ปรากฏการณ์กวี กระหึ่ม กรุงสยาม สะท้อนภาพ ปรองดอง

หมวดหมู่ รายงานพิเศษ , โดย : admin , 25 กรกฎาคม 60 / อ่าน : 2,890


โดย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์


มีเหตุให้หงุดหงิดน้อยใจได้แทบทุกวัน ในฐานะผู้นำประเทศ3 กรกฎาคม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวกับผู้เข้าฟังสัมมนาแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 12 ตอนหนึ่งว่า

          "เดี๋ยวหาว่าผมพูดเป็นกลอนอีก วันนี้ผมแต่งกลอนไปหน่อยเดียว ทะเลาะกันอีกแล้วในองค์กรกวีแห่งชาติ ทะเลาะกันสองฝ่าย

          "ผมไม่เข้าใจ เอ๋...ผมมันตัวเปิดศึกจริงๆ"ผมก็กลุ้มใจจริงๆ ผมว่าคงต้องหยุดพูดสักเดือนหนึ่ง"

          ที่

          มาแห่งปรารภนั้น อยู่ที่กลอน 8 เรื่องไทยแลนด์ 4.0 ที่นายกรัฐมนตรีเขียนขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน

          วันสุนทรภู่ที่ทีมงานโฆษกรัฐบาลเอามาเผยแพร่ว่า"คำว่าไทยคือไทยด้วยใจรัก ร่วมใจภักดิ์ต่อชาติศาสนา

          สถาบันคงอยู่คู่นานมา เป็นม่านฟ้าปกป้องล้วนผองไทย

          มาวันนี้สืบสานทำงานต่อ แผ่นดินพ่อแผ่นดินแม่ช่วยแก้ไข

          ให้ยั่งยืนตื่นเถิดสังคมไทย ก้าวต่อไปอนาคตให้มั่นคง

          เราลูกหลานช่วยสานสืบงานต่อ อย่ารั้งรอขัดแย้งแกล้งเล่าขาน

          ทำวันนี้ดีกว่าปล่อยช้านาน ทำเพื่อบ้านเมืองเราให้เท่าทัน

          ทั้งเกษตรอุตสาหกรรมเศรษฐกิจ เปลี่ยนชีวิตรายได้น้อยค่อยส่งเสริม

          คนละน้อยร้อยท่อช่วยต่อเติม เร่งส่งเสริมรายได้ให้มั่นคง

          พัฒนาคนการศึกษาพาไทยรุ่ง ล้วนต้องมุ่งตามประสงค์จำนงหมาย

          สร้างสังคมปลอดภัยไม่วุ่นวาย ช่วยผ่อนคลายมีสุขทุกครอบครัว

          สิ่งสำคัญวันนี้คือกฎหมาย ไม่ท้าทายยึดถือเป็นพื้นฐาน

          ช่วยกันทำช่วยกันเริ่มเสริมยาวนาน เป็นการงานผองไทยร้อยใจกัน

          ประชารัฐช่วยเสริมใช้เติมแต่ง ทุกหนแห่งกิจกรรมทำสร้างสรรค์

          ไทยเจริญด้วยไทยไปพร้อมกัน ทำความฝันต้องการให้เป็นจริง

          ต้องลดแรงเร่งขจัดความขัดแย้ง ลดระแวงเชื่อมั่นเพื่อวันหน้า

          สืบสานต่อโบราณนานเนามา ให้ก้าวหน้าด้วยไทยใจมั่นคง

          สู่เศรษฐกิจสี่จุดศูนย์จากมูลฐาน ทุกกิจการพัฒนาอย่าใหลหลง

          สู้อาชีพสู้งานบ้านมั่นคง มุ่งจำนงปวงชนทุกคนไทย"

          ยิ่งเมื่อกระทรวงศึกษาธิการขานรับทันทีด้วยการนำเอากลอนดังกล่าวไปขับเป็นเสภา แล้วเผยแพร่ต่ออีกชั้นหนึ่ง

          เสียงวิพากษ์วิจารณ์ก็ยิ่งเป็นไปในวงกว้างจากแวดวงนักกลอนไปยังประชาชนทั่วไปจากประเด็นสัมผัส-ฉันทลักษณ์ ไปสู่ประเด็นเนื้อหา

          และ "เป็นเรื่อง" ยิ่งขึ้น เมื่อศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณกรรม อย่าง เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ แต่งกาพย์ยานี 11 ว่าด้วยการ "อยู่เป็น" ขึ้นมาว่า"อยู่เป็นต้องดูเป็น เห็นด้านร้ายให้เป็นครูด้านดีมีให้ดู เป็นไม้วัดบรรทัดฐานหมาเห่าอย่าเห่าตอบ มันทดสอบสัญชาตญาณ

          รู้ได้ในสันดาน ว่าใครพาลและใครพระ

          เด็กดื้อต้องมีดี มีความคิดเป็นอิสระ

          รู้แพ้และรู้ชนะ ได้รู้ล้มแล้วรู้ลุก

          เด็กอ่อนก็ติดเอว กระเตงอุ้มอยู่จุมปุก

          ชีวิตคือติดคุก ไม่รู้ตัวไม่รู้โต

          ดูเด่นให้เห็นด้อย และเห็นสร้อยให้เห็นโซ่

          เห็นพาลอย่าพาโล ให้รู้เพ่งพินิจพลัน

          ทุกสิ่งมาเป็นครู ให้ได้ดูได้รู้ทัน

          กราบไหว้ได้ทั้งนั้น ถ้าอยู่เป็นและดูเป็นฯ"

          โดยพลัน อดีตคนคุ้นเคยกันอย่าง วิสา คัญทัพ ก็แต่งกาพย์แบบเดียวกันสนองตอบ

          ว่า

          "อยู่เป็นและดูเป็น ดังที่เห็นที่เป็นอยู่

          ตัวรอดคือยอดครู ตัวชี้วัดบรรทัดฐาน

          กิ้งก่าย่อมเปลี่ยนสี มิเสียทีรอมานาน

          หมาเห่ารู้สันดาน ก็ว่าหมาตามราวี

          โจรพาลใจอำมหิต อ้างบัณฑิตเป็นคนดี

          ห้อยพระเป็นพวงมี ไว้เพื่ออ้างอำพรางตน

          เด็กดื้อยังสอนได้ เฒ่าเกินวัยไม้ดัดคน

          ความคิดสิทธิชน เขาเชื่อเห็นอยู่เช่นนั้น

          เด็กอ่อนอุ้มติดเอว พาลงเหวก็ไหวหวั่น

          ย่อมฝืนขึ้นยืนยัน เป็นเด็กดื้อที่ถือดี

          ลุ่มหลงในสร้อยทอง ที่เขาคล้องเฒ่าเปรมปรีดิ์

          อยู่สุขทุกข์ไม่มี เพราะอยู่เป็นดูเป็นเอย"

          ปรากฏการณ์กวีที่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดจะมีต้นตอจาก พล.อ.ประยุทธ์ อย่างที่เจ้าตัวปรารภหรือไม่ ก็เป็นประเด็นหนึ่ง

          แต่เป็นปรากฏการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าความปรองดองที่ คสช. คาดหวังยังห่างไกลนัก

 




ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]