เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์: บทเรียนที่ไม่อาจสรุป

หมวดหมู่ รายงานพิเศษ , โดย : admin , 1 มีนาคม 60 / อ่าน : 1,725


คอลัมน์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์: บทเรียนที่ไม่อาจสรุป
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560
 
   
บทขับร้องโบราณพยากรณ์เหตุการณ์ของเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเกิดเหตุการณ์เป็นจริงมาแล้วหลายครั้งหลายสมัย แม้จนวันนี้ ไม่เฉพาะเมืองนครเท่านั้น หากแทบทั่วภาคใต้ทั้งหมด ที่เกิดมหาอุทกภัยในวันนี้เมื่อเริ่ม พ.ศ. นี้

ครั้งใหญ่ล่าสุดคือ เมื่อพายุเกย์ถล่มทั้งชุมพรและเมืองนคร กับครั้งกระหน่ำหนักที่แหลมตะลุมพุกก่อนหน้านั้น

ครั้งกระโน้นเป็นมหาพายุลมมรสุมจากมหาสมุทร แต่ครั้งนี้จากน้ำบนแผ่นดินที่เรียกน้ำป่าถล่มทลายจากภูเขาทะลักลงท่วมนองพื้นที่ราบ ตัดขาดเส้นทางคมนาคมสำคัญๆ หลายที่หลายทาง

รวมทั้งตัดขาดบ้านเรือนและชุมชนในบางย่านด้วยพื่อนส่งภาพเคลื่อนไหวมาให้ดู บรรยายว่าคุณมีเวลาแค่เสามสิบวินาทีเท่านั้น ถ้าคุณกำลังอยู่กลางลำธารแล้วทันทีกระแสน้ำใสกลายเป็นขุ่นข้นแดงขึ้นมา คุณต้องรีบเผ่นขึ้นฝั่งให้ทันชั่วสามสิบวินาทีนั้น

ในภาพเห็นกลุ่มนักท่องเที่ยวรีบหนีน้ำขึ้นตลิ่งทันที มีอยู่กลุ่มหนึ่งราวสี่ห้าคนมัวรีรอเกาะกลุ่มเพื่อช่วยฉุดช่วยพยุงก้าวข้ามแก่งหินขึ้นฝั่ง แต่กระแสน้ำมันไม่มีรีรอ หนุนเนื่องพุ่งปราดเนินนองขึ้นมา คนกลุ่มที่ยังละล้าละลังอยู่บนแก่งหิน รีบก้าวลงจากก้อนหิน ก้าวพรวดลงน้ำพาทั้งกลุ่มละลายลงสายน้ำที่โถมพัดพุ่งพลั่งลงโขดผาชั่วพริบตา

สามสิบวินาทีชั่วอึดใจเดียวจริงๆ ต่อให้ว่ายน้ำแข็งเพียงไรก็ไม่รอด

ความแรงของน้ำมันมหาศาล ความแน่นหนักของมวลน้ำก็คทรงมหิทธานัก สร้างพลังให้เครื่องจักรแปลงเป็นพลังยนต์กระทั่งเป็นพลังไฟฟ้าได้ ดังนั้นเองเราจึงเรียกว่า "น้ำหนัก" เป็นมาตรวัดพลังของความหนักทั้งหลาย

ด้วยน้ำมันหนักนี่เอง น้ำหนักน้ำนี่แหละที่กำลังก่อให้เกิดอุทกภัยแก่พี่น้องภาคใต้เราวันนี้

เหตุแห่งทุกข์ภัยนั้นเกิดจากสาเหตุสำคัญสองประการ หนึ่ง เกิดจากธรรมชาติ สอง เกิดจากน้ำมือมนุษย์ด้วยกันนี้เอง ส่วนใหญ่มหันตภัยมักเกิดจากธรรมชาติเป็นหลัก เช่น แผ่นดินไหว พายุ มรสุม ฝนฟ้าอากาศ แต่ภัยจากมนุษย์ด้วยกันเอง นอกจากสงคราม ความรุนแรง และความประมาทแล้ว มักเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น กรณีอุทกภัย ที่เกิดจากการทำลายธรรมชาติ ไม่ดูแลป่าไม้ที่เป็นต้นน้ำลำธาร หรือการปิดกั้นเส้นทางของสายน้ำธรรมชาติ

นี่เป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่เพิ่มภัยขึ้นเป็นมหันตภัย

โลกกำลังเผชิญมหันตภัยเช่นนี้อยู่ในวันนี้โเคยเปรียบเทียบการดำรงอยู่และการต่อสู้ของมนุษย์ซีกโลกตะวันตกกับตะวันออกว่าตะวันตกนั้นมนุษย์ต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติด้วยการเอาชนะ ผลคือการทำลายธรรมชาติ เพื่อสร้างสรรค์พลังทดแทน จนกลายเป็นความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ดังโลกยุคใหม่วันนี้ แต่ก็ไม่อาจต้านภัยธรรมชาติได้

ส่วนตะวันออกนั้น ต้องดูตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นซึ่งเผชิญภัยธรรมชาติสาหัสไม่แพ้ซีกโลกตะวันตก แต่ญี่ปุ่นเป็นเกาะต้องผจญต้องสู้และต้องทนอยู่บนแผ่นดินของตัวเองให้ได้ ดังนั้น วิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นจึงกลายเป็นว่าต้องดำรงอยู่อย่างเป็น "อันหนึ่งอันเดียว" กับธรรมชาติให้ได้

สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นในวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่เป็น "แบบญี่ปุ่น" ดังเรารับรู้อยู่ว่ามีลักษณะเฉพาะตัวอย่างไร คือ เรียบง่าย ลงตัว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติอย่างยิ่ง

โลกวันนี้กำลังเผชิญมหันตภัยธรรมชาติชนิดที่เรียกว่า "หนักโข้อ" มากขึ้น ยิ่งมนุษย์รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็จะยิ่ง "ทวีวิกฤต" สาหัสสากรรจ์จนยากจะประมาณการได้เอาเลยทีเดียว

ประเทศไทยเรานี่แหละจะเป็นตัวอย่างได้เลย ด้วยเราอยู่ในแผ่นดินอุดมสมบูรณ์ มีสภาพภูมิศาสตร์ชนิดที่อยู่ในลำดับดีเลิศ เราจึงมักประมาท มีทัศนคตินิยมที่ถือเอา "ส่วนตัว" เป็นหลัก "ส่วนรวม" เป็นรอง เอาสนุกสะดวกสบายเข้าว่า ทำนอง "ทำได้ตามใจคือไทยแท้"

ทัศนคติเช่นนี้ก่อให้เกิดความประมาท ไม่ "ขจัดเหตุ" มุ่งแต่ "เผด็จผล" เป็นสำคัญ           

ดังนั้น เมื่อเกิดมหันตภัยครั้งใด เราก็มุ่งแต่จะ "ช่วยเหลือ" ด้วยการร่วม "บริจาค" เช่น เอาเงินไปกอง เอาของไปแจก เป็นต้น           
ซึ่งเป็นสิ่งแรกที่ควรทำและต้องทำ ไทยเราก็ทำได้ดีด้วย ดังทั่วโลกที่เรามักนำหน้าในเรื่องนี้อยู่เสมอ

 นี่แหละคือการ "เผด็จผล" ส่วนการ "ขจัดเหตุ" นั้นดูเหมือนว่าเรายังงงๆ และยังโยนๆ กันอยู่ เช่น โยนให้*บุญและกรรม เป็นต้น
 
   
 

 
-มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560-  


ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]