สกู๊ปพิเศษ กลุ่มละครมาหยา ชวนน้องสร้างความตระหนักรู้เป็นพลเมืองเท่าทันสื่อ

22 พฤษภาคม 60 / อ่าน : 2,405

กลุ่มละครมาหยา ชวนน้องสร้างความตระหนักรู้เป็นพลเมืองเท่าทันสื่อ ผ่านชุมชน 3ดีวิถีสุข

             เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา กลุ่มละครมาหยา จังหวัดกระบี่ ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงจังหวัดกระบี่ และศูนย์การเรียนรู้ กศน.ตำบลตลิ่งชัน บ้านคลองรั้ว โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ได้จัดให้มีเวทีสร้างพลเมืองเด็กเท่าทันสื่อ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน 3ดี ได้แก่ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี โดยเปิดโอกาสให้เด็ก

 

 

             และเยาวชนในตำบลตลิ่งชัน ได้เรียนรู้และตระหนักในชุมชนของตนเอง ไปพร้อมกับการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ สร้างเยาวชนเท่าทันสื่อ และสร้างแกนนำในชุมชนไปพร้อมๆกัน นายฮาริส มาศชาย หัวหน้ากลุ่มละครมาหยา ได้กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าปัญหาเด็ก และเยาวชนไทยติดอินเทอร์เน็ต และเกม เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายทั้งภาครัฐ นักวิชาการ และเครือข่ายผู้ปกครอง พยายามแก้ไขกันมาต่อเนื่อง หลังจากที่มีข่าวเกี่ยวกับภัยจากสื่อออนไลน์ หรืออาชญากรรมอื่นๆ ใช้ความรุนแรง ถูกนำเสนอตามสื่อต่างๆ ไม่เว้นในแต่ละวัน อาทิ การใช้เว็บไซต์ เฟสบุค ล่อลวงเด็ก และวัยรุ่นชาย-หญิง ไปล่วงละเมิดทางเพศ หรือข่มขืนกระทำชำเรา แล้วถ่ายรูปไว้แบล็กเมล์เหยื่อผู้เคราะห์ร้าย สื่อสังคมโซเชียลมีเดีย" ถือว่ามีอิทธิพลมากในชีวิตของคนรุ่นใหม่ในสังคมไทย ทั้งใช้เพื่อศึกษาข้อมูล ติดตามความเคลื่อนไหวในสังคม แต่ในโลกของสื่อชนิดนี้ก็มีทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดี ซึ่งบางครั้งถูกนำเสนอออกไปโดยไม่ผ่านการคัดกรอง ดังที่เห็นว่าเมื่อมีเหตุอะไรสื่อชนิดนี้จะแพร่ออกไปได้อย่างรวดเร็ว และอาจนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบตามมาอย่างที่เห็นในหน้าข่าว แต่ในการกลับกันเด็กและเยาวชนได้หันหลังให้กับชุมชน ไม่เกิดการตระหนักและรับรู้ข้อมูลดีดีที่มีอยู่ในชุมชน จึงได้มีแนวคิดในการสร้างพลเด็กและเยาวชนในชุมชนให้เกิดการตระหนักและรู้ เท่าทันสังคม เท่าทันสื่อ และสามารถใช้สื่อในการสื่อสารให้เกิดเป็น ชุมชน 3ดีวิถีสุขที่จะช่วยในการพัฒนาเด็กและเยาวชนไปพร้อมๆกับการพัฒนาชุมชนของตัวเองได้ดี ชุมชน3ดี วิถีสุข เป็นกระบวนการเรียนรู้ผ่าน “ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี” จึงถือเป็นการสร้างสรรค์ มีความเกี่ยวข้องและสอดรับจาก “ต้นน้ำ” สู่ “ปลายน้ำ” การมี “สื่อดี” ก็เหมือน “ต้นน้ำ” ที่ไปทำให้เกิดกระบวนการของการจัดการด้าน “พื้นที่” ในชุมชน ทำให้เกิดพื้นที่ดี พร้อมกับภูมิปัญญาและภูมิคุ้มกันที่ดี นางดวงแข ทองฤทธิ์ ครู กศน.บ้านคลองรั้ว ได้กล่าวว่า ชุมชนบ้านคลองรั้วเป็นชุมชนมีทรัพยากรที่ดี ทั้งบุคลากร ครูภูมิปัญญา รวมไปถึงผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีความพร้อมทีจะพัฒนาชุมชนไปพร้อมๆกับการศึกษา ยิ่งการดึงอัตลักษณ์จุดเด่นของชุมชนมาส่งเสริมและพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรือหัวโทงที่ถือเป็นต้นกำเนิดของอาชีพ และมรดกตกทอดที่อยากให้มีการศึกษาและเรียนรู้จากรุ่นสู่รุ่น จนได้เกิดเป็นศูนย์การเรียนการผลิตเรือหัวโทงจำลอง บ้านคลองรั้ว ที่สามารถสร้างรายได้และสร้างมูลค่าให้กับคนในชุมชน

 

              สิ่งเหล่านี้ คือ การที่จะต้องรักษาและสร้างคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้เกิดการเรียนรู้ต่อไป การดำเนินการของกลุ่มละครมาหยา จังหวัดกระบี่ ได้มองเห็นถึงสภาพปัญหาในมิติของการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขจัดสื่อร้าย ไปพร้อมกับการสร้างสื่อดี ทั้งเด็กในหลายวัย หลายกลุ่ม “กลุ่มเสีย กลุ่มเสี่ยง กลุ่มใส” ใช้ชีวิตใน 3เส้นทาง “ดำ เทา ขาว” ภายใต้ปัจจัย “เสี่ยง” ที่ถือเป็นภัยคุมคามต่อสุขภาวะ ไปพร้อมกับการ “สร้าง” และการ “เสริม” เพื่อให้เกิดแกนนำเยาวชนในพื้นที่ ซึ่งมีแนวทางในการขับเคลื่อนงาน “สร้างแกนนำสู่การสร้างสื่อสร้างสรรค์ให้เกิดพื้นที่ปลอดภัย”สำหรับเด็กและเยาวชน รวมถึงคนในชุมชนที่จะได้รับผลประโยชน์ไปพร้อมกัน จึงได้เกิดเป็น “ชุมชน 3ดีวิถีสุข” ที่ได้มองถึงปัญหาของชุมชนในพื้นที่ ถึงการเข้าถึงด้านสุขภาวะของเด็กในชุมชน เพื่อให้เกิดคุณภาพที่ดี จากปัญหาและสถานการณ์ที่เด็กได้เผชิญกับสื่อในยุคเทคโนโลยีของการเปลี่ยนแปลง ที่ขาดความรับผิดชอบต่อชุมชน และการแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองที่มีความกระตือรือร้นเป็น “พลเมืองตื่นรู้” อีกทั้งสื่อและสารศิลปวัฒนธรรมสุขภาวะด้วย ความดี ความงาม ความสุข สู่การเชื่อมโยง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้าน มัสยิด โรงเรียน ชุมชนและพื้นที่สร้างสรรค์ สู่การขาดการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต่อการสร้างแกนนำแถวสองสู่ภูมิคุ้มกันความคิดเชิงบวกด้านสุขภาวะให้เด็กและเยาวชนผ่านสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชน ทั้งยังสร้างสื่อและสารศิลปวัฒนธรรมสุขภาวะด้วย ความดี ความงาม ความสุข สู่การเชื่อมโยง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้าน มัสยิด โรงเรียน ชุมชน ในการเปิดพื้นที่ดี ทั้งพื้นที่ทางกายภาพและพื้นที่ทางความคิด พื้นที่ทางปัญญา ให้เกิดการแลกเปลี่ยนมีส่วนร่วมของคน 3วัย จากแนวคิดเรื่อง “ชุมชน 3 ดี วิถีสุข” ที่ทางแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. จึงเป็นปัจจัยเอื้อ ที่สามารถให้เด็กและเยาวชนในชุมชนสามารถเข้าถึง ความดี ความงาม ความสุข สู่การเชื่อมโยง จากบริบทการทำงานในชุมชน ของการนำ “สื่อสร้างสรรค์” ซึ่งหมายถึง สื่อที่มีเนื้อหาสร้างเสริมศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ ทักษะการใช้ชีวิต ทักษะการเท่าทันสื่อของประชาชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและสังคม รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามัคคีและใช้ชีวิตในสังคมที่มีความหลากหลายและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างเป็นสุข ถือเป็น “เครื่องมือ” ของการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งทางแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ ได้ขยายความของ 3ดี (สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี)

 

            นายทัศน์พล คลองยวน กำนันตำบลตลิ่งชั่น ได้กล่าวถึง ประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านคลองรั้วในตำบลตลิ่งชั่น ของ เรือหัวโทง ถือเป็นต้นกำเนิดของเรือตามวิถีชีวิตชุมชนจังหวัดกระบี่ สืบทอดวิถีชีวิตต่อมาหลายชั่วคน ผ่านภูมิปัญญาชาวบ้าน และที่สำคัญชุมชนบ้านคลองรั้วมีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์มากมาย ที่อยากจะให้ลูกหลานได้เรียนรู้และเห็นคุณค่าสิ่งดีๆในชุมชน การที่มีกิจกรรมของชุมชน 3ดีวิถีสุข ถือเป็นการที่จะมาช่วยมองและนำเสนอสิ่งดีๆ สื่อดีๆในพื้นที่ผ่านภูมิปัญญาที่ล้ำค่าและมีคุณค่า สู่การถ่ายทอดความรู้สู่ลูกหลานต่อไป ด้าน นางสาวศุภิสรา แนวหาด เยาวชนในชุมชนซึ่งตนได้รับคัดเลือกจากเพื่อนผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ให้เป็นประธานเยาวชน 3ดีบ้านคลองรั้ว ได้เล่าว่า ตนรู้สึกรักและห่วงชุมชนของตนเองมากขึ้น ซึ่งจากการกิจกรรมการมองชุมชนของดีไม่คิดว่าชุมชนของตนเองจะมีของดีเยอะมากมาย และได้เรียนรู้ตำนานและความเป็นมาจากผู้ใหญ่บุญนำ บ่อหนา และกำนันทัศน์พล คลองยวน รวมไปถึงการได้ร่วมปั่นจักรยานและนั่งรถสามล้อพ่วงกับเพื่อนๆและน้องๆในการชมชุมชน พร้อมติดสติกเกอร์รณรงค์ไม่สูบบุหรี่ตามบ้านและมัสยิดทำให้ตนรู้สึกภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ชักชวนคนในชุมชนร่วมทำสิ่งดีๆ และได้เรียนรู้กับเรือหัวโทง ถึงความเป็นมา กระบวนการขั้นตอนและการผลิต โดยตนและเพื่อนได้ใช้สื่อโซเซียลผ่านการถ่ายภาพ และFacebook Live เพื่อเผยแพร่ข้อมูลในชุมชน พร้อมการเขียนข้อความในการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์อีกด้วย และนอกจากนั้น ยังได้เรียนรู้กับการสร้างสรรค์และการสร้างผลิตภัณฑ์ผ่านการสกรีนเสื้อรูปสัญลักษณ์ เรือหัวโทง ลิงสะพานคลองรั้ว และมะม่วงหินมะพานต์ ซึ่งอนาคตอาจจะผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในชุมชนต่อไปได้ และหลังจากการอบรมในครั้งนี้ ทางพี่ๆกลุ่มละครมาหยา ก็จะชวนพวกเราไปผลิตสื่อสารคดี เรื่องราวของเรือหัวโทง และจะนำไปฉายให้กับคนในชุมชน รวมถึงสื่อสารในสังคมออนไลน์ต่อไป จากกระบวนการที่ทางกลุ่มละครมาหยา ได้ดำเนินการของการนำ ชุมชน 3ดีวิถีสุข ในระยะแรก ได้ผลักดันสู่การการแสดงออกถึงความเป็นพลเมืองที่มีความกระตือรือร้นเป็น “พลเมืองตื่นรู้” และใช้กระบวนการของสื่อศิลปวัฒนธรรมโดยนำเรื่องราวของวิถีชีวิตในชุมชน ซึ่งคุณค่าของกระบวนการครั้งนี้ที่มีต่อเยาวชนด้วย ความดี ความงาม ความสุข ที่สามารถสร้างพลเมืองที่ดีในชุมชนได้

 

 

ฮาริส กระบี่-รายงาน

  




ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]