"ปวดท้องบ่อย" สัญญาณบอกสารพัดโรครุมเร้า

หมวดหมู่ กิจกรรมล่าสุด , โดย : admin , 21 เมษายน 60 / อ่าน : 2,474


ปวดท้องบ่อยสัญญาณบอกโรค

 
 

     อาการปวดท้องส่วนใหญ่ไม่รุนแรง แต่มักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการทานอาหารไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหารรสจัด อาหารดิบ ย่อยยาก เป็นต้น

 

เรื่อง : วราภรณ์

 

จะเป็นคนวัย 40 หรือเพศใดวัยใดก็มีโอกาสเกิดอาการปวดท้องได้เหมือนกัน เพราะปวดท้อง เป็นอาการนำที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ของคนไข้แบบผู้ป่วยนอกหรือที่เรียกว่า OPD case ซึ่งอาการปวดท้องนี้อาจมีสาเหตุได้มากมาย เนื่องจากช่องท้องมีอวัยวะภายในหลายอวัยวะเช่น ตับ ม้าม กระเพาะ ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน ไต ถ้าปวดท้องน้อยหร้อท้องส่วนล่างก็มีกระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะผู้หญิงจะมีระบบสืบพันธุ์ เช่น มดลูก รังไข่ ในเพศชายจะมีต่อมลูกหมาก เป็นต้น

 

พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านชะลอวัย จาก AddLife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) ได้กล่าวถึงอาการปวดท้องว่า อาการปวดท้องส่วนใหญ่ไม่รุนแรง แต่มักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการทานอาหารไม่เหมาะสม เช่น การทานอาหารรสจัด อาหารดิบ ย่อยยาก ดื่มแอลกอฮอล์ หรือ เกิดจากความเครียด นอนหลับผักผ่อนไม่เพียงพอ สูบบุหรี่ ทำให้ระบบย่อยอาหาร ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เพิ่มความเสื่ยงโรคต่างๆ เช่น

 

• โรคกระเพาะอาหารอักเสบ

• โรคกรดไหลย้อน

• โรคลำไส้อักเสบ

• โรคตับอ่อนอักเสบ

• โรคมะเร็ง ทั้งมะเร็งในช่องท้องและนอกช่องท้อง

• นิ่วทางเดินปัสสาวะ

• ระบบฮอร์โมนไม่สมดุล เกิดถุงน้ำรังไข่  ประจำเดือนมาไม่ปกติ เป็นต้น

 

เนื่องจากอาการปวดท้องส่วนใหญ่ทุเลาได้ด้วยการทานยาที่หาซื้อได้ง่าย เช่น ยาลดกรด ยาคลายกล้ามเนื้อแก้ปวดท้อง แต่อย่างไรก็ตามการซื้อทานยาเองสามารถทำได้เบื้องต้นแต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ปวดรุนแรงเรื้อรัง หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ตัวร้อน อาเจียน ถ่ายเหลว อุจจาระเป็นเลือด ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม โรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหลายโรคก็มีอาการปวดท้องเป็นอาการนำ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น

 

ดังนั้นการดูแลตนเองที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงโรคต่างๆ รวมทั้งอาการปวดท้องด้วยการปฏิบัติตนดังนี้

 

• ลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ ของทางเดินอาหาร โดยทานอาหารสุกๆ สะอาด หลีกเลี่ยงอาหาร รสจัด ย่อยยาก อาหารมันๆ เครื่องดื่มอัดแก๊สต่างๆ ที่เพิ่มแก๊สในกระเพาะอาหาร 

• หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น  ไม่สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ในปริมาณน้อยหรือไม่ดื่มเลย เพราะเป็นสาเหตุของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ โรคมะเร็ง

• ปรับสภาพลำไส้และภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงด้วยการรับประทาน Probiotic แบคทีเรียชนิดดีที่ช่วยเสริมและภูมิคุ้มกัน เช่น แลคโตแบซิลัส รักษาโรค Leaky Gut ลดอาการท้องอืด มีแก๊ส

• รับประทานผักผลไม้เป็นประจำ เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็น Prebiotic ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ Probiotic และมีไฟเบอร์ป้องกันอาการท้องผูก

• นอนหลับผักผ่อนให้เพียงพอ และการออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยให้ระบบย่อยอาหาร การขับถ่ายทำงานปกติ

• การรับประทานวิตามินเสริมหรือรักษาด้วยฮอร์โมนช่วยลดอาการปวดบางอย่างได้ เช่น ปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือน เสริมความแข็งแรงของร่างกายและอวัยวะต่างๆ โดยรวม

• ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคกรดไหลย้อน โรคมะเร็ง

• ออกกำลังกายเป็นประจำ ช่วยกระตุ้นการทำงานระบบย่อยอาหาร เพิ่มการหมุนเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายรวมถึงระบบย่อยอาหาร อวัยวะต่างๆ ในช่องท้อง เป็นต้น

 

ที่มาของข่าว : http://40plus.posttoday.com/health/3118/

 


ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]