เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์: มิงกะลาบาเมียนมา

หมวดหมู่ รายงานพิเศษ , โดย : admin , 28 กุมภาพันธ์ 60 / อ่าน : 1,833



คอลัมน์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์: มิงกะลาบาเมียนมา
มติชนสุดสัปดาห์  
ฉบับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560
     
     ไปเขียนแผ่นดินพม่า เที่ยวที่สามระหว่าง 6-11 กุมภาพันธ์ 2560 รวมหกวัน รวมที่สำคัญสามแห่ง มีย่างกุ้ง หรือร่างกุ้ง หงสาวดี และพระธาตุอินทร์แขวน เขตเมืองมอญ หนสามนี้เป็นเที่ยวสุดท้ายของเขียนแผ่นดินพม่า ทั้งสามเที่ยวสามหนเหมือนจะแค่หนึ่งในสามของประเทศได้กระมัง ถ้าจะไปเขียนให้ทั่วคงต้องเป็นภาคสอง        
     
     นอกจากผู้ประสานและผู้บันทึกภาพแล้วยังมีผู้ร่วมงานเป็นศิลปินอีกสองท่านร่วมคณะไปด้วยคือ สมภพ บุตราช จิตรกร และ ชูเกียรติ ฉาไธสง หรือ "นกน้อย" นักเขียนสารคดีและนักดนตรีร่วมบันทึกแผ่นดินด้วยงานศิลปะหลากหลาย ทั้งภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว รูปเขียน บทดำเนินเรื่อง และบทกวี ทั้งหมดนี้นำเสนอทางสถานนีโทรทัศน์ช่องไทยพีบีเอส ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลาตีห้าครึ่ง กับมีช่วงแพร่ภาพซ้ำบางเวลาด้วยผู้อุปถัมภ์รายการมีกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศ บริษัท ปตท. และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส             
     พร้อมพิมพ์รวมเล่มประกอบแผ่นภาพในโอกาสต่อไป  หาเจดีย์ชเวดากองนั้นอลังการ เลิศฟ้าสุธาสถานโดยแท้ ตั้งมอยู่บนเนินสูงราวห้าสิบเมตร ชื่อเนิน "กุตระ" มีบันไดขึ้นทั้งสี่ทิศราวหนึ่งร้อยขั้น องค์มหาเจดีย์สูงจากพื้น 326 ฟุต หรือราวร้อยเมตร เส้นรอบองค์เจดีย์ 433 เมตร จำเพาะองค์มหาเจดีย์นั้นว่า           
      "ห่อหุ้มด้วยทองคำแผ่นบริสุทธิ์หนักถึง 9 ตัน รวม 9,272 แผ่น แต่ละแผ่นกว้างยาว 1 ตารางฟุต สูง 99 เมตร ประดับด้วยอัญมณีล้ำค่าหลากหลายชนิด ได้แก่ เพชรจำนวน 5,448 เม็ด ทับทิม นิล ไพลิน และบุษราคัม จำนวน 2,317 เม็ด ปลายยอดเป็นฉัตร 10 เมตร ของพระเจดีย์ประดับด้วยเพชรขนาดใหญ่ 76 กะรัต ซึ่งมีจุดที่ยืน และสามารถมองเห็นแสงประกายของเพชรในเวลากลางคืนได้ถึง 7 สี"            
     นอกจากองค์มหาเจดีย์แล้ว ยังมีเจดีย์บริวารน้อยใหญ่อยู่รายรอบเสริมองค์มหาเจดีย์ให้ตระหง่านงามเป็นสง่าอยู่ "เลิศฟ้าสุธาสถาน" ดังว่า กับมีศาลาสลักเสลาหลังคาทรงปราสาทย่อชั้น ประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่โดยรอบฐานไพฑี หรือลานพระเจดีย์อันวิจิตรตระการตาตระการใจยิ่ง สมคำ "สุดจะพรรณนา" นั่นแล้ว          
     
     นี่แหละจึงว่าเป็นอลังการของแผ่นดินโดยแท้าร์โนลด์ ทอยน์บี (ARNOLD TOYNBEE) นักเดินทางและอนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษกล่าวว่า  "SEE BAGAN AND LIVE, SEE ANKOR WAT ANDDIE" แปลว่า การได้เห็นพุกามย่อมมีชีวิตเป็นอมตะ การได้เห็นนครวัด ย่อมนอนตายตาหลับ ขอเพิ่มเติมว่า "ได้เห็นชเวดากอง คือ ได้เห็นสวรรค์" อลังการของมหาเจดีย์ชเวดากองนี้นอกจากทำให้ตื่นตาชนิดสองตาไม่พอมองแล้ว ยังพาให้ตื่นใจเมื่อได้รู้ว่า มหาเจดีย์องค์นี้มีอายุกว่า 2,500 ปีใกล้สมัยพุทธกาลนั่นทีเดียว          
     
     นี่ยืนยันศรัทธาในพุทธศาสนาว่าเผยแผ่และสืบทอดอย่างไม่เสื่อมถอยจากครั้งพุทธกาลถึงวันนี้ด้วยโบราณวัตถุสถานอันยรรยงยิ่งใหญ่แห่งมหาเจดีย์ชเวดากององค์นี้   อาณาจักร และจักรพรรดิ ไม่ว่าจะเปลี่ยนผ่านไปเท่าไร อย่างไร มีแต่จะเพิ่มพูนทั้งศรัทธาและบารมีแก่มหาเจดีย์องค์นี้ให้ศักดิ์สิทธิ์  เป็นมิ่งขวัญมงคลเมืองโดยแท้ ร่วมสมัยกับชเวดากองยังมีอีกสองสำคัญในพม่าคือ พระที่ มหามัยมุนี ซึงเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่อัญเชิญจากยะไข่ มาอยู่ที่มัณฑะเลย์กับพระธาตุอินทร์แขวนหรือชื่อพม่าเรียก "ไจ๊ต์ทีโย" อยู่เมืองมอญ ห่างย่างกุ้งไปทางหงสาวดีราว 160 กิโลเมตร ถัดมาที่ถือเป็นมิ่งขวัญศักดิ์สิทธิ์สูงส่งของแผ่นดินพม่าก็คือ พระธาตุปมุเตา พม่าเรียกชเวมอดอ ที่หงสาวดี กับพระเจดีย์ชเวซิกอง ที่พุกาม  รวมเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ห้าแห่งที่ถือว่าควรไปถวายสักการบูชาให้ครบ ความเชื่อนี้มิใช่เฉพาะในพม่า หากคนไทยเราเองก็เชื่อเช่นนี้             
     
     เพราะฉะนั้น ไปพม่าเที่ยวนี้จึงพบขบวนนักท่องเที่ยวมาไหว้พระกันมากที่สุด ทั้งที่ชเวดากอง พระธาตุมุเตา และพระธาตุอินทร์แขวน ทั้งเนื่องด้วยศรัทธา และเนื่องด้วยกาละใกล้วันมาฆบูชา คือวันที่ 11 กุมภาพันธ์นั้น ดูจะมีคนไทยในสถานดังกล่าวพอกัน กันหรือมากกว่ากระมัง หากนับเป็นกลุ่มเป็นขบวนอันล้วนมีทั้งพระและฆราวาส เศษคือคณะเราได้พบศิลปินทั้งคนเขียนรูป เจ้าของแกลเลอพิรี่ PANSODAN กับคนเขียนเรื่องสั้น คนเขียนกวีร่วมสมัย วิธีทำและนักแสดงที่เรียกว่าเพอร์ฟอมานซ์ ผู้มีบทบาทในยุคเปลี่ยนผ่านของแผ่นดินพม่าปัจจุบันนี้ด้วย         
     
     เราร่วมวงเสวนาถึงวิสัยทัศน์ทั้งของประเทศและประชาคมอาเซียน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกันเป็นอันดี เราบอกเพื่อนพม่าว่า ช่วงเปลี่ยนผ่านของไทยกับพม่านั้นน่าจะเทียบเคียงและสรุปบทเรียนพอไปด้วยกันได้ในหลายประเด็นอยู่ โดยเฉพาะการต่อสู้อย่างเข้มแข็งของพลังประชาชน  คำเมียนมา (ออกเสียงเมียนม่าหรือเหมี่ยนหม่า) มาจากสองคำคือ เมียน แปลว่า รวดเร็ว มา แปลว่า เข้มแข็ง รวมแล้วก็คือ "แกร่งฉไกร" เพื่อรวมทุกชาติพันธุ์ไว้ในนามเดียว มิใช่ชนเผ่าเดียวดังนามเดิม* มิงกะลาบาเมียนมา 

                                                          สเริงรุมซุ้มช่อชฎาฉัตร         
                                                          เจิดจรัสเจดีย์ประดุงถิ่น         
                                                          ประดู่ดอกประโดยธรรมพระธรณิน         
                                                          สรรพศิลป์สรรพศาสตร์สืบศรัทธา         
                                                          "มิงกะลาบา" บอกสวัสดี         
                                                          บุราณบุรีบรมเรืองเมืองเมียนหม่า         
                                                          บารมีแผ่นดินดั่งจินดา         
                                                          รัตนามิ่งมณีความดีงาม         
                                                          จงบันดลแผ่นดินดั่งพิณผสาน         
                                                          จงบันดาลดำเนินแนวพระแก้วสาม         
                                                          จงแกร่งฉไกรเกลียวกลมสมนัยนาม         
                                                          จงก้าวกล้าฝ่าข้ามทุกพาลภัย         
                                                          เป็นหนึ่งในอาณาอุษาคเนย์           
                                                          เป็นเสน่ห์ตำนานผ่านยุคสมัย         
                                                          เป็นหนึ่งดาวดำรงปักธงไผท         
                                                          เป็นหนึ่งใจมวลประชาเมียนมานิรันดร์


 
   
 
 


ปฏิทินกิจกรรม























แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ
Art & Culture for Health Literacy

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ThaiHealth Promotion Founnation (THPF)

128/177 ชั้น 16 อาคารพญาไทพลาซ่า ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
128/177 Phayatai Plaza,  16th Fl., Phayathai Rd., Rajthevee, Bangkok 10400 Thailand

โทรศัพท์ : 02-129-3897-8 โทรสาร : 02-129-3899
อีเมล : [email protected]