หลัก 3 อ. เคล็ดลับสำคัญสุขภาพดี ที่ดีต่อร่างกายและจิตใจ จุดเริ่มต้นง่าย ๆ ของคนรักสุขภาพ

หมวดหมู่ เรื่องเด่น , โดย : Admin Latdawan , 11 ธันวาคม 67 / อ่าน : 94


หลัก 3 อ. เคล็ดลับสำคัญสุขภาพดี ที่ดีต่อร่างกายและจิตใจ จุดเริ่มต้นง่าย ๆ ของคนรักสุขภาพ

 

หลัก 3 อ คือหลักในการควบคุมพฤติกรรมการกินอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการอารมณ์ที่ถูกต้อง ที่จะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และดำรงชีวิตอย่างมีความสุข ซึ่งจะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปไม่ได้ เพราะทั้ง 3 ส่วนมีความเชื่อมโยงกันตามกลไกของร่างกาย เช่น หากออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอแต่รับประทานอาหารที่หวาน มัน เค็ม และให้พลังงานสูงไม่ว่าอย่างไรก็จะนำมาสู่ภาวะโรคอ้วน และก็จะส่งผลต่ออารมณ์ในที่สุด ซึ่งแต่ละอ.ก็จะมีรายละเอียดที่แต่ต่างกันดังนี้

อ.อาหาร ทุกคนควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และครบ 3 มื้อ ไม่ควรอดมื้อใดมื้อหนึ่ง และลดอาหารที่หวาน มัน เค็ม เพราะ

การบริโภคน้ำตาลมากเกินความต้องการของร่างกาย จะส่งผลให้ตับอ่อนทำงานหนัก

- ซึ่งการบริโภคของหวานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานย่อมทำให้ตับอ่อนเกิดความล้าจนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เต็มที่จนก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ทั้งนี้องค์การอนามัยโรคได้ระบุไว้ว่าในหนึ่งวันเราไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 6-8 ช้อนชาต่อวัน และควรรับประทานน้ำตาลที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น น้ำตาลจากผลไม้ เนื่องจากนอกจากจะให้ความหวานแล้ว ยังมีวิตามิน เหลือแร่ และกากใยอาหารอีกด้วย

- หากร่างกายได้รับปริมาณไขมันมากเกินไปก็จะก่อให้เกิด ความเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นเราจึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารทอดกรอบ โดยจำกัดอาทิตย์ละไม่เกิน 3 ครั้ง นอกจากนี้เราควรคำนึงถึงปริมาณน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหาร ในแต่ละครั้งให้ใช้ในปริมาณแต่น้อยหรือเท่าที่จำเป็นและเลือกรับประทานอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง ตุ๋น แทนการทอด

- การรับประทานเค็มเกินนั้นเป็นต้นเหตุที่นำไปสู่โรคเรื้อรังหลายชนิด ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคเบาหวาน โรคมะเร็งในกระเพาะอาหารและโรคกระดูก หากร่างกายได้รับเกลือมากเกินความต้องการ ในระยะแรกอาจไม่แสดงความผิดปกติใดๆ แต่ต่อมาจะส่งผลให้ความดันโลหิตภายในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ และการอับเสบของอวัยวะภายในจนเป็นปัญหาสุขภาพเรื้อรังตามมา ดังนั้นเราจึงควรจำกัดปริมาณเกลือ ลดเครื่องปรุงจำพวกน้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม ฯลฯ ขณะประกอบอาหาร หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารกระป๋อง รวมถึงอาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ

 

อ.ออกกำลังกาย ให้ออกกำลังกายประมาณ 10–30 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 3 วัน หรือวันเว้นวัน หรือออกกำลังกายครั้งละ 10 นาที ถ้ารู้สึกเหนื่อยก็ให้หยุดพักก่อนแล้วค่อยออกกำลังกายต่ออีกจนครบ 30 นาที หรือการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อย่างการถูพื้น ทำสวน ยกของ ย้ายของ กระทั่งเดินชอปปิ้ง ก็ถือว่าเป็นการออกกำลังกายกาย เพียงแค่เรามีการขยับให้บ่อย ให้หนัก และให้มากเพียงพอ

โดยการออกกำลังกายแบ่ง 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. การออกกำลังกาย ชนิดแอโรบิก ร่างกายมีการเคลื่อนไหวตลอดในขณะออกกำลังกาย เช่น การเดินวิ่งเหยาะๆ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ กระโดดเชือก การเต้นแอโรบิก

2. การออกกำลังกาย ชนิดแอนแอโรบิก มีการเคลื่อนไหวน้อย แต่ต้องใช้แรงมาก จะทำให้มีความดันโลหิตสูงขึ้น เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น การยกน้ำหนัก เพาะกาย

การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยป้องกันโรคอ้วนแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคได้อีกมากมาย เช่น

- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย

- โรคอัมพฤกษ์อัมพาต

- โรคความดันโลหิตสูง

- โรคเบาหวาน

- โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

- โรคมะเร็งเต้านม

- โรคกระดูกพรุน

 

อ.อารมณ์ เรื่องอารมณ์ (mental health) เป็นเรื่องที่พูดถึงกันมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งอารมณ์เป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุด ๆ ในการดำรงชีวิตดั่งคำที่บอกว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” หากอารมณ์ร่างกายก็จะดีตามไปด้วย แต่หากอารมณ์ไม่ดีจะส่งผลเสียต่อร่างกาย และแต่ละอารมณ์ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายแตกต่างกันดังนี้

- อารมณ์โกรธ เมดูลาของต่อมหมวกไตจะหลั่งอะดรีนาลีนไหลเวียนทั่วร่างกายทำให้ตับปล่อยน้ำตาล เข้าไปในเลือดส่งผลให้ความดันโลหิตสูง อัตราการเต้นของหัวใจแรง และเร็วความโกรธอย่างรุนแรงในผู้ป่วย โรคหัวใจอาจส่งผลทำให้หัวใจวายได้

- อารมณ์กลัว ทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นโดยดึงน้ำตาลจากตับ และกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หมดกําลัง ปากแห้ง มือสั่น

- อารมณ์เครียด ถ้ามีมากเกินไปทำให้ร่างกายตื่นตัวสูง เม็ดเลือดขาวมากขึ้นภูมิคุ้มกันร่างกายน้อย และนําไปสู่ปัญหาทางจิตใจ

ซึ่งการจัดการกับอารมณ์ที่ไม่ดีสามารถทำได้หลายวิธีแตกต่างกันไปตามแต่บุคคล เช่น การจัดห้องให้น่าอยู่ การดูหนังฟังเพลง การรับประทานอาหารที่ชอบและดีต่อสุขภาพ และการออกกำลังกาย เป็นต้น เพราะหากอารมณ์ที่ดีจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย ทําให้ร่างกายหลั่ง endophine ทำให้การไหลเวียนของโลหิตเร็วขึ้น ผิวหน้าร้อนแดง การทํางานของร่างกายดีขึ้น การทำของสมองดี ความคิดอ่านดี และทำให้ภูมิคุ้มกันดีขึ้น

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพเพียงเท่านั้น หากใครอยากรู้เคล็ดลับสุขภาพดีสามารถมาร่วมงานวันที่ 14-15 มกราคม 2568 ในงานมหกรรมรู้เท่าทันสื่อ รู้เท่าทันสุขภาพ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วนฯ ประกาศผลและมอบรางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

แล้วมาสุขภาพดีไปด้วยกันน้าาาา

 

ติดตามข่าวสารและกิจกรรมต่าง ๆ ของแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ได้ที่

Official Web : http://artculture4health.com/

Facebook : https://www.facebook.com/artculture4h

Youtube แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรม สร้างเสริมสุขภาพ : http://bit.ly/3YVFSl5

Instagram : https://www.instagram.com/artculture.4health/

Twitter : https://twitter.com/art_culture4h

Tiktok : https://www.tiktok.com/@artculture4healt

#สสส #แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ #อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน #อย่าปล่อยให้เด็กอ้วนปี5 #ออกกำลังกาย #อาหาร #อารมณ์



ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]