ้นไป ดื่มร้อยละ 18.4 สำหรับความบ่อยครั้งของการดื่ม พบว่า ร้อยละ 57.6 เป็นผู้ที่ดื่มนานๆ ครั้ง ร้อยละ 42.4 เป็นผู้ที่ดื่มสม่ำเสมอเมื่อดูถึงความถี่หรือความบ่อยครั้งในการดื่มของกลุ่มผู้ที่ดื่มสม่ำเสมอ พบว่า เป็นผู้ที่ดื่ม 5 วันต่อสัปดาห์ขึ้นไปถึงร้อยละ 38.3 โดยในกลุ่มนี้เป็นผู้ที่ดื่มทุกวันสูงถึงร้อยละ 26.2 โดยผู้ชายมีอัตราการดื่มสูงกว่าผู้หญิงประมาณ 4 เท่า" จากสถิติเห็นชัดเจนว่า กลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วง เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มของนักดื่มหน้าใหม่ที่ถูกเล็งจากธุรกิจนี้ แม้ทั้งที่รู้ว่าเหล้านั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และเป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้คนเสียชีวิต พิการ บาดเจ็บ และเจ็บป่วยมากยิ่งกว่าการติดเชื้อ แต่เพราะการเข้าไม่ถึงข้อมูล เยาวชนจึงเป็น "เหยื่อ" สำคัญ
     ถึงเวลาแล้วที่เราจะมาร่วมรณรงค์เพื่อปกป้องกลุ่มที่เป็นอนาคตของชาติจากผลกระทบของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์" นายแพทย์สมานฝากเตือนเรื่องนี้ เภสัชกรสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมาสื่อรณรงค์ที่มีมักจะเข้าถึงกลุ่มผู้ใหญ่มากกว่าเด็กและเยาวชนนั้นเพราะสื่อต่างๆ ถูกทำและออกแบบโดยผู้ใหญ่ สื่อหนังสั้นจากเด็กในครั้งนี้จึงเป็นสื่อที่เราคาดหวังว่าจะนำเสนอข้อมูลหนักๆ ที่เยาวชนมักไม่สนใจ ให้เข้าถึงเยาวชนมากขึ้น อย่างการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นต้นเหตุของการเกิดโรคกว่า 200 โรค ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งในส่วนต่างๆ ของร่างกาย การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและชีวิต ยังทำลายไปถึงเศรษฐกิจของชาติ เพราะค่าใช้จ่ายด้านเหล้าคนไทยใน 1 ปีไม่ต่ำกว่า 2 แสนบาท สร้างความสูญเสียอื่นๆ ที่ตามมาอีกไม่ต่ำว่า 150,000 ล้านบาท"จากการทำงานร่วมกับ สสส. 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการดื่มคงตัว แสดงถึงภาพรวมที่ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ได้ ทำให้เกิดนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้นถึงกว่า 2 แสนคนต่อปี "โครงการอย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา" จึงเป็นตัวช่วยที่จะทำให้เยาวชนได้มาสื่อสารกันเอง เพราะวัยรุ่นด้วยกันเองจะรู้ว่าวัยรุ่นอย่างพวกเขาต้องการจะรับสารรูปแบบใด"ขณะที่ นายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. บอกว่า โครงการนี้เปิดโอกาสให้เยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา ที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปี เข้ามามีส่วนร่วมในการสื่อสารกับกลุ่มนักดื่มหน้าใหม่ในการสร้างสรรค์สื่อ ผ่านภาพยนตร์สั้น วิธีการคือ ส่งสคริป แนวคิด ไอเดียเข้ามาที่อีเมล [email protected] ได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 พฤศจิกายน 2559 และสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.PINGs.in.th หรือ www.artculture4health.com"
     ไอเดียที่ส่งเข้ามาจะถูกคัดเลือกเหลือเพียง 20 ทีม เพื่อเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เรียนรู้ประเด็นเพิ่มเติมจากนักวิชาการและผู้ที่ทำงานรณรงค์เพื่อควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมเรียนรู้กระบวนการทำงานจริงกับผู้กำกับมืออาชีพจากสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย อย่างเช่น "นนทรีย์ นิมิบุตร", "ฤทัยวรรณ วงศ์สิรสวัสดิ์", "นิติวัฒน์ ชลวณิชสิริ", "พัฒนะ จิระวงศ์", "ชาญ รุ่งเรืองเดชวัฒนา" และ "อนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง" จากนั้นจะคัดเลือกอีกครั้งเหลือ 10 ทีม เพื่อรับทุนไปผลิตผลงานจริง จากนั้นกรรมการจะเลือกสุดยอดผลงานเพื่อชิงเงินรางวัลจากการประกวดรวมนับ 100,000 บาท ก่อนนำไปฉายในโรงภาพยนตร์คู่กับผลงานของผู้กำกับมืออาชีพทั่วประเทศ และสุดท้ายแล้วผลงานทั้งหมดจะนำไปเป็นตัวตั้งต้นสู่การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญๆ เช่น ภาพคำเตือนของบรรจุภัณฑ์ที่จะปรากฏบนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลต่อไป" ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวเพื่อเป็นไอเดียให้กับน้องๆ เยาวชน "พี่อ๊อด" บัณฑิต ทองดี นายกสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย บอกกับเราว่า การทำหนังสั้นหัวข้ออย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรานั้น เนื้อหาของการสื่อสารนั้นจะออกมาอย่างไรทุกอย่างมันอยู่ที่กึ๋น แนวคิดของเยาวชนว่าจะคิดไปไกลได้แค่ไหน? คิดนอกกรอบได้แค่ไหน? ถึงจะเป็นการคิดที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน น้องๆ ควรหาข้อมูลและคิดให้เยอะ เพื่อให้ได้รูปแบบหนังใหม่ๆ และหลุดออกมาจากกรอบเดิมๆ แล้วหนังนั้นจะน่าสนใจและเข้าถึงใจเยาวชนด้วยกันเองได้มากที่สุดด้านเยาวชน "น้องเร็กเก้"
     นายพิทักษ์ บัวแก้ว นักศึกษาแขนงวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และสื่อสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม บอกว่า โดยส่วนตัวแล้วเป็นคนที่ชอบทำหนังสั้น และคิดว่านี่เป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถมาก และแน่นอนว่าจะไม่พลาดโครงการนี้แน่ๆ และถ้าผลงานได้ผ่านเข้ารอบนอกจากตนเองจะได้ความรู้แล้ว ยังเชื่อว่าเนื้อหาที่จะสื่อสารจะเข้าถึงเยาวชนได้อย่างดีเพราะเป็นภาษาเดียวกัน และยังทำให้สังคมได้รู้และเข้าใจ จนเป็นที่มาของการลด ละ เลิกเหล้าได้ส่วน "น้องมะปราง" นางสาวจิดาภา แสงหิรัญ นักศึกษาแขนงประชาสัมพันธ์และโฆษณา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม บอกว่า อยากให้เพื่อนๆ ส่งเข้ามาประกวดกันเยอะๆ เพราะโอกาสครั้งนี้เป็นเหมือนเวทีที่เราได้มาร่วมปล่อยของ แสดงฝีมือให้ผู้ใหญ่ในสังคมได้เห็นว่าแท้ที่จริงแล้วเยาวชนคนรุ่นใหม่อย่างๆ พวกเราก็มีความสามารถให้มีพื้นที่แสดงออกในผลงานที่สร้างสรรค์"ที่ผ่านมาไม่รู้เลยว่าเยาวชนอย่างเราคือกลุ่มเป้าหมายใหม่ของธุรกิจแอลกอฮอล์ ครั้งนี้จึงถึงเวลาแล้วที่เด็กและเยาวชนต้องลุกขึ้นมาต่อสู้ และทำให้ธุรกิจแอลกอฮอล์เหล่านั้นถอยออกไปจากสังคมไทย พวกเราในฐานะของเด็กและเยาวชนมารวมพลังกันเถอะ โครงการนี้เปิดโอกาสให้กับเราแล้ว" น้องมะปรางกล่าวสำหรับน้องๆ ผู้สนใจสอบถามข้อมูลโครงการได้ที่ แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. 0-2298-0988 ต่อ 104.
 






 --ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2559--  


ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]